การประเมินหลักสูตรศึกษาศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาการศึกษาปฐมวัย คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยศิลปากร
Main Article Content
Abstract
ผลการวิจัยพบว่า
1. ผลการประเมินหลักสูตรศึกษาศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาการศึกษาปฐมวัย 1) ด้านสภาวะแวดล้อม ผลการประเมินแผนการดำเนินงานของภาควิชา / สาขาวิชา มีความเหมาะสมในระดับมากทั้งในภาพรวมและรายด้าน สาขาวิชามีจุดแข็งในทุกด้านระดับมาก วัตถุประสงค์ของหลักสูตรมีความเหมาะสมในระดับมากทั้งในภาพรวมและรายด้าน และโครงสร้าง เนื้อหาสาระของหลักสูตรมีความเหมาะสมอยู่ในภาพรวมระดับมาก ส่วนรายด้านมีความเหมาะสมอยู่ในระดับมากถึงมากที่สุด 2) ด้านปัจจัยนำเข้า ผลการประเมินคุณสมบัติของผู้เรียน คุณสมบัติอาจารย์ที่สอน / อาจารย์ที่ปรึกษาทางวิชาการ สภาพแวดล้อมทางกายภาพ วัสดุอุปกรณ์ และสิ่งอำนวยความสะดวกต่าง ๆ และงบประมาณในการผลิตบัณฑิต มีความเหมาะสมในระดับมากทั้งในภาพรวมและรายด้าน คณะศึกษาศาสตร์ให้การสนับสนุนการจัดสภาพแวดล้อมทั้งในด้านการจัดงบประมาณ การสำรวจห้องเรียน มีการกำหนดขั้นตอนการใช้งานคอมพิวเตอร์ อินเทอร์เนต การพัฒนาระบบ Wifi ให้มีความเสถียรมากขึ้น มีการให้สาขาวิชาได้จัดซื้อหนังสือ ตำรา มีการสนับสนุนงบประมาณให้อาจารย์จัดซื้อเอกสาร หนังสือ และตำรา รวมทั้งมีการจัดทำวารสารศึกษาศาสตร์วิจัย มีการดำเนินการสำรวจการปรับปรุงห้องเรียน ห้องประชุม สัมมนา สถานที่จัดกิจกรรมเพื่อให้สามารถใช้งานได้อย่างต่อเนื่อง มีการจัดงบประมาณสนับสนุนในทุก ๆส่วน และดำเนินการผลิตบัณฑิตตามคำอธิบายรายวิชา มีการจัดงบประมาณในการสนับสนุนการฝึกประสบการณ์วิชาชีพครูในการผลิตสื่อการเรียนการสอน 3) ด้านกระบวนการ ผลการประเมินพฤติกรรมการจัดการเรียนการสอนของผู้สอน มีความเหมาะสมทั้งภาพรวมและรายด้านในระดับมากถึงมากที่สุด พฤติกรรมการเรียนของผู้เรียน การฝึกประสบการณ์วิชาชีพครู และการจัดการเรียนการสอน มีความเหมาะสมทั้งภาพรวมและรายด้านในระดับมาก และการให้บริการและการสนับสนุนจากหน่วยงานที่เกี่ยวข้องมีความเหมาะสม การบริหารจัดการหลักสูตรมีการวางแผนและเปิดหลักสูตรโดยพิจารณาจากความต้องการของตลาดและความต้องการของผู้เรียนเป็นหลัก และมีการดำเนินการตามระบบประกันคุณภาพภายในระดับหลักสูตร และมีผลการประเมินคุณภาพการศึกษาภายในหลักสูตรประจำปีการศึกษา 2558 ระดับดี 4) ด้านผลผลิต ผลการประเมินผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักศึกษา ในภาพรวมและรายบุคคลอยู่ในระดับสูง โดยมีเกรดเฉลี่ยสะสมระหว่าง 3.27 – 3.84 และผลสัมฤทธิ์การปฏิบัติงานของนักศึกษากับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องในภาพรวมและรายบุคคลอยู่ในระดับสูง นักศึกษามีความตั้งใจในการปฏิบัติงานตามที่ได้รับมอบหมายทั้งในด้านสังเกตการสอน การจัดกิจกรรมในรายวิชากับสถานศึกษาที่เป็นแหล่งฝึก ทดลอง และสังเกตการจัดประสบการณ์
2. แนวทางการพัฒนา ปรับปรุงหลักสูตรศึกษาศาสตรบัณฑิตสาขาวิชาการศึกษาปฐมวัยประกอบด้วยการกำหนดเนื้อหาสาระที่ทันสมัยและเป็นสากล การกำหนดรายวิชาที่เน้นความคิดสร้างสรรค์ของนักศึกษา การปรับปรุงรายวิชาให้เชื่อมโยงกับรอยต่อของเด็กปฐมในทุกช่วงวัย และความเป็นพลโลก
This research objectives are 1) to evaluate the Bachelor Degree curriculum of Education Program in Early Childhood Education and 2) to study about the development of Education Program in Early Childhood Education. Gathering information from 1) 44 students of Education Program in Early Childhood Education in 4th – 5th year 2) 5 curriculum instructors of Education Program in Early Childhood Education 3) 2 instructors who are teaching in Education Program in Early Childhood Education 4) faculty board of the faculty of Education, Silpakorn university (Dean, Vice dean of administrative affair, academic affair, head of teaching and curriculum department, head of Education Program in Early Childhood Education) 5) 3 experts of Early Childhood Education 6) 12 related school directors and early childhood teachers.The researching process is Evaluative Research thru CIPP model of Stufflebeam which are 1) study and gather things that are going to be evaluated 2) define objectives of evaluation 3) design the evaluation 4) define evaluated indicators 5) select target group for gathering information 6) create instruments for the evaluation 7) gather and analyze data and 8) report the evaluation. Theinstruments of this research include 5 structural surveys and interview questions. Content Analysis is used for the quality data analysis and quantity data analysis is enumerated to the frequency with average ( ̅x ) and Standard Deviation
The result showed that
1. The result from the evaluation of Bachelor Degree of Education Program in Early Childhood Education curriculum 1) Context factors, the result of the planning evaluation on both overall and each items for the department and major are high. Every strength of major is satisfied, the objectives of curriculum is appropriate in both overall and each item, and the curriculum structure and courses content are highly appropriate and in each item were at a high and highest appropriate 2) Input factors, the result of the evaluation showed that the quality of students, quality of instructors, academic advisors, physical environments, material, budget and facilities are highly appropriate. The faculty of Education gave supports to make the environment better which included classroom survey system, computer, internet and Wifi system. The department purchased textbooks to set up the circulation service, and gave some budget for the instructors to buy textbooks including the preparation educational research journal. The department does a survey to repair classrooms, meeting and seminar room to be available continuously, and also generates students accorded to the curriculum with the budget for practicing on field. 3) Process factors, behavior of instructors are highly appropriate in overall and each items, behavior of students, teaching practicum, instruction management are highly appropriate in overall and each items, services and supports from relevant authorities are highly appropriate, curriculum management was planned based on market demand and needs of student, implementation of a curriculum quality assurance system and curriculum quality assessment result of 2558 academic year at a good level. 4) Product factors, the result of students achievement is higher than the average 3.27 – 3.84 and the achievement of teacher students and related organization is high
2. The way of development is to merge new and international things to the curriculum, and focus more on student’s creativity to be able to make the relationship between every subject in Early Childhood Education.