ปัจจัยคุณลักษณะของบุคลากรสาธารณสุขในสามจังหวัดชายแดนภาคใต้ ที่มีผลต่อคุณภาพชีวิตการทำงาน

Authors

  • ปุญญพัฒน์ ไชยเมล์ คณะวิทยาการสุขภาพและการกีฬา มหาวิทยาลัยทักษิณ วิทยาเขตพัทลุง
  • ตั้ม บุญรอด คณะวิทยาการสุขภาพและการกีฬา มหาวิทยาลัยทักษิณ วิทยาเขตพัทลุง
  • วิชชาดา สิมลา คณะวิทยาการสุขภาพและการกีฬา มหาวิทยาลัยทักษิณ วิทยาเขตพัทลุง
  • บุญเรือง ขาวนวล คณะวิทยาการสุขภาพและการกีฬา มหาวิทยาลัยทักษิณ วิทยาเขตพัทลุง
  • พลภัทร ทรงศิริ คณะวิทยาการสุขภาพและการกีฬา มหาวิทยาลัยทักษิณ วิทยาเขตพัทลุง

Keywords:

บุคลากรสาธารณสุข, สามจังหวัดชายแดนภาคใต้, คุณภาพชีวิตการทำงาน, Health personnel, border provinces, work quality of life

Abstract

บทคัดย่อ

การวิจัยเชิงอรรถาธิบายแบบภาคตัดขวาง ครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาปัจจัยคุณลักษณะของบุคลากรสาธารณสุขในสามจังหวัดชายแดนภาคใต้ที่มีผลต่อคุณภาพชีวิตการทำงาน กลุ่มตัวอย่างเป็นบุคลากรสาธารณสุขที่ปฏิบัติงานในโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล (รพ.สต.) จำนวน 300 คน ระหว่างเดือนเมษายน – มิถุนายน 2554 รวบรวมข้อมูลโดยใช้แบบสอบถาม ตรวจสอบความตรงเชิงเนื้อหาด้วยผู้ทรงคุณวุฒิจำนวน 3 ท่าน และความเชื่อมั่นของแบบวัดคุณภาพชีวิตการทำงานเท่ากับ 0.92 วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติเชิงพรรณนา และสถิติถดถอยพหุคูณ ผลการศึกษาพบว่าคุณภาพชีวิตการทำงานของบุคลากรสาธารณสุขภาพรวมอยู่ในระดับปานกลาง ( = 3.60, SD = 0.44) และจากการวิเคราะห์ปัจจัยที่มีผลต่อคุณภาพชีวิตการทำงานของบุคลากรสาธารณสุข พบว่าตำแหน่งหน้าที่ในการทำงาน (p = 0.023) และการป่วยมีโรคประจำตัว (p = 0.024) มีผลเชิงบวกต่อคุณภาพการทำงานของบุคลากรสาธารณสุขอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ จากผลการศึกษาดังกล่าว หน่วยงานสาธารณสุขควรมีการส่งเสริมสุขภาพของบุคลากรสาธารณสุข พัฒนาศักยภาพ และความก้าวหน้าในการทำงาน โดยเฉพาะการปรับตำแหน่งสำหรับบุคลากรที่มีวุฒิปริญญาตรี รวมทั้งส่งเสริมให้มีค่าตอบแทนในพื้นที่เสี่ยงภัยที่เหมาะสม เพื่อเป็นแรงจูงใจในการปฏิบัติงาน

Demographic Factors of Health Personnel in Three Border Provinces of Southern Thailand That Affect Work Quality of Life

ABSTRACT

The purpose of this exploratory cross-sectional study was to investigate demographic factors of health personnel in three border provinces of southern Thailand that affect work quality of life. Data from 300 health personnel who work in sub-district health promoting hospitals were gathered during April to June, 2011. The data were collected by questionnaire. was checked by three experts, and had a Cronbach’s alpha coefficient of 0.92. Descriptive statistics were used to describe characteristics of the sample, and multiple regression analysis was used to investigate demographic factors of health personnel affecting work quality of life. The main finding was that the overall work quality of life among health personal was moderate ( = 3.60, SD = 0.44). Regarding factors affecting work quality of life, work position (p = 0.023) and illness (p = 0.024)  statistically significantly affected work quality of life. The study suggests that health promotion activities should be promoted for health personnel. In addition, capacity-building development and work advancement activities should be supported. Particularly, health personnel who graduate with a bachelor’s degree should have the opportunity for  promotion to higher positions. In addition, compensation for work in risky areas should include  appropriate rewards and incentives. 


Downloads

Issue

Section

Original Articles