องค์ประกอบของการตัดสินใจเลือกโรงเรียนพหุภาษาให้แก่บุตรหลาน

Main Article Content

เมศินี คูประชามิตร
ธีระวัฒน์ จันทึก

Abstract

          การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อประยุกต์เทคนิคการวิจัยอนาคต EDFR สำหรับพัฒนาเกณฑ์แนวทางเลือกเรียนในโรงเรียนพหุภาษา จากกลุ่มผู้ให้ข้อมูลหลักจำนวน 17 โดยผู้วิจัยได้แบ่งกลุ่มผู้ให้ข้อมูลหลักออกเป็น 3 กลุ่ม คือ ผู้ปกครองหรือผู้ที่มีบุตรหลานอยู่ในช่วงปฐมวัยถึงประถมศึกษา ครูผู้สอนในสถานศึกษาที่มีการจัดการเรียนการสอนแบบพหุภาษาและศิษย์เก่าในสถานศึกษาที่มีการจัดการเรียนการสอนแบบพหุภาษา

          โดยนำผลการสัมภาษณ์ผู้ให้ข้อมูลหลัก (EDFR รอบ1) เป็นแนวโน้มนำไปสร้างแบบสอบถาม (EDFR รอบ2) แล้วนำแนวโน้มจากผู้ให้ข้อมูลหลักแต่ละข้อ ที่มีความเป็นไปได้ในระดับมากและมากที่สุด มาสรุปเป็นเกณฑ์การตัดสินใจเลือกเรียนในโรงเรียนพหุภาษา

           ผลการวิจัยพบว่าองค์ประกอบของการตัดสินใจเลือกโรงเรียนพหุภาษาภาษาทั้ง3ด้าน คือ ด้านอัตมโนทัศน์ของผู้ปกครองคือ ต้องการปลูกฝังให้เด็กเห็นความสำคัญของการศึกษาและการสนับสนุนตามความต้องการของบุตรหลาน ด้านความต้องการที่มีต่อโรงเรียนคือ นโยบายหรือแนวทางการเรียนการสอนที่ชัดเจน มีสื่อการสอนที่แปลกใหม่ที่กระตุ้นความสนใจของผู้เรียน บุคลากรมีบุคลิกภาพดี สภาพแวดล้อมของสถานศึกษา และระบบการรักษาความปลอดภัย ด้านผลสัมฤทธิ์ทางการศึกษาคือ การดำรงชีวิตในสังคมได้อย่างปกติสุข และทักษะการฟัง พูด อ่าน เขียน ภาษาต่างประเทศ

 

           This research aims to apply future research EDFR technique to create options for choosing to study in a multilanguage school from seventeen informants are kindergarten and primary student’s parents, Multilanguage teachers and Multilanguage alumni.

            Interview results from main informants (EDFR round 1) are the tendency for making a questionnaire (EDFR round 2) then  the tendency of the main informants in each item which happen to be high and the highest is summarized as an way for criteria development for making decision choosing a multilanguage school.

             The result shows 1) Self-concept of parents: parents choose a multilanguage school because their children must recognize the importance of education and they would also like to support the desire of their children. 2) Supply of the school: parents choose a language school, that has a clear instructional policy, updated medias to motivate student’s learning, a good personality of staffs, school environment and a security system. 3) Education achievement: parents choose a language school  that can make their children living happily in the society and to have four skills in a foreign language. 

Article Details

Section
บทความ : มนุษยศาสตร์ สังคมศาสตร์ และศิลปะ