ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับความสามารถในการทำงานของผู้สูงอายุในเขตเทศบาลเมืองแสนสุข จังหวัดชลบุรี

Authors

  • ทนงศักดิ์ ยิ่งรัตนสุข คณะสาธารณสุขศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา
  • ภาณุวัฒน์ เชิดเกียรติกูล คณะสาธารณสุขศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา
  • อนามัย เทศกะทึก คณะสาธารณสุขศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา
  • สุวิชัย โกศัยยะวัฒน์ คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา

Keywords:

ความสามารถในการทำงาน, ผู้สูงอายุ, อาชีพ, workability, elderly, occupation

Abstract

บทคัดย่อ

งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างปัจจัยส่วนบุคคล อาชีพ ชั่วโมงการทำงาน จำนวนวันที่ทำงาน และรายได้ กับความสามารถในการทำงานของผู้สูงอายุในเขตเทศบาลเมืองแสนสุข อำเภอเมือง จังหวัดชลบุรี เก็บข้อมูลโดยการสัมภาษณ์ด้วยแบบสอบถาม กลุ่มตัวอย่างคือ ผู้สูงอายุที่จดทะเบียนรับเบี้ยยังชีพกับเทศบาลเมืองแสนสุข ณ วันที่ 1 มิถุนายน 2556 จำนวน 385 คน วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้ จำนวน ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน สถิติสหสัมพันธ์ของเพียร์สันและสถิติไคสแคว์ ผลการวิจัยพบว่า กลุ่มตัวอย่างมีความสามารถในการทำงานระดับปานกลาง ร้อยละ 46.65 ระดับดี ร้อยละ 34.40 ระดับไม่ดี ร้อยละ 9.91 และระดับดีเลิศ ร้อยละ9.04  ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับความสามารถในการทำงาน ได้แก่ อายุ จำนวนโรคที่เป็น ชั่วโมงการทำงาน และรายได้  สำหรับ เพศ สถานภาพสมรส ระดับการศึกษา และงานที่ทำในปัจจุบัน ไม่มีความสัมพันธ์กับความสามารถในการทำงาน จึงมีข้อเสนอแนะว่า ควรให้การสนับสนุนด้านการส่งเสริมสุขภาพแก่ผู้สูงอายุที่มีโรคประจำตัว และส่งเสริมให้มีรายได้เพิ่มขึ้น เพื่อเพิ่มระดับความสามารถในการทำงานของผู้สูงอายุ 

Factors Related to Workability among the Elderly in Saensuk Municipality,

Chon Buri Province

ABSTRACT


This research aims to study the relationship between personal characteristics, type of jobs, working hours, the number of days worked and Workability among the elderly in Saensuk municipality, Muang District, Chon Buri Province. Data were collected by interviewing 385 senior citizens who are registered to receive pension with the Municipal Office as of June 1, 2556. Statistical analysis was performed using percentages, means, standard deviations, correlation and Chi-square test. The results of workability index indicated that 46.65 per cent was at the moderate level, 34.40 percent was at a good level, 9.91 was at poor level, and 9.04 was at excellent level. Factors related to workability including age, income, number of hours worked, and the number of diseases inflicted. Gender, marital status, and educational level were not related to Workability. The authors suggest health promotion should be supported for the elderly with chronic diseases, and to support ways to increase income to enhance workability among the elderly. 

Downloads

Issue

Section

Original Articles