ปัยจัยการบริหารการศึกษาที่ส่งผลต่อคุณภาพชีวิตของเด็กปฐมวัยในศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก ของจังหวัดเพชรบุรี

Main Article Content

อารีย์ อ่อนยิ่ง
อภิชาติ เลนะนันท์

Abstract

          ผู้วิจัยจึงสนใจที่จะทำวิจัยเรื่องนี้ โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา 1) ระดับการบริหารการจัดการศึกษาที่ส่งผลต่อคุณภาพชีวิตของเด็กปฐมวัยในศูนย์พัฒนาเด็กเล็กของจังหวัดเพชรบุรี 2) ระดับคุณภาพชีวิตของเด็กปฐมวัยในศูนย์พัฒนาเด็กเล็กจังหวัดเพชรบุรีและ 3) ปัจจัยการบริหารการจัดการศึกษาที่ส่งผลต่อคุณภาพชีวิตของเด็กปฐมวัยในศูนย์พัฒนาเด็กเล็กของจังหวัดเพชรบุรี กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ หัวหน้าศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก/รักษาการหัวหน้าศูนย์พัฒนาเด็กเล็กจำนวน 166 คน ปลัด อบต./เทศบาลจำนวน 79 คน และครูผู้ดูแลเด็ก จำนวน 128 คน รวมทั้งสิ้นจำนวน 373 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยคือ แบบสอบถามเป็นแบบสำรวจรายการ มีค่าความเชื่อมั่นเท่ากับ 0.958 สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย  ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการวิเคราะห์ถดถอยพหุคูณ  ผลการวิจัยพบว่า 1)ระดับปัจจัยการบริหารการจัดการศึกษาในภาพรวมทุกด้านอยู่ในระดับมาก โดยเรียงระดับค่าเฉลี่ยจากมากไปหาน้อย ดังนี้ ด้านสภาพแวดล้อม และด้านสื่อการเรียนการสอนมีค่าเฉลี่ยเท่ากัน รองลงมาคือ ด้านบุคลากรและด้านที่มีค่าเฉลี่ยน้อยที่สุด คือ ด้านอาคารสถานที่ ตามลำดับ 2)ระดับคุณภาพชีวิตของเด็กปฐมวัยในศูนย์พัฒนาเด็กเล็กภาพรวมอยู่ในระดับมาก โดยเรียงระดับค่าเฉลี่ยจากมากไปหาน้อยดังนี้  ด้านอารมณ์  จิตใจ  และสังคม  รองลงมาคือ  ด้านสติปัญญาและด้านร่างกาย ตามลำดับ  3) การวิเคราะห์ปัจจัยการบริหารการจัดการศึกษาส่งผลต่อคุณภาพชีวิตของเด็กปฐมวัยในศูนย์พัฒนาเด็กเล็กของจังหวัดเพชรบุรีอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.01 และปัจจัยการบริหาร สามารถทำนายคุณภาพชีวิตของเด็กปฐมวัยในศูนย์พัฒนาเด็กเล็กของจังหวัดเพชรบุรี ได้ร้อยละ 69.90  และสามารถเขียนเป็นสมการวิเคราะห์การถดถอยได้ดังนี้  ̅y= 0.604 + 0.927(X) 

 

          The researcher was, therefore, interested in doing this research aiming to study: 1) the level of educational administration factors affecting quality of life of preschool children in child development centers in Phetchaburi Province, 2) the level of quality of life of preschool children in child development centers in Phetchaburi Province, and 3) educational administration factors affecting quality of life of preschool children in child development centers in Phetchaburi Province. The 373 research samples consisted of 166 head or acting head of child development centers, 79 chief administrators of subdistrict administrative organizations and municipal clerks, and 128 child caregivers. The research tool was a check-list questionnaire with reliability at 0.958. The data were analyzed by using percentage, mean, standard deviation, and multiple regression analysis. The research results were as follows: 1) The level of educational administration factors were overall at a high level.  When being considered individually, the environment and learning and instructional media are the factors with the highest means and the factor with lower mean was personnel, whereas the building and landscape was the factor with the lowest mean.  2) The level of quality of life of preschool children in child development centers was overall at a high level. The aspects of quality of life, when being considered individually, could be ranked in descending order of their means as follows: emotional, mental, and social aspect, intellectual aspect, and physical aspect. 3) The educational administration factors affected quality of life of preschool children in child development centers in Phetchaburi Province with statistical significance at the 0.01 level. They could predict the quality of life of preschool children in child development centers in Phetchaburi Province for 69.90% and the regression equation could be written as follows:  y = 0.604 + 0.927(X).  

Article Details

Section
บทความ : มนุษยศาสตร์ สังคมศาสตร์ และศิลปะ