ความคิดสร้างสรรค์ขององค์กรและนวัตกรรมบริการของโรงแรมบูติกไทย

Main Article Content

ทศพร บุญวัชราภัย
วิโรจน์ เจษฎาลักษณ์
ขวัญฤดี ตันตระบัณฑิตย์

Abstract

          งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา 1) ความหมายและกระบวนการความคิดสร้างสรรค์ขององค์กรโรงแรมบูติกไทย 2) รูปแบบนวัตกรรมบริการของโรงแรมบูติกไทย 3) ปรากฏการณ์ความเชื่อมโยงระหว่างความคิดสร้างสรรค์ขององค์กรและนวัตกรรมบริการขององค์กรโรงแรมบูติกไทย ด้วยวิธีการวิจัยเชิงเชิงคุณภาพ (Qualitative Research) ใช้วิธีปรากฏการณ์วิทยา เก็บรวบรวมข้อมูลด้วยวิธีการสัมภาษณ์เชิงลึกและการสังเกตแบบไม่มีส่วนร่วม ผู้ให้ข้อมูลหลัก ได้แก่ ผู้บริหารโรงแรมบูติกในประเทศไทย จำนวน 7 คน และวิเคราะห์ข้อมูลโดยการวิเคราะห์เชิงพรรณนา

           ผลการศึกษาพบว่า 1) ความคิดสร้างสรรค์ขององค์กรโรงแรมบูติกไทยเป็นกระบวนการออกแบบการบริการและความสามารถขององค์กร ในการสร้างความเป็นบูติกที่แปลกใหม่และมีเอกลักษณ์เฉพาะตัว ภายใต้บริบทที่ซับซ้อนและมีพลวัตของสังคมโรงแรม 2) รูปแบบนวัตกรรมบริการของโรงแรมบูติกไทยเป็นผลลัพธ์และกระบวนการที่เกิดขึ้นอย่างค่อยเป็นค่อยไปจากการตอบสนองความต้องการที่หลากหลายของลูกค้ากลุ่มเป้าหมายที่มาใช้บริการ 3) ความคิดสร้างสรรค์และนวัตกรรมบริการเป็นปรากฏการณ์ทางสังคมของการใช้ความคิดสร้างสรรค์สร้างสรรค์การบริการร่วมกันระหว่างผู้ให้บริการและผู้รับบริการ ส่งผลให้เกิดนวัตกรรมบริการเฉพาะกลุ่มหรือบุคคลที่หลากหลาย ทั้งนี้ประโยชน์จากงานวิจัยนี้สามารถใช้เป็นแนวทางพัฒนาทักษะและศักยภาพเชิงสร้างสรรค์และนวัตกรรมบริการของโรงแรมบูติกไทย ตลอดจนธุรกิจบริการอื่นๆ ให้เกิดเป็นวัฒนธรรมและกลายเป็นองค์กรแห่งการสร้างสรรค์ เพื่อสามารถสร้างมูลค่าเพิ่มและความได้เปรียบเชิงการแข่งขันอย่างยั่งยืนให้แก่อุตสาหกรรมบริการในประเทศไทย

 

          The study aimed to examine Thai boutique hotels’ organizational creativity, service innovation as well as the linkage between them. This was the qualitative study with phenomenological method. The data were collected through in-depth interview and non-participative observation from 7 Hotels’ Administrators. The descriptive analysis was used in analyzing data.

          The result found that 1) Thai boutique hotels’ organizational creativity was the service design process and organizational capability, in creating the novelty and uniqueness, within the hotels’ complex and dynamic context.  2) Thai boutique hotels’ service innovation was the incremental and process innovation of designing services responding to the diverse needs of hotel customers.  3) Organizational creativity and service innovation were social phenomenon of using organizational creativity for co-creating personalized/customized service innovation, between the service provider and service receiver. However, the implication of this study can be the guideline for developing creative skills, creative potential and fostering service innovation of Thai boutique hotels as well as other service businesses, to become the organizational culture and the creative organization that can be able to adding value and sustaining the competitive advantage of Thailand’s service industry.

Article Details

Section
บทความ : มนุษยศาสตร์ สังคมศาสตร์ และศิลปะ