Exploring Thai EFL Pre-service Teachers’ Level ofSelf –Efficacy and Its Sources

Main Article Content

Manthana Pandee
Vachira Jantarach
Phonlawat Chalong
Orawan Chukaeo
Benjaporn Sitthitunyagum

Abstract

          This study aimed to 1) investigate the level of self-efficacy beliefs of Thai EFL pre-service teachers before they experienced teaching practice, in the area of Efficacy of Student Engagement (SE), Efficacy in Instruction Strategies (IS), and Efficacy in Classroom Management (CM); and 2) explore sources of self-efficacy beliefs which have the strongest influence to the level of self-efficacy beliefs of the Thai EFL pre-service teachers before having teaching practice. For data collection, the Teachers’ Sense of Efficacy Scale (TSES) was administered by 26 Thai EFL pre-service teachers and then an open – ended questionnaire was employed. The verbal responses from the participants were analysed based on Bandura’s sources of self-efficacy. The findings indicated that the highest efficacy beliefs of the student teachers were Efficacy of SE and IS. On the other hand, their lowest sense of self-efficacy beliefs was Efficacy of CM. All of the three sub-factors were most strongly influenced by mastery experiences. The other two sources, verbal persuasion and physiological or emotional states, also affected the pre-service teachers’ self- efficacy beliefs, but they were less influential than the mastery experiences. However, vicarious experience had not found in the results.

 

         งานวิจัยนี้มีจุดมุ่งหมายเพื่อ  1) ศึกษาระดับความเชื่อด้านความความสามารถของตนเองของนักศึกษาฝึกสอนวิชาเอกภาษาอังกฤษก่อนที่จะไปปฏิบัติการสอนจริง ภายใต้หัวข้อต่อไปนี้  ความสามารถในการสร้างความมุ่งมั่นให้กับผู้เรียน ความสามารถด้านการใช้กลยุทธการสอน และความสามารถในการจัดการชั้นเรียน 2) สำรวจถึงแหล่งที่มาที่มีอิทธิพลที่สุดในการเกิดความสามารถของตนเองของนักศึกษาฝึกสอนวิชาเอกภาษาอังกฤษก่อนที่จะออกไปปฏิบัติการฝึกสอนจริง  สำหรับการเก็บข้อมูล ผู้วิจัยได้แจกแบบวัดความสามารถของตนเองสำหรับครูให้นักศึกษาฝึกสอนจำนวน 26 คน หลังจากได้ผลจากการวัดระดับความสามารถของตนเองแล้ว ผู้วิจัยได้แจกแบบสอบถามแบบปลายเปิดซึ่งดัดแปลงมาจากผลของการตอบแบบสอบถามชุดแรกของนักศึกษา ผลจากตอบคำถามปลายเปิดได้รับการวิเคราะห์โดยใช้หลักทฤษฎีที่มาของความสามารถของตนเองของ แบนดูร่า (Bandura’s sources of self-efficacy) ผลการวิจัยพบว่า นักศึกษาเชื่อว่าพวกเขามีความสามารถของตนเองในด้านการสร้างความมุ่งมั่นให้กับนักเรียนและความสามารถด้านการใช้กลยุทธการสอน มากที่สุด ขณะที่ความเชื่อว่าตนเองมีความสามารถในด้านควบคุมชั้นเรียนมีน้อยที่สุด แหล่งที่มาของการเกิดความสามารถของตนเองที่มากที่สุดของความเชื่อเหล่านี้เกิดจากประสบการณ์ตรงของนักศึกษา ส่วนแหล่งที่มารองลงมาอีกสองแหล่งคือการได้รับคำแนะนำจากผู้อื่น และการควบคุมสภาวะทางกายและทางอารมณ์ของตนเอง ส่วนแหล่งที่มาในการเกิดความเชื่อด้านความสามารถของตนเองที่ไม่พบในการศึกษาครั้งนี้คือ การรับรู้จากประสบการณ์ของผู้อื่น

Article Details

Section
บทความ : International