การสร้างและพัฒนาหลักสูตรฝึกอบรมการทดสอบภาษาอังกฤษเป็นภาษาต่างประเทศเพื่อการเสริมสร้าง ความรู้และทักษะปฏิบัติการทดสอบและวัดผลภาษาอังกฤษในชั้นเรียนของครูโรงเรียนมัธยมศึกษา

Main Article Content

อมรศรี แสงส่องฟ้า

Abstract

บทคัดย่อ

การวัดและประเมินผลภาษานับว่าเป็นประเด็นสำ คัญที่ครูสอนภาษาอังกฤษเป็น ภาษาต่างประเทศจะต้องมีความรู้และความเข้าใจที่ถูกต้อง ทั้งเทคนิควิธีและสาขาเนื้อหาภาษาที่จะวัด การวัดผลภาษาที่ดีมีเป้าหมายบ่งบอกถึงคุณภาพในการจัดการเรียนการสอนภาษา อย่างไรก็ตาม จากผล การศึกษาความจำเป็นและต้องการด้านการวัดและประเมินผลภาษาของครู ครูยังมีความต้องการด้าน การพัฒนาศักยภาพการวัดและประเมินผลภาษา ดังนั้นงานวิจัยจึงมีจุดประสงค์เพื่อศึกษาประสิทธิภาพของ หลักสูตรฝึกอบรม และผลการใช้หลักสูตรฝึกอบรม กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการอบรมครั้งนี้ เป็นครูสอน ภาษาอังกฤษชั้นมัธยมศึกษาในโรงเรียนขยายโอกาส สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษา นครปฐม เขต 1 จำนวน 19 คน ได้มาโดยการเลือกแบบเจาะจง (Purposive Sampling) ในภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2553 การพัฒนาหลักสูตรดำเนินงานตามกระบวนการวิจัยและพัฒนา(Research and Development) 4 ขั้น คือ 1) การศึกษาบริบทและ เนื้อหาที่เกี่ยวข้อง 2) การออกแบบและสร้างหลักสูตร 3) การทดลองใช้และหาประสิทธิภาพ หลักสูตร และ4) การประเมินผลและปรับปรุงหลักสูตร รูปแบบ การพัฒนาหลักสูตรฝึกอบรมเน้นการมีส่วนร่วมของครู ผู้บริหารสถานศึกษา ศึกษานิเทศก์ และเน้น ความสอดคล้องกับความต้องการของครูและสภาพจริงของโรงเรียน โดยมีกระบวนการฝึกอบรมโดยใช้วิธีการ อบรมแบบการเรียนแบบร่วมมือกัน รวมระยะเวลาหลักสูตรฝึกอบรม 18 ชั่วโมง เครื่องมือวิจัยที่ใช้ ประกอบด้วย 1) แบบสำรวจความต้องการฝึกอบรมของครู 2) แบบทดสอบวัดความรู้ความเข้าใจการวัด และประเมินผลวิชาภาษาอังกฤษ 3) แบบทดสอบวัดทักษะด้านการวัดและประเมินผลวิชาภาษาอังกฤษ 4) แบบวัด ความตระหนักที่มีต่อการวัดและประเมินผลวิชาภาษาอังกฤษ 5) แบบสอบถามความพึงพอใจที่มีต่อหลักสูตรฝึกอบรม การวิเคราะห์ข้อมูล โดย ข้อมูลเชิงปริมาณ ใช้สถิติพื้นฐาน ได้แก่ ค่าเฉลี่ย ค่าร้อยละ ค่า ความเบี่ยงเบน มาตรฐาน และ Wilcoxon Signed Ranks Test และวิเคราะห์ข้อมูล เชิงคุณภาพ ใช้การ วิเคราะห์เนื้อหา (Content Analysis) และการเขียนพรรณนาความ

ผลการวิจัยพบว่า หลักสูตรฝึกอบรมที่พัฒนาขึ้นมีประสิทธิภาพ (E1/E2) เท่ากับ 75.79/ 75.96 ซึ่งเป็นไปตามเกณฑ์ที่กำหนด 75/75 ผลการทดลองใช้หลักสูตรฝึกอบรม พบว่า 1) ครูมีความรู้ความเข้าใจ เรื่องการวัดและประเมินผลวิชาภาษาอังกฤษ หลังฝึกอบรมสูงกว่าก่อนฝึกอบรม 2) ครูมีทักษะเรื่องการวัด และการประเมินผลวิชาภาษาอังกฤษ หลังฝึกอบรมสูงกว่าก่อนฝึกอบรม 3) ครูมีความตระหนักต่อการวัด และการประเมินผลวิชาภาษาอังกฤษอยู่ในเกณฑ์ดี 4) ครูมีความพึงพอใจต่อความเหมาะสมของหลักสูตร ฝึกอบรมอยู่ในระดับดีมาก

 

Abstract

The objectives of this study were to study the effectiveness of the training curriculum and to study results of the curriculum implementation. The population were secondary English teachers from nineteen extended schools under Nakorn Pathom Educational Service Office 1. The samples consisted of 19 secondary English teachers from nineteen schools under Primary Nakorn Pathom Educational Service Office 1, during the first semester of 2010, which were obtained by using Purposive sampling. The process of research and curriculum development consisted of four stages: 1) studying context and relevant literature 2) curriculum design 3) a curriculum implementation and testing the effectiveness of the curriculum, and 4) evaluation and revision of the curriculum. The training curriculum development model focused on the participation of teachers and school administrators, teachers’ needs and school-based information. The training process was cooperative learning. It was conducted over 3 days and was for 18 hours in total The research instruments were: 1) a survey form for teachers’ needs in training 2) an achievement test on the assessment of foreign language testing, 3) performance test on an assessment of foreign the language testing, 4) awareness test on assessment of foreign language testing, 5)a satisfactory test towards assessment of foreign language testing. The statistics for quantitative data analysis were means, percentage, standard deviation Wilcoxon Signed Ranks Test and One-Sample t-test. Qualitative data were also analyzed by using content analysis. The result of this study revealed that : 1) The curriculum was developed by the researcher effectively reached the criterion 75 //75 with the formative test score of 75.79 and that the summative test score of 75.95 . 2) The result of curriculum implementation after training the teachers revealed that : 2.1) Trained teachers gained more knowledge and understanding of English assessment than before training at .05 level statistically significant. 2.2) Trained teachers had better performance in assessment of English as a foreign language at .05 level statistically significant. 2.3) Trained result of assessing teachers’ awareness in implementing knowledge was at high level at .05 level statistically significant . 2.4) Trained teachers were completely satisfied with this the curriculum at the most satisfactory level at .05 level statistically significant.

Article Details

Section
บทความ : มนุษยศาสตร์ สังคมศาสตร์ และศิลปะ