ประสิทธิผลของรูปแบบการสอนแบบสืบเสาะหาความรู้เป็นกลุ่มในการทดลองวิทยาศาสตร์

Main Article Content

สมภาร เชื้ออ่อน

Abstract

บทคัดย่อ

การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อเพื่อเพิ่มความเข้าใจแนวคิดเกี่ยวกับไฟฟ้าและแม่เหล็ก โดยรูปแบบ การสอนแบบสืบเสาะหาความรู้เป็นกลุ่มในการทดลอง (Laboratory Group Investigation, LGI) ของ นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 โรงเรียนพังเคนพิทยา จังหวัดอุบลราชธานี ภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2553 จำนวน 28 คน การวิจัยเป็นแบบ one group pretest-posttest เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ แผน จัดการเรียนรู้ตามรูปแบบ LGI แบบทดสอบวัดแนวคิดเชิงวิทยาศาสตร์เรื่องไฟฟ้าและแม่เหล็ก วิเคราะห์ ข้อมูลโดยหาค่าเฉลี่ยร้อยละ ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน ทดสอบค่าที และ normalized gain ผลการวิจัยพบว่า นักเรียนมีความเข้าใจเรื่องไฟฟ้าและแม่เหล็กสูงขึ้นหลังจัดการเรียนรู้อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.01 และนักเรียนมีการพัฒนาแนวคิดรายชั้นอยู่ระดับปานกลาง (average normalized gain, เท่ากับ 0.53) นอกจากนี้นักเรียนยังมีแนวคิดคลาดเคลื่อนอยู่บ้างเกี่ยวกับการหาทิศของสนามแม่เหล็ก

คำสำคัญ : การสืบเสาะหาความรู้เป็นกลุ่มในการทดลอง, ความก้าวหน้าทางการเรียน, ไฟฟ้าและแม่เหล็ก

 

Abstract

The purpose of this research was to study the development of the students’ conceptions on electricity and magnetism using laboratory group investigation model. The target group was 28 students from grad 10 Pangken Pittaya School, Ubontatchathani studying in the second semester of 2011 academic year. The one group pretest - posttest design was employed in carrying out the study. The research tools consisted of lesson plans based on group investigation technique, the electricity and magnetism conceptual test. The data were analyzed into the average percentage, standard deviation, t-test and normalized gain. The result showed that there was statistically significant mean difference between the pre-test and post-test at significant level of .01. The class average normalized gain was in the medium gain = 0.53. Moreover, it was found that the students have difficultly to achieve high normalized gains of direction of magnetic field.

Keywords : Laboratory Group Investigation, Normalized Gain, Electricity and Magnetism

Article Details

Section
บทความ : มนุษยศาสตร์ สังคมศาสตร์ และศิลปะ