สภาวะสุขภาพจิตของนักศึกษาสาธารณสุขชุมชน ชลบุรี

Authors

  • จตุพร อาญาเมือง ภาควิชาสาธารณสุขชุมชน วิทยาลัยการสาธารณสุขสิรินธร จังหวัดชลบุรี
  • ปิยรัตน์ จิตรภักดี ภาควิชาสาธารณสุขชุมชน วิทยาลัยการสาธารณสุขสิรินธร จังหวัดชลบุรี
  • สุภาวัลย์ จาริยศิลป์ ภาควิชาสาธารณสุขชุมชน วิทยาลัยการสาธารณสุขสิรินธร จังหวัดชลบุรี
  • ทัศนันท์ ทุมมานนท์ ภาควิชาสาธารณสุขชุมชน วิทยาลัยการสาธารณสุขสิรินธร จังหวัดชลบุรี
  • ดำรงค์ศักดิ์ สอนแจ้ง ภาควิชาสาธารณสุขชุมชน วิทยาลัยการสาธารณสุขสิรินธร จังหวัดชลบุรี

Keywords:

สุขภาพจิต, นักศึกษาสาธารณสุขชุมชน, mental health, community health, students

Abstract

บทคัดย่อ

 นักศึกษาสาธารณสุขชุมชน ซึ่งกำลังจะเป็นบุคลากรทางด้านสาธารณสุขในภายภาคหน้าทำหน้าที่ส่งเสริมและป้องกันโรค รวมทั้งดูแลสุขภาพชุมชน จำเป็นต้องเป็นผู้มีสุขภาพกายและจิตที่ดี ก่อนนี้พบว่าเคยมีนักศึกษาที่มีปัญหาสุขภาพจิตจะมีผลกระทบต่อการศึกษามาก  การวิจัยสภาวะสุขภาพจิตของนักศึกษาสาธารณสุขชุมชน ชลบุรี ครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อสำรวจสภาวะสุขภาพจิต  และปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับสภาวะสุขภาพจิตของนักศึกษาสาธารณสุขชุมชน ชั้นปีที่ 1 วิทยาลัยการสาธารณสุขสิรินธร จังหวัดชลบุรี    ประชากรที่ศึกษา คือ นักศึกษาหลักสูตรสาธารณสุขชุมชน ชั้นปีที่ 1 วิทยาลัยการสาธารณสุขสิรินธร จังหวัดชลบุรี  จำนวน 120 คน  เก็บข้อมูลโดยใช้แบบสอบถามปัจจัยส่วนบุคคล  และ แบบสอบถาม SCL-90  สถิติที่ใช้ คือ จำนวน  ร้อยละ และค่า Chi-Square (c2) ผลการศึกษาพบว่านักศึกษาส่วนใหญ่มีสภาวะสุขภาพจิตปกติ  เป็นเพศหญิง เพศและกลุ่มอายุไม่มีความสัมพันธ์กับสภาวะสุขภาพจิต  ส่วนปัจจัยด้านอาชีพของผู้รับผิดชอบค่าใช้จ่าย    สถานภาพของครอบครัว  การร่วมทำกิจกรรมเสริมหลักสูตร   ความสัมพันธ์กับเพื่อน บรรยากาศในครอบครัว   ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนชั้นม.6    มีความสัมพันธ์กับสภาวะสุขภาพจิตของนักศึกษสาธารณสุขชุมชนในด้านภาวะซึมเศร้า ความวิตกกังวล และความรู้สึกไม่เป็นมิตรที่ระดับ p<0.05 ข้อเสนอแนะ ควรมีการศึกษาเพื่อจัดทำโครงการส่งเสริมสุขภาพจิตในนักศึกษาสาธารณสุขชุมชน  เพื่อให้นักศึกษามีสภาวะสุขภาพจิตที่ดี อันจะนำไปสู่การดูแลสุขภาพของชุมชนได้ดีด้วย

Mental Health Conditions of  Community Health Students in Chonburi       

ABSTRACT

Community health students are being educated to be community health personnel with duties in health promotion, disease prevent  and community health care. Thus, they should have good physical and mental health. In the past, some students had mental health problems that impacted their studies. The purpose of this study is to survey mental health conditions among first year community health students regarding personal factors related to mental health conditions. The group surveyed was 120 first year students (100%). Instruments were a general and a SCL-90 questionnaire.  Data was analyzed using frequency, percentage, and Chi-Square (c2).  The results revealed that most students had normal mental health characteristics. Gender and age were not related to mental health condition. Parents’ occupation, family status, student activities, relationships with friends, family relationships and Gpax were related to depression, anxiety and sense of unfriendliness (p<0.05). Findings suggest that students should study mental health promotion as public health students so they have better mental health and can provide mental health services as a part of community health.

Downloads

Issue

Section

Original Articles