ความชุกของภาวะสมองเสื่อมและปัจจัยที่สัมพันธ์กับภาวะสมองเสื่อมในผู้สูงอายุ ตำบลอรพิมพ์ อำเภอครบุรี จังหวัดนครราชสีมา
Keywords:
ภาวะสมองเสื่อม, ความชุก, ผู้สูงอายุ, dementia, prevalence, elderlyAbstract
บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงสำรวจแบบภาคตัดขวาง มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาความชุกและปัจจัยที่มีความสัมพันธ์ต่อภาวะสมองเสื่อมในผู้สูงอายุโดยใช้กรอบแนวคิดการวินิจฉัยและคัดกรองภาวะสมองเสื่อมของสมาคมจิตแพทย์อเมริกัน สุ่มเลือกกลุ่มตัวอย่างแบบชั้นภูมิ จำนวน 150 คน ที่อาศัยอยู่ในชุมชน เขตตำบลอรพิมพ์ อำเภอครบุรี จังหวัดนครราชสีมา เก็บรวบรวมข้อมูลโดยใช้แบบสัมภาษณ์และแบบทดสอบสมรรถภาพสมองเบื้องต้นฉบับภาษาไทย ระหว่างวันที่ 30 มีนาคมถึงวันที่ 30 เมษายน พ.ศ. 2555 วิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติพรรณนา ได้แก่ ความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ค่าสูงสุด และค่าต่ำสุด และวิเคราะห์หาความสัมพันธ์โดยใช้สถิติไคสแควร์และฟิชเชอร์ผลการศึกษา พบว่า ความชุกของภาวะสมองเสื่อมในผู้สูงอายุมีอัตราร้อยละ 12.7 ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับภาวะสมองเสื่อมอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ < 0.05 คือ อายุ การประกอบอาชีพในปัจจุบัน การอ่านหนังสือ การดูโทรทัศน์ การเข้าร่วมกิจกรรมบำเพ็ญประโยชน์ และการออกกำลังกาย ผลการศึกษาครั้งนี้ สามารถนำไปใช้ในการกำหนดแนวทางการดูแลผู้สูงอายุ เน้นการจัดกิจกรรมที่ส่งเสริมสุขภาพและป้องการเกิดภาวะสมองเสื่อม เช่น ออกกำลังกาย กระตุ้นให้อ่านหนังสือ จัดกิจกรรมบำเพ็ญประโยชน์ เพื่อให้ผู้สูงอายุมีสุขภาพที่ดีและสามารถปฏิบัติงานหรือสามารถใช้ชีวิตประจำวันได้อย่างเหมาะสม
Prevalence and Factors Associated with Dementiaamong Elderly People in Oraphim Subdistrict, Khonburi District, Nakhonratchasima Province
ABSTRACT
This study was cross-sectional survey research aiming to investigate the prevalence of and factors related to dementia among elderly people by using the diagnostic concept of the American Psychiatric Association. The study population was 150 elderly people who live in Oraphim Subdistrict, Khonburi District, Nakhonratchasima Province and was selected by stratified sampling method. The research instrument was the Mini Mental State Examination (MMSE-Thai version) form. The questionnaires were collected between March 30, 2012 and April 30, 2012. Data was analyzed using descriptive statistics, chi-square test, and Fisher’s exact test. The results found that the prevalence of dementia was 12.7 % and that factors statistically significantly related to dementia were age, current occupation, reading, television watching, participating in voluntary activities, and exercise. The results can be used to create care guidelines for elderly people. Interventions should emphasize health promotion and dementia prevention activities such as exercise, reading, and participating in voluntary activity. These activities promote healthy lifestyles for elderly people and assist them to perform daily living activities.
Downloads
Issue
Section
License
Creative Commons License CC-BY-ND