ผลของกระบวนการฝึกอบรมตามโมเดล MapHR เพื่อการสร้างเสริมสุขภาวะ ในองค์กรภาคเอกชน

Authors

  • ขวัญเมือง แก้วดำเกิง ภาควิชาสุขศึกษาและพฤติกรรมศาสตร์ คณะสาธารณสุขศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล
  • จำเนียร ชุณหโสภาค สถาบันวิจัยและพัฒนา มหาวิทยาลัยรามคำแหง

Keywords:

องค์กรแห่งความสุข, กระบวนการอบรม MapHR, องค์กรภาคเอกชน, happy workplace, MapHR training program, private organization

Abstract

บทคัดย่อ

การศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนาและศึกษาผลของกระบวนการฝึกอบรมเพื่อการสร้างเสริมสุขภาวะในองค์กรภาคเอกชน โดยการประยุกต์ใช้ MapHR ใช้รูปแบบการวิจัยกึ่งทดลอง กลุ่มตัวอย่างได้แก่ นักพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ในสถานประกอบการภาคเอกชน รวมจำนวน 175 คนจาก 85 องค์กรโปรแกรมการฝึกอบรม แบ่งเป็น 3 ระยะ คือ ระยะเตรียมการ ระยะฝึกอบรม และระยะติดตามผล เครื่องมือที่ใช้ ได้แก่ (1) แบบตรวจสอบสุขภาวะระดับองค์กร และ (2) แบบประเมินศักยภาพการสร้างกระบวนการสร้างสุขในองค์กร 4 ด้าน ผลการศึกษาพบว่า กลุ่มตัวอย่างมีแนวคิดการสร้างองค์กรแห่งความสุข เกิดความรู้ความเข้าใจในการตรวจสอบสุขภาวะองค์กร และการออกแบบกระบวนการสร้างสุขในองค์กร มีการแสดงความเป็นผู้นำในการสร้างสุข มีศักยภาพในการแลกเปลี่ยนเรียนรู้สูงขึ้นเมื่อเปรียบเทียบกับช่วงก่อนเข้ารับการฝึกอบรมอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p <0.001, p <0.001, p <0.05, p <0.01 ตามลำดับ) และการติดตามพฤติกรรมการสร้างสุขในองค์กร พบว่า กลุ่มตัวอย่างสามารถสร้างการเปลี่ยนแปลงของปัจจัยการสร้างสุขภายในองค์กรในด้านต่าง ๆ ได้แก่ บรรยากาศและสภาพแวดล้อม กระบวนการสร้างสุขในองค์กร สุขภาพกายและสุขภาพใจของพนักงาน ส่วนปัจจัยด้านระบบการจัดการ และผลลัพธ์ขององค์กร พบว่า มีการเปลี่ยนแปลงอย่างไม่มีนัยสำคัญทางสถิติ ผลจากการศึกษา ควรมีระบบการติดตามสนับสนุนผู้เข้ารับการอบรมอย่างต่อเนื่องเพื่อให้เกิดการปรับปรุงกระบวนการสร้างสุขในองค์กรที่มีประสิทธิภาพส่งผลต่อการพัฒนาปัจจัยที่มีความสำคัญต่อการสร้างให้เกิดความสุขของบุคลากรในองค์กรต่อไป

Effects of a MapHR Training Program on Promoting Happiness in Private Organizations

ABSTRACT

This quasi-experimental research aims to develop a training program adopting the MapHR model and evaluate its effects on the promotion of happiness in private organizations in Thailand. The sample was comprised of 175 human resources development (HRD) staff from 85 organizations. The implementation of the training program was carried out in three stages, namely preparation, training, and follow-up. The research instruments were the Happy Workplace Index checklist and a questionnaire for evaluating the creation of happiness promotion processes covering four aspects. Mean scores were significantly higher in all four happiness areas after the implementation of the program (p < 0.001, p < 0.001, p < 0.05, and p < 0.01). A follow-up also suggested that the participants were able to embrace the factors leading to happy workplaces, including workplace atmosphere and environments, happiness promotion processes, and physical and mental health. On the other hand, the findings on happy workplace management and organizational results show no statistically significant improvement. The support system should follow participants after the training program in order to continually improve the process and its effects promoting factors leading to personal happiness in the workplace.


Downloads

Issue

Section

Original Articles