การพัฒนารูปแบบการเรียนด้วยตนเองด้วยกิจกรรมการรู้คิดในการอ่านภาษาอังกฤษ สำหรับนักศึกษาระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูง ประเภทวิชาอุตสาหกรรม

Main Article Content

ฉลวย ม่วงพรวน

Abstract

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนารูปแบบการเรียนด้วยตนเองด้วยกิจกรรมการรู้คิดในการ อ่านภาษาอังกฤษ สำหรับนักศึกษาระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูง ประเภทวิชาอุตสาหกรรม และเพื่อ ประเมินรูปแบบที่สร้างขึ้นโดย ประเมินความสามารถในการอ่านภาษาอังกฤษ คุณลักษณะด้านการเรียน ด้วยตนเอง และพัฒนาการในการอ่านภาษาอังกฤษของผู้เรียน ผู้วิจัยทำการศึกษาบริบท ปัญหาพื้นฐาน แนวคิดเกี่ยวกับการเรียนด้วยตนเองและรูปแบบการอ่านเพื่อความเข้าใจโดยใช้กิจกรรมการรู้คิด สังเคราะห์ ได้รูปแบบ การเรียนด้วยตนเองด้วยกิจกรรมการรู้คิดในการอ่าน ตรวจสอบรูปแบบโดยผู้ทรงคุณวุฒิ 5 ท่าน ต่อจากนั้น ประเมินรูปแบบด้วยการวิจัยและพัฒนา โดยนำรูปแบบที่พัฒนาขึ้นไปใช้กับนักศึกษาระดับ ประกาศนียบัตร วิชาชีพชั้นสูงปีที่ 1 สาขาวิชาอิเล็กทรอนิกส์อุตสาหกรรม วิทยาลัยเทคนิคสุพรรณบุรี จำนวน 32 คน กลุ่มตัวอย่างเรียนตามรูปแบบการเรียนด้วยตนเองด้วยกิจกรรมการรู้คิดในการอ่าน คือ ผู้วิจัยฝึกกิจกรรมการรู้คิดในการอ่าน ใช้เวลา 6 สัปดาห์ ในชั้นเรียน ต่อจากนั้นผู้เรียนเลือกเรื่องอ่านด้วย ตนเอง อ่านนอกเวลาพร้อมบันทึกการอ่านสัปดาห์ละ 1 เรื่อง รวม 10 เรื่อง ใช้เวลา 10 สัปดาห์ ผู้วิจัย ประเมินผลจากบันทึกการอ่านของผู้เรียน รวมเวลา ที่ใช้ในการทดลอง 16 สัปดาห์ เครื่องมือที่ใช้รวบรวม ข้อมูลในการวิจัย คือ แบบทดสอบความสามารถในการอ่านภาษาอังกฤษ แบบวัดคุณลักษณะด้านการ เรียนด้วยตนเอง และแบบสัมภาษณ์การสนทนากลุ่มผู้เรียนหลังเรียน วิเคราะห์ข้อมูลด้วยการทดสอบ ความแตกต่างของค่าเฉลี่ย การคำนวณค่าเฉลี่ย ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานและค่าร้อยละ

ผลการวิจัยพบว่ารูปแบบที่พัฒนาขึ้น ประกอบด้วย หลักการ จุดมุ่งหมาย เนื้อหา กระบวนการ เรียนการสอนและการวัดประเมินผล เรียกว่า SPPSE Model มี 5 ขั้นตอนคือ 1) การสำรวจพฤติกรรมการ อ่าน (S) 2) การเตรียมผู้เรียน (P) 3) การวางแผน (P) 4) การอ่านด้วยตนเอง (S) และ 5) การประเมินการ อ่าน (E)

ผลของการทดลองใช้รูปแบบพบว่า 1) คะแนนเฉลี่ยความสามารถในการอ่านภาษาอังกฤษของ ผู้เรียนกลุ่มตัวอย่าง หลังเรียน สูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 2) คะแนนเฉลี่ย คุณลักษณะด้านการเรียนด้วยตนเองของผู้เรียนกลุ่มตัวอย่าง ก่อนและหลังเรียน แตกต่างกันอย่างไม่มี นัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 และ 3) ผู้เรียนมีพัฒนาการในการอ่านภาษาอังกฤษดีขึ้น จากการ เปรียบเทียบค่าคะแนนเฉลี่ยของความเข้าใจในการอ่าน แต่ละครั้งที่สูงขึ้น และสูงกว่าการอ่านครั้งแรกอย่าง มีนัยสำคัญทางสถิติที่ ระดับ .01 จากข้อมูลการสนทนากลุ่มผู้เรียนหลังเรียน พบว่ารูปแบบที่ผู้วิจัยพัฒนา ขึ้น ช่วยให้ผู้เรียนสามารถอ่านได้ด้วยตนเอง มีความสามารถในการอ่านภาษาอังกฤษดีขึ้น รูปแบบนี้จึง เหมาะสมที่จะนำมาใช้ในการเรียนการสอนอ่านภาษาอังกฤษ เพราะการช่วยให้ผู้เรียนในระบบเรียนได้ด้วย ตนเอง โดยใช้แรงจูงใจภายใน และความสนใจ ผนวกกับกระบวนการอ่านที่ส่งเสริมให้ผู้เรียนได้เชื่อมโยง ความรู้เดิมกับบทอ่านอย่างมีระบบ ทำให้ผู้เรียนเกิดความพยายามในการอ่านและประสบความสำเร็จในการอ่าน

 

Abstract

The purposes of this study were to develop a self-directed model in English reading using metacognitive activities for Industrial Diploma students and to evaluate the model focusing on reading ability, self-directed characteristics and reading improvement. The research procedures comprised 2 phases. The researcher studied the context, background, concepts of self-directed learning and English reading comprehension models using metacognitive activities, synthesized a self-directed model in English reading, and the proposed model was verified by 5 experts. Then the model was implemented in a classroom. A total of 32 students, first year Diploma Industrial Electronics students from Suphanburi Technical College were trained through English reading using metacognitive activities for 6 weeks. After that, they did their 10 weeks external reading, 10 selected topics using metacognitive reading activities and wrote their reading logs. The researcher evaluated the reading logs and collected reading information. The experiment took 16 weeks in total. The instruments used were the reading test, the self-directed learning scales and the focus group interviewing questions. The findings of the study revealed the developed model comprised 5 components: principles, objectives, content, instructional procedures and evaluation. The model called SPPSE composed of 5 steps: surveying reading strategies (S), planning (P), preparing (P), self-directed reading (S), and evaluation (E). The results of the implementation revealed significant different between pre-test and post-test scores of the reading test. The post-test scores were significantly higher than the pre-test scores at the .01 level. The self-directed learning scores for pre studying and post studying were not significantly different at the .01 level. The student’s reading ability was improved, the 2nd to the 10th reading comprehension scores were higher than the first one. Qualitative analysis of the data used from focus group interview also found that providing the students with metacognitive activities in self-directed reading increased their reading ability. The model is appropriated for formal students in increasing their reading ability by encouraging their internal motives, drawing their reading intention and using their prior knowledge to build their schemata and make connections between ideas to success in their reading.

Article Details

Section
บทความ : มนุษยศาสตร์ สังคมศาสตร์ และศิลปะ