จตุคามรามเทพ : กระบวนการสร้างความหมายและมูลค่า

Main Article Content

ณัชธัญนพ สุขใส

Abstract

บทคัดย่อ

วิทยานิพนธ์ฉบับนี้ มีวัตถุประสงค์ 2 ประการ คือ เพื่อศึกษากระบวนการสร้างความหมายและ มูลค่าของจตุคามรามเทพในบริบทสังคมแบบพาณิชย์ของจังหวัดนครศรีธรรมราช และศึกษาเงื่อนไขในการ เปลี่ยนแปลงของความหมายและมูลค่าจตุคามรามเทพ การศึกษาใช้วิธีการทางชาติพันธ์วรรณา เก็บรวบรวม ข้อมูลด้วยการสัมภาษณ์แบบลึก (in-depth interview) การสังเกตแบบมีส่วนร่วม (participatory observation) และการศึกษาเอกสารที่เกี่ยวข้อง โดยดำเนินการศึกษาในช่วงเดือนธันวาคม 2549 จนถึง เดือนพฤษภาคม 2553 และใช้ 3 แนวคิดหลักในการศึกษา คือ แนวคิดว่าด้วยความหมาย, แนวคิดการผลิต การกลายเป็นสินค้าและการบริโภคเชิงสัญญะ, และแนวคิดว่าการตลาดและการโฆษณา

ผลการศึกษาค้นพบว่า (1) รูปสัญญะและความหมายสัญญะดำรงอยู่ในพื้นที่ที่เป็นจังหวัด นครศรีธรรมราชปัจจุบันมายาวนาน แต่การผลิตจตุคามรามเทพในฐานะวัตถุมงคล เริ่มขึ้นเมื่อปี พ.ศ. 2530 (2) การผลิตวัตถุมงคลในระยะเริ่มแรกผลิตเพื่อแจกเป็นของขวัญหรือของกำนัล แต่ในช่วงปี พ.ศ. 2548- 2551 วัตถุมงคลจตุคามรามเทพได้กลายมาเป็นสินค้าและสินค้าเชิงสัญญะอย่างชัดเจน พร้อมทั้งเปลี่ยน ความหมายจากการเป็นเพียงสิ่งศักดิ์สิทธิ สู่การเป็นสินค้าที่มีความศักดิ์สิทธิ์ เพิ่มมูลค่าจากการเป็น ของขวัญหรือของชำร่วยสู่สินค้าที่มีราคากว่า 3.8 ล้านบาท/ชิ้นในบางรุ่น (3) ความหมายและมูลค่าของ จตุคามรามเทพถูกสร้างในขั้นตอนต่างๆ ของการผลิต ทั้งก่อนการผลิต การผลิตและหลังการผลิต (4) การ โฆษณาประชาสัมพันธ์มีส่วนอย่างยิ่งในการเปลี่ยนความหมายและเพิ่มมูลค่าให้กับวัตถุมงคลจตุคามรามเทพ และ (5) บริบททางเศรษฐกิจและวัฒนธรรมของจังหวัดนครศรีธรรมราช ที่มีลักษณะเป็นสังคมบริโภคและ แบบพาณิชย์มากยิ่งขึ้นนับตั้งแต่ปี พ.ศ. 2540 เป็นต้นมา มีส่วนสำคัญให้เกิดความเฟื่องฟูของการบริโภค วัตถุมงคลจตุคามรามเทพ

 

Abstract

This thesis has two objectives: (1) to study the process of meaning and value creations of Jatuakarmramathep in the contexts of commercial society of Nakhon Si Thammarat; and (2) to study factors and conditions of changes of Jatuakarmramathep’s meanings and values. Ethnographic methods are used in this study. The data are collected by three main methods, that is, in-depth interview, participatory observation, and documentary study. The research was conducted from December, 2006 to May, 2010. There main concepts are used in this study: concept of meanings; concept of production, commoditization, and symbolic consumptions; and concept of marketing and advertising for meaning and value creation.

The followings are research findings. (1) The signifier and signified of Jatuakarmramathep had been existed in the area of contemporary Nakhon Si Thammarat Province a long time ago. But Jatuakarmramathep as amulets had been produced since 1987. (2) In the beginning, Jatuakarmramathep’s amulets were produced as gifts. However, during 2005 to 2009 Jatuakarmramathep’s amulets were transformed to be commodities or symbolic commodities. In other words, Jatuakarmramathep’s amulets were changed from sacred things to be symbolic commodities, or from merely gifts to the sacred commodities with pricing 3.8 million baths per one amulet. (3) Meanings and values of Jatuakarmramathep’s amulets were created and highly added in every process of Jatuakarmramathep amulet production, that is, in pre-production, production, and postproduction process. (4) Values and meanings of Jatuakarmramathep amulet were constructed and added by means of marketing and advertising. (5) Meanings and values of Jatuakarmramathep amulets were created and highly added during the process of Nakhon Si Thammarat’s economic and society turned to be more commercializing, especially since 1997.

Article Details

Section
บทความ : มนุษยศาสตร์ สังคมศาสตร์ และศิลปะ