ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อพฤติกรรมการสูบบุหรี่ของผู้หญิงในชุมชนเมือง
Keywords:
ปัจจัยที่มีอิทธิพล, พฤติกรรมการสูบบุหรี่, ผู้หญิง, ชุมชนเมือง, influencing factors, smoking behavior, women, urban areasAbstract
บทคัดย่อ
การศึกษาเชิงสำรวจภาคตัดขวางนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อพฤติกรรมการสูบบุหรี่ของผู้หญิงอายุ 15 ปี ขึ้นไป โดยสุ่มตัวอย่างแบบแบ่งกลุ่มชั้นภูมิหลายขั้นตอนในพื้นที่เขตกรุงเทพมหานครและปริมณฑล เก็บรวบรวมข้อมูลจำนวน 400 คน ด้วยแบบสอบถามซึ่งผ่านการทดสอบความตรงตามเนื้อหาโดยผู้ทรงคุณวุฒิ 3 ท่าน วิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติไคสแควร์และความเสี่ยงสัมพัทธ์ ผลการศึกษาพบว่า จำนวนผู้หญิงที่สูบบุหรี่ เคยสูบบุหรี่ และไม่เคยสูบบุหรี่ มีร้อยละ 27, 8 และ 65 ตามลำดับ ส่วนใหญ่ร้อยละ 42.6 มีอายุระหว่าง 19–24 ปี อายุเริ่มสูบต่ำสุด คือ 11ปี เริ่มสูบบุหรี่เพราะอยากลอง สูบบุหรี่วันละ 6–10 มวน สูบมานาน 5–10 ปี ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อพฤติกรรมการสูบบุหรี่ของผู้หญิง พบว่า การมีเพื่อนสนิทและสมาชิกในครอบครัวสูบบุหรี่มีอิทธิพลต่อการสูบบุหรี่สูงถึง 15 เท่า และ 3.5 เท่า ตามลำดับการเห็นโฆษณาและส่งเสริมการขายของบริษัทบุหรี่มีอิทธิพลต่อการสูบบุหรี่ 3 เท่า การมีทัศนคติเชิงบวกต่อการสูบบุหรี่มีอิทธิพลต่อการสูบบุหรี่สูงถึง 26 เท่า นอกจากนี้ปัจจัยด้านเศรษฐกิจและสังคม เช่น ระดับการศึกษาและรายได้ของครอบครัวต่ำมีอิทธิพลต่อการสูบบุหรี่ 5 เท่า สิ่งที่น่าสนใจคือ ความรู้เกี่ยวกับอันตรายจากการสูบบุหรี่ไม่มีความแตกต่างระหว่างผู้หญิงที่สูบและไม่สูบบุหรี่ ผลการศึกษานี้เรียกร้องให้หน่วยงานที่รับผิดชอบด้านการบังคับใช้กฎหมายในด้านโฆษณาและส่งเสริมการขาย ควรหมั่นตรวจตราเพื่อไม่ให้เกิดการละเมิดกฎหมายควบคุมยาสูบโดยเฉพาะเด็กอายุต่ำกว่า 18 ปีอย่างเคร่งครัด อีกทั้งสถาบันการศึกษาและครอบครัวต้องช่วยพัฒนาทักษะชีวิตให้ห่างไกลจากการสูบบุหรี่
Factors Influencing Smoking Behavior among Women in Urban Areas
ABSTRACT
This cross-sectional survey aimed to identify factors influencing smoking behavior among women aged 15 years and over. Questionnaires were completed by 400 women selected from varies geographic areas in Bangkok and adjacent provinces, Thailand. Content validity and language accuracy of the instruments were approved by three experts. Factors that influence smoking behavior were examined using Chi-square and Odds Ratio (OR) statistical analysis. Prevalence of current, former and never smokers was 27%, 8% and 65% respectively. The highest rate of smoking was in women aged 19 – 24 years (42.6%). The youngest age of smoking initiation was 11 years. Among the environmental factors, having close friends (OR = 15) and parents (OR = 3.5) who smoke cigarettes was significantly associated with smoking behavior. Moreover, seeing advertising and marketing promotion by cigarette companies increased the risk of smoking 3 fold. Having a positive opinion of smoking increased the risk of smoking 26 fold. Moreover, lower education level and income of parents increased the risk of smoking 5 fold. Interestingly, perceived smoking harm was not different between women smokers and non-smokers. Identifying the factors associated with smoking behavior may help in the design of interventions to decrease the prevalence of smoking by women. The results point to the need for law enforcers to monitor and strictly enforce tobacco control laws, especially in youth. In addition, educational and family institutions should actively discourage and smoking denormalize by girl and women.
Downloads
Issue
Section
License
Creative Commons License CC-BY-ND