การวิเคราะห์องค์ประกอบเจตคติเชิงวิทยาศาสตร์ของนักศึกษาคณะวิทยาศาสตร์ สถาบันอุดมศึกษาของรัฐในเขตกรุงเทพมหานคร

Main Article Content

ณัฐพล แนวจำปา
จักรกฤษณ์ โปณะทอง
จารุวรรณ สกุลคู

Abstract

           การวิจัยครั้งนี้มีจุดมุ่งหมายเพื่อวิเคราะห์องค์ประกอบเจตคติเชิงวิทยาศาสตร์ของนักศึกษา คณะวิทยาศาสตร์ โดยใช้กลุ่มตัวอย่างในการวิจัยนักศึกษาคณะวิทยาศาสตร์ สถาบันอุดมศึกษาของรัฐในเขตกรุงเทพมหานคร จำนวนทั้งสิ้น 120 คน ในปีการศึกษา 2558 เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยคือ แบบสอบถามมาตราส่วนประมาณค่า 5 ระดับเพื่อวัดเจตคติเชิงวิทยาศาสตร์ วิเคราะห์ข้อมูลโดยการวิเคราะห์องค์ประกอบเชิงยืนยัน   ผลการวิจัยพบว่า ผลการวิเคราะห์องค์ประกอบเจตคติเชิงวิทยาศาสตร์ของนักศึกษา คณะวิทยาศาสตร์ โดยใช้กลุ่มตัวอย่างในการวิจัยนักศึกษาคณะวิทยาศาสตร์ สถาบันอุดมศึกษาของรัฐในเขตกรุงเทพมหานคร มีจำนวน 6 องค์ประกอบ ได้แก่ 1. ความสนใจใฝ่รู้ 2. ความซื่อสัตย์ 3. ความมุ่งมั่นและความอดทน 4. ความใจกว้างยอมรับฟังความคิดเห็นหรือเหตุผลที่เพียงพอ 5. ความคิดสร้างสรรค์ 6. มีความสงสัยและกระตือรือร้นที่จะหาคําตอบทั้งหกองค์ประกอบมีดัชนีที่ใช้ในการตรวจสอบความสอดคล้องและความกลมกลืนของตัวแบบกับข้อมูลเชิงประจักษ์ดังนี้ c2= 5.81, df= 6, c2/ df=0.97,  p-value= 0.49451, AGFI=0.98,GFI=1.00,  RMR= 0.0052 , RMSEA=0.000 Critical N =117.70 มีน้ำหนักองค์ประกอบมาตรฐานอยู่ในเกณฑ์สูงอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติในระดับ .05 สามารถใช้ในการวัดเจตคติเชิงวิทยาศาสตร์ของนักศึกษาคณะวิทยาศาสตร์ สถาบันอุดมศึกษาของรัฐในเขตกรุงเทพมหานครได้


            The purpose of this research was to investigate the components of  scientific attitude of science students in public universities in Bangkok  The subjects included 120 students randomly selected from various public universities in Bangkok, academic year 2015. The instrument used to collect the data was a five scale rating scale questionnaire pertaining to scientific attitude. The statistical methods used to analyze data was confirmatory factor analysis.

            The results showed that the confirmatory factor analysis significantly confirmed  student’s scientific attitude could be characterized into six factors: 1) curiosity 2) honesty 3) patience and prudence 4) opinion sharing and the urge to be critical 5) creative thinking  6) enquiry mind. This model complied well with empirical data as the six factors had a high loading with a .05 significant level. (c2= 5.81, df= 6, c2/ df =0.97,  p-value= 0.49451, AGFI= 0.98, GFI=1.00,  RMR= 0.0052 , RMSEA=0.000 Critical N =117.70).These factors could be used as appropriate measures for the scientific attitudes of science students from public universities in Bangkok. 


Article Details

Section
บทความ : มนุษยศาสตร์ สังคมศาสตร์ และศิลปะ