ผลของการให้ข้อมูลผ่านสื่อคอมพิวเตอร์มัลติมิเดียต่อความรู้เกี่ยวกับการรักษาในโรงพยาบาลและความกลัวของเด็กวัยเรียนที่มีการเจ็บป่วยเฉียบพลัน

Authors

  • สุธิศา ล่ามช้าง คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
  • ฐิติมา สุขเลิศตระกูล คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
  • ปรีชา ล่ามช้าง คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
  • อรพินท์ จันทร์ปัญญาสกุล คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
  • เพชราภรณ์ ศิริทรัพย์ คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่

Keywords:

การให้ข้อมูล, สื่อคอมพิวเตอร์มัลติมิเดีย, ความรู้เกี่ยวกับการรักษา, ความกลัว, เด็กวัยเรียน, การเจ็บป่วยเฉียบพลัน, information provision, computer multimedia, knowledge, fear, hospitalization, school-age children, acute illness

Abstract

บทคัดย่อ

เด็กที่เจ็บป่วยเฉียบพลันและเข้ารับการรักษาในโรงพยาบาล อาจต้องเผชิญกับเหตุการณ์ที่ก่อให้เกิดความไม่สุขสบายและความกลัวได้ การวิจัยกึ่งทดลองครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาผลของการให้ข้อมูลผ่านสื่อคอมพิวเตอร์มัลติมิเดียต่อความรู้เกี่ยวกับการรักษาในโรงพยาบาลและความกลัวของเด็กที่เจ็บป่วยเฉียบพลัน กลุ่มตัวอย่างเลือกแบบเฉพาะเจาะจงเป็นเด็กอายุ 6 – 14 ปี ที่เจ็บป่วยเฉียบพลันและเข้ารับการรักษาในหอผู้ป่วยกุมารเวชกรรม โรงพยาบาลแห่งหนึ่งในเขตภาคเหนือ ระหว่างเดือนพฤษภาคม ถึง เดือนพฤศจิกายน พ.ศ. 2554  จำนวน 34 คน แบ่งเป็นกลุ่มเปรียบเทียบและกลุ่มทดลอง กลุ่มละ 17 คน โดยให้แต่ละกลุ่มมีความใกล้เคียงกันด้านระดับอายุ ความรู้ และความกลัว กลุ่มทดลองคือกลุ่มที่ได้รับข้อมูลผ่านสื่อคอมพิวเตอร์มัลติมิเดีย และกลุ่มเปรียบเทียบคือกลุ่มที่ได้รับข้อมูลตามปกติ เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยประกอบด้วย แผนการให้ข้อมูลผ่านสื่อคอมพิวเตอร์มัลติมิเดียและสื่อคอมพิวเตอร์มัลติมิเดีย เรื่องเมื่อเด็กเข้ารับการรักษาในโรงพยาบาล แบบวัดความรู้เกี่ยวกับการรักษาในโรงพยาบาล และแบบวัดความกลัวการรักษาของเด็กวัยเรียน วิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติพรรณนา และสถิติทดสอบที ผลการวิจัยพบว่า คะแนนความรู้เกี่ยวกับการรักษาในโรงพยาบาลและคะแนนความกลัวของเด็กกลุ่มทดลองและกลุ่มเปรียบเทียบไม่แตกต่างกัน แต่กลุ่มทดลองมีคะแนนความรู้เกี่ยวกับโรคมากกว่ากลุ่มเปรียบเทียบอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p < 0.05) หลังการได้รับข้อมูลผ่านสื่อคอมพิวเตอร์มัลติมิเดีย กลุ่มทดลองมีคะแนนความรู้เกี่ยวกับการรักษาในโรงพยาบาลมากกว่าก่อนได้รับข้อมูลอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ  (p < 0.01) กลุ่มทดลองมีคะแนนความกลัวก่อนและหลังการทดลองไม่แตกต่างกัน ผลการศึกษาครั้งนี้ชี้ให้เห็นว่าการให้ข้อมูลผ่านสื่อคอมพิวเตอร์มัลติมิเดียสามารถส่งเสริมให้เด็กมีความรู้เกี่ยวกับการรักษาในโรงพยาบาล พยาบาลสามารถนำสื่อคอมพิวเตอร์มัลติมิเดียไปใช้ในการสอนเด็กที่เข้ารับการรักษาในโรงพยาบาลได้

Effects of Information Provision via Computer Multimedia on Knowledge and Fear of Hospitalization among School-Age Children with Acute Illness

ABSTRACT


Children with acute illness who are hospitalized may experience distress and fear about hospitalization. The purpose of this quasi-experimental study was to examine the effects of information provision via computer multimedia on knowledge and fear of hospitalization among children with acute illness.  A purposive sample of 34 children with acute illness  6 - 14 years old was selected from the pediatric ward of a hospital in Thailand’s Northern Region during May to November 2011.  Participants were assigned into either the experimental or comparison group with 17 participants  in each group.  Both groups were matched for age, knowledge, and fear levels.  The experimental group received information provision via computer multimedia whereas the comparison group received routine instruction.  The research intervention and evaluation tools included the Information Provision via Computer Multimedia Plan, computer multimedia entitled  “When Children are Admitted to the Hospital”, the Knowledge Regarding Hospitalization Questionnaire, and the Child Medical Fear Scale.  Data regarding knowledge and fear were analyzed using descriptive statistics, and t-test.  Results showed that initially there was no statistically significant differences in knowledge or fear scores regarding hospitalization between the experimental group and the comparison group,  but the experimental group had statistically significantly higher knowledge scores regarding disease than those of the comparison group (p <0.05). After receiving the information via computer multimedia, the knowledge scores regarding hospitalization among the experimental group were statistically significantly higher (p <0.01).  There was no statistically significant difference in fear scores before and after the intervention. The findings in this study indicate that information provision via computer multimedia can enhance children’s knowledge regarding hospitalization.  Nurses could use this tool to teach children about hospitalization when they are admitted into the hospital.               

Downloads

Issue

Section

Original Articles