การพัฒนาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนนาฏศิลป์ไทยสร้างสรรค์สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 โดยการจัดการเรียนรู้นาฏศิลป์สร้างสรรค์

Main Article Content

ศศิธันว์ สกุลหอม
สุเทพ อ่วมเจริญ

Abstract

           การวิจัยในครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1.) เปรียบเทียบผลการเรียนรู้เรื่องนาฏศิลป์ไทยสร้างสรรค์ก่อนและหลังเรียนโดยการจัดการเรียนรู้นาฏศิลป์สร้างสรรค์  2.) ศึกษาความสามารถในการปฏิบัติเรื่องนาฏศิลป์ไทยสร้างสรรค์โดยการจัดการเรียนรู้นาฏศิลป์สร้างสรรค์ 3.) ศึกษาความคิดเห็นของนักเรียนที่มีต่อการจัดการเรียนรู้นาฏศิลป์สร้างสรรค์ กลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 โรงเรียนเกาะช้างวิทยาคม อำเภอเกาะช้าง จังหวัดตราด จำนวน 32 คน ภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2558 ระยะเวลาที่ใช้ในการวิจัยเดือนมิถุนายนถึงสิงหาคม แบบแผนการทดลอง คือ One Group Pretest Posttest Design เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยประกอบด้วย 1.) แผนการจัดการเรียนรู้โดยการจัดการเรียนรู้นาฏศิลป์สร้างสรรค์ 2.) แบบทดสอบวัดผลการเรียนรู้เรื่องนาฏศิลป์ไทยสร้างสรรค์ 3.) แบบประเมินความสามารถในการปฏิบัติ 4.) แบบสอบถามความคิดเห็นของนักเรียนที่มีต่อการจัดการเรียนรู้นาฏศิลป์สร้างสรรค์ วิเคราะห์ข้อมูลด้วยค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และทดสอบสมมุติฐานด้วย t-test แบบ Dependent ผลการวิจัยพบว่า

              1.) คะแนนผลการเรียนรู้นาฏศิลป์ไทยสร้างสรรค์ก่อนและหลังเรียนโดยการจัดการเรียนรู้นาฏศิลป์สร้างสรรค์แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 โดยหลังเรียนมีคะแนนสูงกว่าก่อนเรียน

              2.) ผลการประเมินความสามารถในการปฏิบัตินาฏศิลป์สร้างสรรค์ ภาคปฏิบัติ สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 อยู่ในระดับปฏิบัติได้ในระดับดี 

 

              3.) ผลความคิดเห็นของนักเรียนที่มีต่อการจัดการเรียนรู้โดยการจัดการเรียนรู้นาฏศิลป์สร้างสรรค์  โดยภาพรวมนักเรียนเห็นด้วยระดับเห็นด้วยมาก

 

           The purposes of this research were 1) to compare students’ knowledge on Thai classical dance before and after constructionist instruction; 2) to study their constructionist Thai classical dance skills using a constructionist approach; and 2) to study their opinions on the approach. Using the one-group pretest posttest design, the sample consisted of a randomly selected class of 32 seventh grade students at Koh Chang Wittayacom School during the 2014 academic year. The research took place during June to August.Research instruments used were 1) a lesson plan, 2) a Thai classical dance knowledge assessment, 3) an execution evaluation form, 4) a questionnaire to collect their opinion toward the constructionist approach to learning Thai classical dance. The data were analyzed with percentage, mean, standard deviation and dependent t-test.The researcher found that

             1)  the students’ scores before and after constructionist instruction based were statistically significantly different at .05 level, with the after score being higher;

             2)  the students’ Thai classical dance skills were at a good level;

             3)  their opinions toward the constructionist approach, overall, were at the highest level of agreement 

 

Article Details

Section
บทความ : มนุษยศาสตร์ สังคมศาสตร์ และศิลปะ