การมีส่วนร่วมของประชาชนในเขตเทศบาลนครนครศรีธรรมราช ต่อการอนุรักษ์ย่านเมืองเก่านครศรีธรรมราช
Main Article Content
Abstract
การวิจัยนี้มีจุดมุ่งมายการวิจัยเพื่อศึกษาสภาพทางกายภาพ ลักษณะทางสังคม การมีส่วนร่วมของประชาชนและแผนการพัฒนาของย่านเมืองเก่านครศรีธรรมราช เพื่อศึกษาหารูปแบบที่เหมาะสมของการมีส่วนร่วมของประชาชนในเขตเทศบาลนครนครศรีธรรมราชต่อการอนุรักษ์ย่านเมืองเก่านครศรีธรรมราช โดยทำการศึกษาเกี่ยวกับสภาพทางกายภาพ ลักษณะทางสังคม การมีส่วนร่วมของประชาชนและแผนการพัฒนาของย่านเมืองเก่านครศรีธรรมราช รวมถึงกระบวนการ ขั้นตอนการการขึ้นเป็นมรดกโลกของวัดพระมหาธาตุวรมหาวิหาร และบริเวณย่านเมืองเก่านครศรีธรรมราช การวิจัยเป็นแบบ survey research และการวิจัยแบบมีส่วนร่วม (Participatory Action Research: PAR)โดยผู้มีส่วนร่วมมี 4 ฝ่ายได้แก่ ภาคธุรกิจในพื้นที่ องค์กรพัฒนาเอกชน นักวิชาการและคนท้องถิ่นจำนวน 400 คน
โดยมีผลการวิจัยด้านสภาพทางกายภาพจากประกาศคณะกรรมการอนุรักษ์และพัฒนากรุงรัตนโกสินทร์และเมืองเก่ามีขอบเขตพื้นที่ประมาณ 3.789 ตารางกิโลเมตร(2,368 ไร่)ครอบคลุมการปกครอง 3 ตำบลคือ ตำบลในเมือง ตำบลคลัง และ ตำบลท่าวัง มีวัดพระมหาธาตุวรมหาวิหารซึ่งได้รับการพิจารณาให้ขึ้นทะเบียนเป็นมรดกโลกทางวัฒนธรรม(World Cultural Heritage)และได้รับบรรจุไว้ในบัญชีรายชื่อเบื้องต้น(Tentative list) ของ UNESCO
ปัจจุบันคณะกรรมการของจังหวัดนครศรีธรรมราชต้องจัดทำรายละเอียดข้อมูลคุณสมบัติต่างๆ ที่โดดเด่นของวัดพระมหาธาตุวรมหาวิหารเพื่อเข้าสู่การพิจารณาขั้นตอนสุดท้าย ก่อนจะบรรจุเข้าการประชุมสมัยสามัญครั้งที่ 38 หรือสมัยที่ 39 (พ.ศ.2557-2558) เพื่อให้คณะกรรมการมรดกโลกพิจารณาประกาศขึ้นทะเบียนมรดกโลก ซึ่งยังคงค้างอยู่ในกระบวนการนี้ เนื่องจากยังคงดำเนินการจัดทำเอกสารฉบับสมบูรณ์ นำเสนอขึ้นสู่มรดกโลกแบบถาวร มีความยาว 8 บท เนื้อหา 300-400 หน้า เป็นภาษาอังกฤษ หรือภาษาฝรั่งเศสอันเป็นขั้นตอนที่มีความสำคัญมากที่สุด
เเนวทางในการพัฒนาการมีส่วนร่วมของประชาชนในเขตเทศบาลนครนครศรีธรรมราชต่อการอนุรักษ์ย่านเมืองเก่านครศรีธรรมราช และการขึ้นบัญชีรายชื่อให้วัดพระมหาธาตุวรมหาวิหารเป็นมรดกโลกต้องอาศัยความร่วมมือกันระหว่างภาครับบาลและภาคประชาชนอย่างจริงจังและต่อเนื่องโดยใช้แนวคิดในการอนุรักษ์แหล่งมรดกโลก ปรัชญา ประวัติศาสตร์ คติความเชื่อ และขนบธรรมเนียมต่างๆที่เกี่ยวข้องและนำผลการวิเคราะห์ทางกายภาพส่วนอื่นๆมาปรับใช้เพื่อนำไปสู่การปรับภูมทัศน์ให้เป็นไปตามที่ UNESCO กำหนด
A study of public collaboration of the municipality of Nakhon Si Thammarat in relation to conserving the old town of Nakhon Si Thammarat has the overall aim to study the physical environment, social characteristics, and the public collaboration and development plan of the old town in order find an appropriate model to promote public engagement. This includes the process of enlisting Wat Phra Mahatat Woramahawihan and the old town on the World Heritage.
The research methods used in this study included survey research and participatory action research techniques. Data were collected from four groups of respondents which are: (1) four respondents from private development organizations in the private sector, (2) three academicians, (3) three government officials from the government sector, as well as (4) 400 people in the local area using simple random sampling technique.
Research findings revealed that, according to the announcement of the Commission of Rattanakosin City and Old Town Conservation, the old town is as large as 3.789 kilometer squares (2,368 rais) of the physical environment covering three tumbons - Muang, Klang, and Tawang - and above all included Wat Phra Mahatat Worramahaawihan which has officially been registered as a World Cultural Heritage and has been included in the Tentative List of United Nations Educational, Scientific and Cultural Organization (UNESCO). At present, the commission (act as a State Party) assigned for Nakhon Si Thammarat province must prepare the nomination file including necessary documentation (exhaustive information about the attributes and uniqueness) and maps of the location sites of Wat Phra Mahatat. Once