การศึกษารูปแบบการจัดการศึกษาออนไลน์ระบบเปิดแบบ MOOC ของอุดมศึกษาไทย

Main Article Content

ณฐภัทร ติณเวส
ฐาปนีย์ ธรรมเมธา

Abstract

           การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษารูปแบบการจัดการศึกษาออนไลน์ระบบเปิดแบบ MOOC  ที่ดีจากผู้ให้บริการ MOOC ที่มีชื่อเสียงในต่างประเทศ  2) เพื่อศึกษาความคิดเห็นในการจัดการศึกษาออนไลน์ระบบเปิดแบบ MOOC ของอุดมศึกษาไทย 3) เพื่อสังเคราะห์รูปแบบการจัดการศึกษาออนไลน์ระบบเปิดแบบ MOOC ที่เหมาะสมกับสถาบัน อุดมศึกษาในประเทศไทย  กลุ่มตัวอย่างใช้ในการวิจัย คือ 1) ผู้ให้บริการ MOOC ระดับประเทศ ระดับสถาบันการศึกษา เอกสารงานวิจัยที่เกี่ยวข้องกับการจัดการศึกษาออนไลน์ระบบเปิดแบบ MOOC โดยการเลือกแบบเฉพาะเจาะจง (Purposive sampling) จำนวน 18 แหล่งข้อมูล  2) ผู้เชี่ยวชาญในการจัดการเรียนการสอนออนไลน์ในอุดมศึกษา โดยเลือกเฉพาะเจาะจง (Purposive sampling) 3) ผู้ทรงคุณวุฒิที่เป็นผู้บริหารของสถาบันอุดมศึกษาที่มีการจัดการเรียนการสอนออนไลน์ และมีประสบการณ์ด้านการจัดการเรียนการสอน ด้วย Massive Open Online Course (MOOC) จำนวน 5 ท่าน  เครื่องมือในการวิจัยประกอบด้วย 1) แบบสังเคราะห์เอกสารการจัดการศึกษาออนไลน์ระบบเปิดแบบ  MOOC  ของต่างประเทศ 2) แบบวิเคราะห์ สังเคราะห์ข้อมูลความคิดเห็นรูปแบบการจัดการศึกษาออนไลน์ระบบเปิดแบบ MOOC ของอุดมศึกษาไทย 3) แบบรับรองรูปแบบการจัดการศึกษาออนไลน์ระบบเปิดแบบ MOOC  ของสถาบันอุดมศึกษาในประเทศไทย การวิเคราะห์ข้อมูลโดยการวิเคราะห์คำสำคัญและวิเคราะห์ความถี่ของคำสำคัญ

            ผลการวิจัยพบว่า

 

             1. รูปแบบการการจัดการศึกษาออนไลน์ระบบเปิดแบบ MOOC ของต่างประเทศ มี 7 องค์ประกอบหลักคือ ด้านการบริหารจัดการ ด้านระบบและการให้บริการ ด้านการสอน ด้านการวางแผนและการออกแบบ ด้านการนำไปใช้งาน ด้านประเมินผลการเรียนรู้ ด้านการประเมินหลักสูตร และด้านการบริหารจัดการและมี 22 องค์ประกอบย่อย

             2. ความคิดเห็นในการจัดการศึกษาออนไลน์ระบบเปิดแบบ MOOC ของอุดมศึกษามีองค์ประกอบหลัก 5 องค์ประกอบคือ ด้านการบริหารจัดการ ด้านการออกแบบหลักสูตรการเรียนการสอน ด้านการพัฒนาหลักสูตรการเรียนการสอน ด้านการนำไปใช้และด้านการประเมินหลักสูตร

             3. ผลการสังเคราะห์รูปแบบการจัดการศึกษาออนไลน์ระบบเปิดแบบ MOOC ของอุดมศึกษาไทยโดยผ่านการรับรองของผู้ทรงคุณวุฒิ ทั้ง 5 องค์ประกอบ คือ ด้านการบริหารจัดการ ด้านการออกแบบหลักสูตรการเรียนการสอน ด้านการพัฒนาหลักสูตรการเรียนการสอน ด้านการนำไปใช้และด้านการประเมินหลักสูตร

 

             The purpose of this research were  1) to study the best practice of MOOC model from famous foreign platforms 2) to study Thai Higher Education’s opinion upon the model of MOOC 3) to synthesis the suitable MOOC model practice for Thai Higher Education. The sample of this research were 1) national MOOC providers and institutional MOOC providers, 18 research document involving the MOOC Model selected by purposive sampling 2) an expert on MOOC management in higher education who possessed knowledge or experiences in the field for at least 5 years selected by purposive sampling 3) 5 luminaries who were committee of higher education which provided distant learning education or online education and had experience in development the Massive Open Online course (MOOC).

              The research instruments were 1) foreign MOOC document synthesizing form 2) analyzing and synthesizing form of opinion about Thai higher educations’ MOOC 3) supporting format of MOOC managing form of Thai Higher education. Content analyzing by keywords and frequency of the keywords.

The results of this research were as follow

              1.  Foreign MOOC managing form had 7 main components: management, system and service, teaching, planning and designing, implementing, Learning assessment and curriculum assessment including 22 sub-components

              2. Opinion upon higher education’s MOOC management had 5 main components: management, curriculum designing, curriculum development and curriculum assessment including 24 sub-components

              3. Thai higher education MOOC Analysis had 5 main components: management, curriculum design, curriculum development and curriculum implementation and assessment including 24 sub-components with the luminaries’ confirmation on the form according to the higher education expert’s opinion. 

Article Details

Section
บทความ : มนุษยศาสตร์ สังคมศาสตร์ และศิลปะ