ศิลปะจัดวางสื่อผสมภาพถ่ายเพื่อสะท้อนภาพลักษณ์ผู้ขับขี่จักรยานยนต์รับจ้าง

Main Article Content

พีรติ จึงประกอบ

Abstract

          การวิจัยครั้งนี้มีจุดประสงค์เพื่อศึกษารวบรวมความรู้จากหลักทฤษฎีองค์ประกอบศิลป์การถ่ายภาพสารคดี(Street Photography) และข้อมูลผู้ขับขี่จักรยานยนต์รับจ้างจากผู้ที่มีประสบการณ์การให้บริการ ผู้ใช้บริการจักรยานยนต์รับจ้าง ผู้เกี่ยวข้องกับการประกอบอาชีพจักรยานยนต์รับจ้าง เพื่อเป็นการส่งเสริมภาพลักษณ์ผู้ขับขี่จักรยานยนต์รับจ้างทั้ง 3 ด้านได้แก่ ด้านการให้บริการ ด้านความปลอดถัย ด้านการมีส่วนร่วมต่อสังคม ระยะที่ 1 ลงพื้นที่ภาคสนามจากการสังเกตและสร้างแบบสอบถามเพื่อประเมินภาพลักษณ์ผู้ขับขี่จักรยานยนต์รับจ้างจากผู้ใช้บริการในช่วงเวลาเร่งด่วนของวันทำการ (ช่วงที่ 1 คือ 07.30-09.00 น.ช่วงเวลาที่ 2 คือ 16.30-18.00 น.) ในพื้นที่ตามขอบเขตการวิจัยจำนวน 153 คน ได้รับแบบสอบถามกลับมาทั้งหมด 100 ชุดคิดเป็นร้อยละ 65.4 ซึ่งผลที่น่าเป็นห่วงสำหรับภาพลักษณ์ผู้ขับขี่จักรยานยนต์รับจ้างมากที่สุดคือ ด้านการให้บริการ ด้านความปลอดภัย และด้านการมีส่วนร่วมต่อสังคมตามลำดับ ระยะที่ 2 วิเคราะห์ข้อมูลจากแบบสอบถามประเมินภาพลักษณ์ผู้ขับขี่จักรยานยนต์รับจ้าง สู่กระบวนการสร้างสรรค์ผลงานศิลปะจัดวางสื่อผสมภาพถ่าย และทำการประเมินผลงานภาพถ่ายจากการจัดนิทรรศการสื่อผสมภาพถ่ายสำหรับผู้ขับขี่จักรยานยนต์รับจ้างในพื้นที่เขตบึงกุ่ม โดยมีผู้ที่เกี่ยวข้องกับการพัฒนาชุมชนในพื้นที่มาร่วมงาน เพื่อส่งเสริมความรู้ ความเข้าใจในการให้บริการที่ดี สิ่งที่ผู้ใช้บริการต้องการจากการบริการ โดยใช้แบบสอบถามประเมินการจัดนิทรรศการสื่อผสมภาพถ่ายจำนวน 100 ชุด

          ผลการวิจัยนี้พบว่า 1)ด้านการให้บริการ จำนวนจักรยานยนต์รับจ้างที่ให้บริการไม่เพียงพอต่อความต้องการซึ่งเป็นปัญหาที่เกิดมาจากการไม่เข้าใจของผู้ใช้บริการถึงการรับผิดชอบพื้นที่ที่ให้บริการ ที่ไม่สามารถให้บริการนอกเหนือพื้นที่ที่ให้บริการได้ 2)ด้านความปลอดภัย การปฏิบัติตามกฎจราจรเป็นเหมือนกระจกสะท้อนถึงพฤติกรรมความเชื่อมั่นและความไว้ใจจากผู้ใช้บริการ มีผลต่อภาพลักษณ์ที่ดีของอาชีพผู้ขับขี่จักรยานยนต์รับจ้าง 3)ด้านการมีส่วนร่วมต่อสังคม การดูแลสอดส่องพื้นที่ที่ให้บริการ ความสะอาดต่อพื้นที่ การมีจิตอาสาป้องกันภัยสังคม 4)การจัดนิทรรศการสื่อผสมภาพถ่ายมีประโยชน์ต่อผู้ขับขี่จักรยานยนต์รับจ้างทำให้รู้วิธีแก้ปัญหากับภาพลักษณ์ที่มีผลต่อการประกอบอาชีพ

 

          The purpose of this research is to study the composition and presentation of the street photography and information motorcycle taxi experience, user experience, a related occupations to promote motorcycle image of the third, service, safety, social.

               Phase 1 , Into the field of observation and a questionnaire to assess motorcycle taxi image from user service during rush hour of working day (During 1st 07.30 - 09.00 am and During 2nd 04.30 - 06.00 pm) in the scope of research 153 people, 100 Questionnaires were returned percentage 65.4 most worrisome results for motorcycle image is social, safety and services,respectively.

               Phase 2 ,  Analysed data from questionnaires assessed motorcycle taxi image to the creative process art installation to reflect motorcycle taxi image, evaluation of street photography for motorcycle taxi Buengkum area,The guest of honour associated with the development community attended the exhibition to promote understanding in the good service, what users want, Questionnaires were used to assess the exhibition of the 100 series. the study reveals that: 1)Service , The motorcycle taxi is not enough per serving, problem comes from not understanding consumer, responsible service area can not serve beyond the region. 2)Safety , Compliance with the rules is like a mirror reflecting the behavior of confidence and trust of the users, Affect the good motorcycle taxi image 3)Social , Ambush care service areas, clean the area The volunteer social protection. 4) An exhibition of mixed media photo, Benefit motorcycle riders know how to solve problems that affect the image of the profession.

Article Details

Section
บทความ : ศิลปะและการออกแบบ