ระดับน้ำตาลสะสมในเลือด การเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมในการดูแลตนเอง และคุณภาพชีวิต ของผู้ป่วยเบาหวานชนิดที่ 2 ที่ใช้และไม่ใช้การตรวจระดับน้ำตาลในเลือดด้วยตนเองในชุมชนชนบท

Authors

  • สิริมา มงคลสัมฤทธิ์ คณะสาธารณสุขศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
  • เฮนอค นีกาส โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลท่ามะนาว จังหวัดลพบุรี
  • ยุพิน ดรชัย โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลท่ามะนาว จังหวัดลพบุรี
  • เพชร รอดอารีย์ คณะแพทยศาสตร์วชิรพยาบาล มหาวิทยาลัยนวมินทราธิราช

Keywords:

การควบคุมน้ำตาลในเลือดด้วยตนเอง, น้ำตาลสะสมในเลือด, เบาหวานชนิดที่ 2, คุณภาพชีวิต, การศึกษาติดตามไปข้างหน้าแบบสองทาง, Self-Monitoring Blood Glucose, HbA1c, Type 2 diabetes mellitus, Quality of life, Ambidirectional cohort study

Abstract

บทคัดย่อ

 การตรวจวัดระดับน้ำตาลในเลือดด้วยตนเองเป็นเครื่องมือสำหรับผู้ป่วยเบาหวานที่ต้องการควบคุมเบาหวานอย่างจริงจัง วัตถุประสงค์การศึกษาเพื่อเปรียบเทียบระดับน้ำตาลสะสมในเลือด การเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมในการดูแลตนเอง และคุณภาพชีวิตของผู้ป่วยเบาหวานชนิดที่ 2 ในชุมชนชนบทใช้รูปแบบการศึกษา Ambidirectional Cohort Study  ศึกษาในผู้ป่วยเบาหวานชนิดที่ 2 จำนวน 60 ราย เป็นผู้ที่ใช้การควบคุมน้ำตาลในเลือดด้วยตนเอง (Self-Monitoring Blood Glucose; SMBG)  30 ราย ทำการติดตามระดับน้ำตาลสะสมในเลือด ( HbA1c) จำนวน 3 ครั้ง แต่ละครั้งห่างกันทุก 3 เดือน และวัดคุณภาพชีวิตก่อนและหลังเข้าร่วมโครงการผลการศึกษาพบว่า ผู้ป่วยกลุ่ม SMBG มีการเปลี่ยนแปลงของ HbA1c ลดลงประมาณร้อยละ 0.3  ตามระยะเวลาที่ติดตามในทุก 3 เดือน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p = 0.018)  แต่ในผู้ป่วยกลุ่ม Non SMBG มี HbA1c เพิ่มขึ้น 0.3% แต่การเปลี่ยนแปลงของ HbA1c ตามระยะเวลาที่ติดตามในทุก 3 เดือน ไม่มีนัยสำคัญทางสถิติ (p = 0.067)  การเปลี่ยนแปลงคุณภาพชีวิตของผู้ที่ใช้ SMBG และ Non SMBG ในระดับดีที่สุดเพิ่มขึ้นร้อยละ 20 และร้อยละ 10 ตามลำดับ นอกจากนี้ความรุนแรงของเบาหวานตามการรับรู้ของผู้ป่วยในกลุ่ม SMBG  ลดลงร้อยละ 7  แต่เพิ่มขึ้นในกลุ่ม Non SMBG  ประมาณร้อยละ 3  และพบว่าพฤติกรรมที่เปลี่ยนแปลงมากที่สุดในผู้ป่วยที่ใช้ SMBG คือ ความสามารถในการควบคุมอาหาร  สรุปได้ว่า SMBG เป็นเครื่องมืออย่างหนึ่งที่ใช้ในการติดตามและควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดของผู้ป่วยเบาหวาน  กระตุ้นผู้ป่วยเบาหวานให้มีความตระหนักในการควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดด้วยตนเอง และผลที่ตามมา คือ มีการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมสุขภาพโดยมีการบริหารจัดการตนเองให้มีการควบคุม ดูแลสุขภาพให้มีคุณภาพชีวิตมากขึ้น    

HbA1c, Self-care’s Behavior Change and Quality of Life of Type 2 Diabetes Patient Who Used and Non-Used Self-Monitoring Blood Glucose in Rural Community

ABSTRACT


Self-monitoring blood glucose (SMBG) is a tool for diabetic patients who would like to practically control their blood glucose. The aim of this study was to comparative evaluation of HbA1c, Self-care’s behavior change and Quality of life of type 2 diabetes mellitus patients who used and non-used self-monitoring blood glucose in rural community. An ambidirectional cohort study design was conducted. Sixty participants of Type 2 diabetes mellitus divided into 2 groups, Thirty participants were used SMBG and thirty participants were not used SMBG. Every patient was followed up 3 times in every 3 months. Quality of life was evaluated at start and at the end of the project. The result found the change of HbA1c level in three month in SMBG group showed statistically significance (p = 0.018) and decreased 0.3%. In non SMBG group, HbA1c level increased 0.3% every 3 months, but there was no statistical significance (p = 0.067). Quality of life in SMBG and non SMBG groups in the best level increase 20% and 10%, respectively. Moreover, diabetes severity in patients’ perception of SMBG group decreased 7%, but increased 3% in non SMBG group. The highest change of health behavior in SMBG group was nutritional control. Conclusion, SMBG was a helpful tool for Type 2 diabetes mellitus patients, who concerned and cared their health to monitoring blood glucose at home. The health behavior change was upon the patients’ self-management.  

Downloads

Issue

Section

Original Articles