ความชุกและปัจจัยของความซึมเศร้าในเด็กวัยรุ่นตอนปลาย: ศึกษาเฉพาะนักศึกษาวิทยาลัยเทคนิคศรีสะเกษ
Keywords:
ภาวะซึมเศร้า, วัยรุ่นตอนปลาย, CES-D, วิทยาลัยเทคนิค, depression, older adolescents, technical collegeAbstract
บทคัดย่อ
ภาวะซึมเศร้าเป็นภาวะที่พบได้บ่อยในเด็กและวัยรุ่น ส่งผลเสียต่อพัฒนาการและการเจริญเติบโต การเรียน รวมถึงความสัมพันธ์กับเพื่อนและคนในครอบครัวและอาจทำร้ายตนเองจนเสียชีวิตได้ ดังนั้นจึงได้ศึกษาภาวะความซึมเศร้าของเด็กวัยรุ่นตอนปลาย ซึ่งเป็นนักศึกษาในวิทยาลัยเทคนิคศรีสะเกษ จำนวนตัวอย่างเป็น 317 คน และมีอายุ 18-24 ปี กลุ่มตัวอย่างนี้เป็นตัวแทนของนักศึกษาหลักสูตรประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูง วิทยาลัยเทคนิคศรีสะเกษ พ.ศ. 2558 เครื่องมือที่ใช้วัดภาวะซึมเศร้าคือ แบบทดสอบ CES-D (The Center for Epidemiologic Studies Depression Scale) มีค่าความเชื่อมั่น 0.86 โดยใช้เกณฑ์ตัดสินของคะแนน CES-D ตั้งแต่ 16 ขึ้นไปเป็นผู้มีภาวะซึมเศร้า ได้ความชุกของความซึมเศร้าในนักศึกษาวิทยาลัยเทคนิคศรีสะเกษเป็นร้อยละ 53.5 ปัจจัยที่สามารถทำนายภาวะซึมเศร้าอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ คือ ปัจจัยทางด้านตัวตน ด้านสัมพันธภาพทางเพศ ด้านครอบครัวและด้านสังคมประชากร จากผลการศึกษาที่ได้เสนอแนะให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องควรให้ความสนใจด้านตัวตนของนักศึกษา และจัดให้มีคลินิกให้คำปรึกษา
Prevalence of Depression and its Association in Late Adolescence: a Case Study in Sisaket Technical College
ABSTRACT
Depression is prevalently observed in children and adolescents, affecting the physical and mental development, education ability and relationships with friends and families, and in some cases, it can lead to suicide. This study focused on depression among older adolescents and was conducted in a sample of 317 students of Sisaket Technical College aged 18 - 24 years in 2015. The sample group represented vocational education students of the year 2015 High Vocation Certificate Degree Program. The study adopted a Center for Epidemiologic Studies Depression Scale (CES-D) tool as a measure of depression. The tool contained 0.86 reliability. Based on a cut-off point score of CES-D at 16 or greater for depression signs, the prevalence of depression among these students was 53.5%. The statistical analysis further showed that identity, sexual relationship, family and socio-demographic background were significant factors for predicting depression level of the sample students. The study recommended involved departments/units of the college should pay more attention to student’s identity and counseling services should be strengthened for students in need.
Downloads
Issue
Section
License
Creative Commons License CC-BY-ND