The Factors of Success of Dhammakāya Temple
Main Article Content
Abstract
Although the issue of Dhammakāya temple has repeatedly been presented to the public through the media, social media, critic’s review and academic analysis, etc., the temple-related issue remains catching people’s attention whenever making headline. However, it is reasonable to say that there are in-depth-points missing in those previous dialogues. This academic article attempts to fill of the vacuum by reflecting various stand points through the utilization of sociological theoretical approach to widen the discussion-to-be in the transcendent domains. This research found that the truth is Dhammakāya meditation has strongly inspired the pioneer group of Dhammakāya meditators to disseminate the meditation know-how, followed by being forced to start a new temple as a center of operation. Dhammakāya meditation brought the success first to the life of Venerable Dhammajayo then to Dhammakāya temple. Dhammakāya temple, if without Dhammakāya Meditation, is no different from being a simple Theravada Buddhist monastery under the supervision of Mahānikāya sect. To conclude the factors of success of Dhammakāya temple in convergence with the term definition in short and simple dialogue as: Dhammakāya temple succeeds in utilizing Dhammakāya meditation as a mechanism efficiently to attract followers in limitless scope and consistent fashion; and as a magnet capable to keep the followers attaching to the community (Dhammakāya network -glum kalayānamittara) and energize their members to scale up the temple’s accomplishment.
ถึงแม้ว่าสื่อมวลชน สังคมออนไลน์ และนักวิเคราะห์ ได้นำเสนอเรื่องราวเกี่ยวกับวัดพระธรรมกายมาอย่างต่อเนื่อง ประเด็นของวัดพระธรรมกายก็ยังได้รับความสนใจจากสาธารณชนทุกครั้งที่ถูกพาดหัวข่าว แต่สิ่งที่น่าสนใจกว่าที่เป็นข่าว ที่มักถูกมองข้ามไปจากการวิพากษ์วิจารณ์ก็คือ อะไรคือปัจจัยแห่งความสำเร็จของวัดพระธรรมกาย คำตอบที่ตรงประเด็นที่สุดก็คือ การตอบให้ได้ว่า ทำไมคนถึงไปที่วัดนี้ และไปอย่างต่อเนื่อง เพราะนั่นคือสิ่งที่ทำให้วัดนี้ประสบความสำเร็จ งานวิจัยชิ้นนี้มีเป้าหมายเพื่อหาคำตอบนี้ โดยอาศัยกระบวนการวิเคราะห์ทางทฤษฎีด้านสังคมศาสตร์ ช่วยให้เกิดมุมมองที่หลุดพ้นจากกรอบแนวคิดเดิมๆ งานวิจัยนี้พบว่า จุดเริ่มต้นของวัดนี้เกิดจากรุ่นบุกเบิกกลุ่มหนึ่งมีความปรารถนาอย่างแรงกล้าที่จะเผยแผ่วิธีการทำสมาธิแนวธรรมกายที่ตนเองปฏิบัติให้ชาวโลกได้ปฏิบัติตาม จากจุดเริ่มต้นนี้นำมาซึ่งการสร้างวัดแห่งนี้ เพื่อเป็นฐานที่ตั้งในการดำเนินภารกิจให้สำเร็จตามนโมปณิธาน ซึ่งจากการศึกษาพบว่า การทำสมาธิตามแนวธรรมกายได้เปลี่ยนแปลงชีวิตของพระธัมมชโย และนำความสำเร็จมาสู่วัดพระธรรมกายในลำดับต่อมา วัดพระธรรมกายถ้าปราศจากคำสอนเรื่องการทำสมาธิแนวธรรมกายแล้ว วัดนี้ก็ไม่ได้มีอะไรที่แตกต่างไปจากการเป็นวัดเถรวาทวัดหนึ่งที่อยู่ภายใต้การปกครองมหานิกาย ถ้าจะสรุปเป็นประเด็นก็สามารถสรุปได้ว่า ความสำเร็จของวัดพระธรรมกายเกิดจากการที่วัดประสบความสำเร็จในการใช้การทำสมาธิแนวธรรมกายในการดึงดูดคนให้มาที่วัดนี้ และใช้การทำสมาธิแบบนี้ในการรักษาคนที่มาวัดให้มาวัดอย่างต่อเนื่อง และช่วยวัดในการขยายปริมาณคนมาปฏิบัติสมาธิตามแนวนี้อีกด้วย