การบริหารความเสี่ยงสากล ISO 3100 กับระบบการศึกษาของไทย

Main Article Content

ขนิษฐา ชัยรัตนาวรรณ

Abstract

บทคัดย่อ

การบริหารความเสี่ยงเป็นกระบวนการบริหารจัดการที่ทำให้องค์กรมีการวางแผนป้องกัน และ รองรับผลกระทบที่อาจเกิดขึ้นในอนาคต เพื่อลดความเสียหายที่อาจเกิดขึ้น สำนักงานคณะกรรมการการ อุดมศึกษา (สกอ.) ได้ดำเนินการให้สถาบันอุดมศึกษามีกระบวนการบริหารความเสี่ยงโดยกำหนดไว้ใน การประกันคุณภาพการศึกษา ทั้งนี้สถาบันอุดมศึกษาต้องกำหนดกรอบทางการบริหารความเสี่ยงที่สามารถ ใช้เป็นแนวปฏิบัติได้ง่ายและให้ถือเป็นพันธกิจที่ผู้บริหารในสถาบันต้องให้การสนับสนุน มาตรฐานการบริหาร ความเสี่ยงสากล ISO 31000 นับเป็นกระบวนการบริหารจัดการที่มีความเหมาะสมกับระบบการศึกษาของ ไทย ประกอบด้วย 5 ขั้นตอนหลัก คือ 1) การสื่อสารและการให้คำแนะนำ (communicate and consult) 2) การกำหนดสภาพแวดล้อม (establish the context) 3) การประเมินความเสี่ยง (risk assessment) 4) การจัดการความเสี่ยง (treat the risks) และ 5) การเฝ้าติดตาม และการทบทวน (monitor and review) วัตถุประสงค์หลักของมาตรฐานการบริหารความเสี่ยงสากล ISO 31000 นั้นเป็นการพัฒนาและ ยกระดับมาตรฐาน จะเป็นการส่งเสริมให้เกิดการพัฒนาองค์กรโดยให้บุคลากรขององค์กรทุกระดับได้มี ส่วนร่วมในการสืบหาจุดเด่น จุดแข็ง โอกาส และ ปัญหาอุปสรรค ขององค์กร การกำหนดยุทธศาสตร์ของ องค์กร ตลอดจนการติดตามประเมินผลการดำเนินการ ซึ่งจะแตกต่างจากหลักการบริหารงานในอดีตที่ใช้ หลักการของการควบคุม การสั่งการจากระดับบน ซึ่งน่าจะไม่เหมาะสมกับลักษณะงานในสถาบันอุดมศึกษา ที่เป็นเรื่องของการเรียนการสอน งานวิจัยที่ต้องอาศัยความคล่องตัว ความเป็นอิสระค่อนข้างสูง

 

Abstract

Risk management is a process for the organization to protect lost and planning for the future impact resulted to reduce the impact. Commission on Higher Education (CHE) has established the risk management activity in the quality assurance of the university. Universities have to set the suitable guideline of the risk management process that was easily to implement. Also, the top management level has to sincerely support this activity as university mission. ISO 3100 consisted of 5 main steps as follows: communicate and consult, establish the context, risk assessment, treat the risks and monitor and review. The advantage of the application ISO 3100 for improve and develop the education standard level was to activate the staffs of every level to join this process resulted to get the results on strength, opportunity and weakness of the organization. The strategy of the organization has to set up according to the suggestions and comments from all level staffs. Also, the monitoring process has to establish for observe the performance. All processes above were difference from the past. In the past, the management process was focus on control and top down mechanism that might be not suitable for the education organization. Because, the education organization was concerned in the learning-teaching and research activities that it need dependently situation.

Article Details

Section
บทความ : มนุษยศาสตร์ สังคมศาสตร์ และศิลปะ