ความสัมพันธ์ระหว่างความฉลาดทางอารมณ์ กับผลการปฏิบัติงานของเจ้าหน้าที่สรรพากรในเขตพื้นที่ กรุงเทพมหานคร

Main Article Content

จุฑามาศ มีน้อย
ดาวลอย กาญจนมณีเสถียร

Abstract

บทคัดย่อ

การศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างความฉลาดทางอารมณ์กับผลการปฏิบัติงานของเจ้าหน้าที่ สรรพากรในเขตพื้นที่กรุงเทพมหานคร มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างความฉลาดทาง อารมณ์กับผลการปฏิบัติงานของเจ้าหน้าที่สรรพากรในเขตพื้นที่กรุงเทพมหานคร โดยทำการเก็บรวบรวม ข้อมูลจากเจ้าหน้าที่สำนักงานสรรพากรในเขตพื้นที่กรุงเทพมหานคร จากประชากรจำนวนทั้งสิ้น 4,314 คน ผู้วิจัยใช้การสุ่มตัวอย่างแบบแบ่งกลุ่ม กลุ่มตัวอย่างคือ เจ้าหน้าที่สำนักงานสรรพากรพื้นที่กรุงเทพมหานคร 30 จำนวน 179 คน และใช้แบบสอบถามเป็นเครื่องมือ ประกอบด้วย ข้อมูลส่วนบุคคล ความฉลาดทาง อารมณ์ และผลการปฏิบัติงาน สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบน มาตรฐาน และการวิเคราะห์ค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์แบบเพียร์สัน

ผลการวิจัย พบว่า

1. ความฉลาดทางอารมณ์ของเจ้าหน้าที่สำนักงานสรรพากรพื้นที่กรุงเทพมหานคร ในภาพรวมมี ค่าคะแนนระดับความฉลาดทางอารมณ์ อยู่ในระดับปานกลาง

2. ผลการปฏิบัติงานของเจ้าหน้าที่สำนักงานสรรพากรพื้นที่กรุงเทพมหานคร ในภาพรวมมีค่า คะแนนระดับผลการปฏิบัติงาน อยู่ในระดับสูง

3. ความสัมพันธ์ระหว่างความฉลาดทางอารมณ์และผลการปฏิบัติงานของเจ้าหน้าที่สำนักงาน สรรพากรพื้นที่กรุงเทพมหานคร ในภาพรวมพบว่า ความฉลาดทางอารมณ์มีความสัมพันธ์กับผลการ ปฏิบัติงาน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.01 โดยเป็นความสัมพันธ์ทางบวก (r=0.390)

โดยสรุปพบว่าคะแนนความฉลาดทางอารมณ์มีความสัมพันธ์กับผลการปฏิบัติงานของเจ้าหน้าที่ สรรพากรกรุงเทพมหานคร

 

Abstract

The objectives of this research were to study the relationship between the emotional quotient and job performance of the 4,314 staffs in Bangkok Area Revenue Office 30. Data was collected from 179 staffs in Bangkok Area Revenue Office using cluster sampling technique. Questionnaire was used to solicit the data on personal background, emotional quotient and job performance. Data was analyzed using percentage, mean, standard deviation, and Pearson’s Coefficient.

The results were as follows:

1. The emotional quotient level of the staffs in Bangkok Area Revenue Office 30 was at the moderate level.

2. The job performance of the staffs in Bangkok Area Revenue Office 30 was at the high level.

3. The emotional quotient had a positive relationship with job performance of the staffs in Bangkok Area Revenue Office 30, with statistical significant difference (0.01) and positive relationship (r = 0.390).

In conclusion, there was a relationship between the emotional quotient and job performance of the staffs in Bangkok Area Revenue Office 30.

Article Details

Section
บทความ : มนุษยศาสตร์ สังคมศาสตร์ และศิลปะ