การศึกษาความสัมพันธ์เชิงสาเหตุของความเครียดจากการประกอบอาชีพของ พนักงานมหาวิทยาลัยสายวิชาการเพศหญิง

Authors

  • ชลธิชา แก้วอนุชิต ภาควิชาวิทยาศาสตร์ประยุกต์ คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยราชภัฏพระนครศรีอยุธยา
  • อธิบ โพทอง ภาควิชาวิทยาศาสตร์ คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยราชภัฏพระนครศรีอยุธยา

Keywords:

ความสัมพันธ์เชิงสาเหตุ, ความเครียดจากการประกอบอาชีพ, พนักงานมหาวิทยาลัยสายวิชาการเพศหญิง, Causal relationship, Occupational stress, Female Academic university employees

Abstract

บทคัดย่อ

ความเครียดจากการประกอบอาชีพเป็นมิติด้านชีวจิตสังคมของแนวคิดอาชีวอนามัยที่สำคัญยิ่งในวงการด้านการแพทย์และสาธารณสุข  วัตถุประสงค์การวิจัยสำรวจแบบตัดขวางนี้เพื่อศึกษาความสัมพันธ์เชิงสาเหตุของตัวแปรที่ส่งผลต่อความเครียดของพนักงานมหาวิทยาลัยสายวิชาการเพศหญิงจำนวน 2,000 คนได้แก่ ปัจจัยด้านครอบครัว (เช่น แรงสนับสนุนจากครอบครัว) ปัจจัยด้านสังคมและสภาพแวดล้อม (เช่น เงื่อนไขและสภาพแวดล้อมจากการทำงาน) และปัจจัยด้านบุคคล (เช่น เพศ อายุการปฏิบัติงาน และค่าจ้าง เป็นต้น) โดยใช้การสุ่มตัวอย่างแบบชั้นภูมิ ตัวแปรทั่วไปวิเคราะห์ด้วยจำนวน ร้อยละ ตัวแปรความเครียด และตัวแปรแรงสนับสนุนจากครอบครัวใช้แบบวัดความเครียดสวนปรุง และแบบสอบถามแรงสนับสนุนของครอบครัวตามลำดับ โดยวิเคราะห์หาค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ค่าต่ำสุด ค่าสูงสุด ความเบ้ ความโด่ง (โปรแกรม SPSS) ตลอดจนวิเคราะห์ความสัมพันธ์เชิงสาเหตุของความเครียดพนักงานมหาวิทยาลัยเพศหญิง โดยใช้ โปรแกรม M-plus รุ่น 5.2  ผลของการศึกษา พบว่า เงื่อนไขและสภาพแวดล้อมจากการทำงาน และค่าจ้าง เป็นปัจจัยเชิงสาเหตุภายนอกที่มีอิทธิพลทางตรงต่อความเครียดของพนักงานมหาวิทยาลัยสายวิชาการเพศหญิง สำหรับตัวแปรอายุการปฏิบัติงานและแรงสนับสนุนจากครอบครัวนั้นเป็นปัจจัยเชิงสาเหตุภายในที่มีอิทธิพลทางตรงต่อความเครียดจากการประกอบอาชีพ ดังนั้นการศึกษาในอนาคตควรศึกษาโมเดลสมการโครงสร้างและการวิจัยเชิงคุณภาพต่อไป

A Study of Causal Relationship of Occupational Stress among Female Academic University Employees 

ABSTRACT

Occupational stress is an important bio-psychosocial dimension of occupational health in medicine and public health. The objective of this cross-sectional survey research was to study relationships which influence occupational stress among female academic university employees. These variables were family factors (for example, family support), social and environment variables (job and environmental conditions), and individual factors(sex, periods of duty, and wage).  The study used stratified random sampling to select 2,000 female academic university employees. General data were analyzed by number and percentages.  Stress and family support were measured by the Suanprung Stress Test, and the family APGAR questionnaire, respectively. The later were represented using mean, S.D., min., max., skewedness, kurtosis (SPSS program), and analyzed for possible causal relationship for stress using the M-plus 5.2 program. Results show that job and environmental conditions and wages were exogenous causal variables. They had a direct relationship with stress among femaleacademic university employees. Periods of duty and family support were endogenous causal variables which had a direct effect on occupational stress. Job and environmental conditionshad a direct exogenous relationship on occupational stress. Results suggest that future study should include structural equation modeling and qualitative research. 


Downloads

Issue

Section

Original Articles