ปัจจัยทำนายพฤติกรรมการดูแลตนเองด้านการบริโภคอาหารและการออกกำลังกาย ของกลุ่มเสี่ยงโรคเบาหวาน จังหวัดภูเก็ต

Authors

  • เมธินี แหล่งหล้าเลิศสกุล นักศึกษาหลักสูตรวิทยาศาสตรมหาบัณฑิต (สาธารณสุขศาสตร์) สาขาวิชาเอกสุขศึกษาและพฤติกรรมศาสตร์ คณะสาธารณสุขศาสตร์และบัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยมหิดล
  • นิรัตน์ อิมามี ภาควิชาสุขศึกษาและพฤติกรรมศาสตร์ คณะสาธารณสุขศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล
  • มณีรัตน์ ธีระวิวัฒน์ ภาควิชาสุขศึกษาและพฤติกรรมศาสตร์ คณะสาธารณสุขศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล
  • ธราดล เก่งการพานิช ภาควิชาสุขศึกษาและพฤติกรรมศาสตร์ คณะสาธารณสุขศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล

Keywords:

กลุ่มเสี่ยงโรคเบาหวาน, การดูแลตนเอง, พฤติกรรมการบริโภคDiabetes risk group, self-care, diet and exercise, behaviorอาหารและการออกกำลังกาย, Diabetes risk group, behavior

Abstract

บทคัดย่อ

การปรับเปลี่ยนวิถีชีวิตเรื่องการบริโภคอาหารและการออกกำลังกายเป็นปัจจัยสำคัญสำหรับกลุ่มเสี่ยงโรคเบาหวาน การวิจัยเชิงสำรวจนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาปัจจัยทำนายพฤติกรรมการดูแลตนเองด้านการบริโภคอาหารและการออกกำลังกายของกลุ่มเสี่ยงโรคเบาหวาน จำนวน 305 คน รวบรวมข้อมูลโดยการสัมภาษณ์ วิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติเชิงพรรณนาและการจำแนกพหุ ผลการวิเคราะห์พบว่าปัจจัยคัดสรร 10 ปัจจัย ได้แก่ เพศ ระดับการศึกษา อาชีพ ดัชนีมวลกาย ความรู้เรื่องโรคเบาหวาน ความรู้เรื่องการจัดการตนเองด้านการบริโภคอาหาร การรับรู้โอกาสเสี่ยงในการเป็นโรคเบาหวาน การรับรู้ความสามารถตนเองด้านการบริโภคอาหาร การรับรู้ความสามารถในการจัดการตนเองด้านการบริโภคอาหาร และการจัดการตนเองด้านการบริโภคอาหาร สามารถร่วมกันทำนายความแปรปรวนของพฤติกรรมการดูแลตนเองด้านการบริโภคอาหารได้ประมาณร้อยละ 61 (R2 = 0.605) เมื่อควบคุมอิทธิพลของปัจจัยอื่นแล้วปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อพฤติกรรมการบริโภคอาหารได้ดีที่สุด 3 อันดับแรก คือ การรับรู้ความสามารถตนเองด้านการบริโภคอาหาร เพศ และ ความรู้เรื่องการจัดการจัดการตนเองด้านการบริโภคอาหาร (Beta = 0.364  0.185 และ 0.150 ตามลำดับ) ส่วนปัจจัยคัดสรร 8 ปัจจัย ได้แก่ เพศ ระดับการศึกษา อาชีพ ดัชนีมวลกาย ความรู้เรื่องการออกกำลังกาย ความรู้เรื่องการจัดการตนเองด้านการออกกำลังกาย การรับรู้ความสามารถตนเองด้านการออกกำลังกาย และการจัดการตนเองด้านการออกกำลังกาย สามารถร่วมกันทำนายความแปรปรวนของพฤติกรรมการดูแลตนเองด้านการออกกำลังกายของกลุ่มตัวอย่างได้ ประมาณร้อยละ 36 (R2 = 0.359) โดยปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อพฤติกรรมการออกกำลังกายได้ดีที่สุด คือ การจัดการตนเองด้านการออกกำลังกาย เพศ และ ระดับการศึกษา (Beta = 0.391 0.292 และ 0.208 ตามลำดับ) ดังนั้น การจัดกิจกรรมการเรียนรู้ที่ส่งเสริม ความรู้ การรับรู้ความสามารถตนเองและทักษะในการจัดการตนเองที่เหมาะสม สอดคล้องกับคุณลักษณะทางด้านประชากรและสังคม จะช่วยให้กลุ่มเสี่ยงโรคเบาหวานมีพฤติกรรมการดูแลตนเองด้านการบริโภคอาหารและการออกกำลังกายที่ดีขึ้น 

 

Factors Predicting Self-Care Behavior on Diet and Exercise of Diabetes Risk Group, Phuket Province, Thailand

ABSTRACT

Lifestyle changes in diet and exercise are important for people who are at risk of developing type 2 diabetes.  This survey research aims to study factors predicting self-care behaviors on diet and exercise of 305 individuals in a pre-diabetes risk group in Phuket province, Thailand.  Data was collected by individual interviews and was analyzed by descriptive statistics and Multiple Classification Analysis. The research results from the Multiple Classification Analysis model found that about 61.0 percent of the variance of self-care behaviors on diet (R2= 0.605) could be explained by the selected 10 factors: gender, educational level, occupation, body mass index, knowledge regarding diabetes mellitus, knowledge about diet self-management, perceived susceptibility to diabetes, perceived self-efficacy on diet, perceived self-efficacy on diet self-management, and diet self-management practices.  Once the effect of all other factors were taken into account, the best three predictors were perceived as self-efficacy on diet, gender, and knowledge about diet self-management (Beta=0.364, 0.185, and 0.150 respectively).  Regarding exercise behavior, it was found that about 36 percent of the variance of exercise self‑care behaviors (R2=0.359) could be explained by the selected 8 factors: gender, educational level, occupation, body mass index, knowledge regarding exercise, knowledge about exercise self-management, perceived self-efficacy about exercise, and exercise self-management practices.  The best three predictors were self-management practices, gender, and educational level (Beta=0.391, 0.292, and 0.208 respectively). Therefore, conducting learning activities to promote knowledge, perceived self‑efficacy and suitable skills for self-management, and harmony with the demographic and social factors, will better enhance self-care behaviors of persons in the diabetes mellitus risk groups concerning diet and exercise.


Downloads

Issue

Section

Original Articles