ความพึงพอใจของนักศึกษาต่อองค์ประกอบภูมิทัศน์ในสถานศึกษาเอกชน: กรณีศึกษามหาวิทยาลัยกรุงเทพ วิทยาเขตรังสิต
Main Article Content
Abstract
งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา 1) ความพึงพอใจของนักศึกษาต่อองค์ประกอบภูมิทัศน์ในมหาวิทยาลัยกรุงเทพ วิทยาเขตรังสิต 2) องค์ประกอบภูมิทัศน์ในสถานศึกษามีผลต่อการตัดสินใจเลือกเข้าศึกษาในมหาวิทยาลัยกรุงเทพ วิทยาเขตรังสิตหรือไม่ และ 3) เปรียบเทียบความพึงใจของนักศึกษาที่มีความแตกต่างทางด้านเพศและคณะที่ศึกษา กลุ่มตัวอย่างเป็นนักศึกษาระดับปริญญาตรีของมหาวิทยาลัยฯ ปีการศึกษา 2558 จำนวน 377 คน เก็บข้อมูลจากแบบสอบถาม ประมวลผลข้อมูลโดยใช้โปรแกรมสำเร็จรูป (SPSS) สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ ได้แก่ ค่าความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย และค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน และใช้สถิติ t-test One และ way ANOVA ในการทดสอบสมมติฐาน ผลการศึกษาพบว่า ความพึงพอใจของนักศึกษาต่อองค์ประกอบภูมิทัศน์ในมหาวิทยาลัยกรุงเทพ วิทยาเขตรังสิต โดยรวมมีความพึงพอใจอยู่ในระดับมาก ( = 3.70, S.D. = 0.830) งานภูมิทัศน์ของมหาวิทยาลัยกรุงเทพ วิทยาเขตรังสิต มีผลต่อการตัดสินใจเลือกเข้าเรียนของนักศึกษาจำนวน 290 คน คิดเป็นร้อยละ 76.9 ประเด็นความแตกต่างด้านเพศและคณะที่ศึกษาพบว่า 1) นักศึกษาที่มีเพศแตกต่างกันมีผลต่อความพึงพอใจในองค์ประกอบภูมิทัศน์ไม่แตกต่างกันที่ระดับนัยสำคัญ 0.05 และ 2) นักศึกษาที่ศึกษาในคณะที่แตกต่างกัน มีความพึงพอใจในองค์ประกอบภูมิทัศน์ภูมิทัศน์ทางเข้าออกแตกต่างกันที่ระดับนัยสำคัญ 0.05 ส่วนองค์ประกอบภูมิทัศน์ถนนสายหลักและสายรอง ที่จอดรถ ทางเดินเท้า ลานสาธารณะพื้นที่สีเขียวระหว่างอาคาร ภูมิทัศน์น้ำ สวนพันธุ์ไม้ประจำสถาบัน เวทีแสดงกลางแจ้ง ไฟส่องสว่างอุปกรณ์ตกแต่งพื้นที่ และอุปกรณ์ให้ร่มเงา มีความพึงพอใจไม่แตกต่างกันที่ระดับนัยสำคัญ 0.05
The objectives of this research were to study 1) the students’ satisfaction with these Elements. 2) the effect of landscape elements on the decision to study at Bangkok University, Rangsit Campus. and 3) the differences of students’ gender and faculty on their satisfaction with the University’s landscape elements. The samples were 377 undergraduate students of Bangkok University, Rangsit Campus in 2015 academic year. Questionnaires were used as research tool. Data were analysed by SPSS, using percentage, mean, standard deviation and t-test. One way ANOVA was used to test the hypothesis. The results found that students’ satisfaction with landscape elements of Bangkok University, Rangsit Campus was at high level ( = 3.70, S.D. = 0.830). Seventy six point nine percent of the respondents said landscape of Bangkok University, Rangsit Campus affected their decision to study here. As for the students’ gender and faculty issue, it was found that gender had no statistical difference on the satisfaction with the landscape elements at 0.05 significant level. While different faculty showed statistical difference only on the satisfaction with gateways at 0.05 significant level, There was no statistical difference on other elements such as major and minor roads, pathways, parking, public green space between buildings, waterscape, institute garden, amphitheater, lighting and site furniture, and shading devices at 0.05 significant level.