การศึกษาอัตราส่วนมาตรฐานทางการเงินในธุรกิจอุตสาหกรรมบริษัท จดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย พ.ศ. 2548 ถึง2557
Main Article Content
Abstract
การวิจัยมีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาอัตราส่วนมาตรฐานทางการเงินของบริษัทจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทยและ 2) วิเคราะห์แนวโน้มของอัตราส่วนมาตรฐานทางการเงินในธุรกิจอุตสาหกรรม 22 หมวดธุรกิจในช่วงปี พ.ศ.2548 ถึงปี พ.ศ. 2557 โดยเก็บข้อมูลจากประชากร ได้แก่บริษัทในหมวดในธุรกิจอุตสาหกรรม 22 หมวดธุรกิจของบริษัทที่จดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย เฉพาะกลุ่มบริษัทที่มีการซื้อขายหลักทรัพย์ประเภทหุ้นสามัญจำนวน 363 บริษัท ข้อมูลที่ใช้ในการศึกษาเป็นข้อมูลทุติยภูมิที่มีการเปิดเผยต่อสาธารณชนได้แก่รายงานประจำปี งบแสดงฐานะการเงิน งบกำไรขาดทุน รายงานแบบแสดงรายการข้อมูลประจำปี (56-1) รวมทั้งสิ้น 10 ปี การวิเคราะห์ข้อมูลใช้การวิเคราะห์อัตราส่วนทางการเงินและค่าเฉลี่ย ผลการวิจัย พบว่า
อัตราส่วนวัดสภาพคล่อง พบว่ามีความสามารถในการชำระคืนหนี้สินระยะสั้นได้ดี ได้แก่ บริษัทหมวดธุรกิจ ธุรกิจการเกษตร อาหารและเครื่องดื่ม ของใช้ในครัวเรือนและสำนักงาน ของใช้ส่วนตัวและเวชภัณฑ์ ยานยนต์ ปิโตรเคมีและเคมีภัณฑ์ เหล็ก พัฒนาอสังหาริมทรัพย์ พลังงานและสาธารณูปโภค สื่อและสิ่งพิมพ์ การท่องเที่ยวและสันทนาการ ชิ้นส่วนอิเล็กทรอนิกส์ และเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร
อัตราส่วนวัดประสิทธิภาพในการใช้สินทรัพย์พบว่า มีแนวโน้มดีและมีประสิทธิภาพในการใช้สินทรัพย์ได้แก่ บริษัทหมวดธุรกิจ ธุรกิจการเกษตร อาหารและเครื่องดื่ม แฟชั่น ของใช้ส่วนตัวและเวชภัณฑ์ วัสดุอุตสาหกรรมและเครื่องจักร ปิโตรเคมีและเคมีภัณฑ์ บรรจุภัณฑ์ เหล็ก วัสดุก่อสร้าง บริการรับเหมาก่อสร้าง พลังงานและสาธารณูปโภคสื่อและสิ่งพิมพ์ การท่องเที่ยวและสันทนาการ ขนส่งและโลจิสติกส์ ชิ้นส่วนอิเล็กทรอนิกส์ และเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร
อัตราส่วนการบริหารหนี้สิน พบว่า มีแนวโน้มดีหนี้สินรวมลดลงและมีความสามารถในการจ่ายดอกเบี้ย ได้แก่ บริษัทหมวดธุรกิจ ธุรกิจการเกษตร อาหารและเครื่องดื่ม แฟชั่น ของใช้ในครัวเรือนและสำนักงาน ยานยนต์ ปิโตรเคมีและเคมีภัณฑ์ เหล็ก วัสดุก่อสร้าง การแพทย์ และชิ้นส่วนอิเล็กทรอนิกส์
อัตราส่วนวัดความสามารถในการทำกำไร พบว่า มีความสามารถในการทำกำไรมีแนวโน้มดีได้แก่ บริษัทหมวดธุรกิจ ของใช้ในครัวเรือนและสำนักงาน ของใช้ส่วนตัวและเวชภัณฑ์ วัสดุอุตสาหกรรมและเครื่องจักร การแพทย์ สื่อและสิ่งพิมพ์ บริการเฉพาะกิจ ขนส่งและโลจิสติกส์ และเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร
อัตราส่วนประเมินผลบริษัทโดยรวม พบว่า มีประสิทธิภาพในการบริหารงานดี มีแนวโน้มสูงขึ้นและมีนักลงทุนเข้าไปลงทุนมากขึ้น ได้แก่ บริษัทหมวดธุรกิจ อาหารและเครื่องดื่ม แฟชั่น ของใช้ในครัวเรือนและสำนักงาน ของใช้ส่วนตัวและเวชภัณฑ์ ยานยนต์ ปิโตรเคมีและเคมีภัณฑ์ บรรจุภัณฑ์ เหล็ก วัสดุก่อสร้าง บริการรับเหมาก่อสร้าง พัฒนาอสังหาริมทรัพย์ พลังงานและสาธารณูปโภค พาณิชย์ การแพทย์ สื่อและสิ่งพิมพ์ บริการเฉพาะกิจ การท่องเที่ยวและสันทนาการ ชิ้นส่วนอิเล็กทรอนิกส์ และเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร
The research aimed to 1) study the financial standard ratio in business sectors of Listed companies in the Stock Exchange of Thailand and 2) analyze the trend of financial standard ratio in 22 groups of industrial business sectors of listed companies in the Stock Exchange of Thailand from 2548 to 2557 B.E. The population were 363 companies in 22 industrial business sectors of listed companies in the Stock Exchange of Thailand that are trading of common stock. The secondary source of data used in this research, were 10 years of open and published data for publics including annual report and enterprise’s financial statement: statement of financial position, statement of comprehensive income and annual registration statement (form 56-1). Financial ratios and mean technique were applied to analyze data. The results were as follows:
Liquidity ratio shows that the companies with good capability to pay for short –term liabilities are agribusiness, food & beverage, home & office products, personal products & pharmaceuticals, automotive , petrochemicals & chemicals, steel, property development, energy & utilities, media & publishing, tourism & leisure, electronic components and information communication technology business sectors.
Asset management ratio or activity ratio reveals that the companies with the upware trend are found in agribusiness, food & beverage, fashion, personal products & pharmaceuticals, industrial materials & machinery, petrochemicals & chemicals, packaging, steel, construction materials, construction services, property development, energy & utilities, media & publishing,tourism & leisure, and information ,transportation & logistics, transportation & logistics, electronic components and information communication technology business sectors.
Leverage ratio shows that the companies with the upward trend have lower debt and good interest coverage. They are found in the agribusiness, food & beverage, fashion, home &office products, automotive, petrochemicals & chemicals, steel, construction materials, health care services and electronic components business sectors.
Profitability ratio reveals that the companies with the profitability and upward trend are found in the home & office products, personal products & pharmaceuticals, industrial materials and machinery, health care services, media & publishing, professional services, transportation & logistics, and information communication technology business sectors.
Market value ratio is that the companies with price/earning ratio and market/book ratio reflect the management efficiency, upward trend and more investors are comprised of food & beverage, fashion, home & office products, personal products & pharmaceuticals, automotive, petrochemicals & chemicals, packaging, steel, construction materials, construction services, property development, energy & utilities, commerce, health care services, media & publishing, professional services, tourism & leisure, electronic components, information communication technology business sectors.