การทบทวนวรรณกรรมเรื่องมาตรการจำกัดการเข้าถึงบุหรี่ของเยาวชน

Authors

  • จักรพันธ์ เพ็ชรภูมิ ภาควิชาอนามัยชุมชน คณะสาธารณสุขศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเรศวร
  • ปิยะรัตน์ นิ่มพิทักษ์พงศ์ ภาควิชาเภสัชกรรมปฏิบัติ คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเรศวร

Keywords:

บุหรี่, การจำกัดการเข้าถึงบุหรี่, เยาวชน, tobacco, limitation of access to tobacco, youths

Abstract

บทคัดย่อ

การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษามาตรการจำกัดการเข้าถึงบุหรี่ของเยาวชนที่มีประสิทธิผล โดยการทบทวนวรรณกรรมจากงานวิจัยที่เกี่ยวข้องที่มีการตีพิมพ์เผยแพร่ไว้ในฐานข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์ระหว่าง ปี พ.ศ. 2532 ถึง ปี พ.ศ. 2557 ผลการวิจัยพบว่า มาตรการจำกัดการเข้าถึงบุหรี่ของเยาวชนที่มีประสิทธิผลประกอบด้วย 5 กลวิธี คือ 1) กลวิธีการให้ความรู้ 2) กลวิธีการบังคับใช้กฎหมายที่ครอบคลุมตั้งแต่การออกข้อบัญญัติที่รอบด้าน การควบคุมใบอนุญาตจำหน่ายบุหรี่ การสุ่มตรวจการปฏิบัติตามกฎหมายของผู้จำหน่ายบุหรี่ การล่อซื้อบุหรี่โดยเยาวชน และการลงโทษผู้กระทำผิดด้วยการตักเตือน ปรับ ยึดใบอนุญาตชั่วคราว และฟ้องร้องดำเนินคดี 3) กลวิธีการใช้สื่อสาธารณะทางลบด้วยการเผยแพร่รายชื่อของผู้ละเมิดกฎหมาย 4) กลวิธีการเสริมแรงทางบวกและการเตือนความจำ และ5) กลวิธีแบบผสมผสานร่วมกับการมีส่วนร่วมของชุมชนที่ได้รับการยอมรับว่าเป็นกลวิธีที่มีประสิทธิผลและมีความยั่งยืนสูงสุด ดังนั้นจึงควรมีการทบทวนและพัฒนามาตรการจำกัดการเข้าถึงบุหรี่ของเยาวชนของประเทศไทยให้ครอบคลุมทั้ง 5 กลวิธีเพื่อเพิ่มประสิทธิผลของมาตรการจำกัดการเข้าถึงบุหรี่ของเยาวชน

A Literature Review of Measures to Limit the Access to Tobacco by Youths

ABSTRACT


The objective of this research was to review the literature on effective measures to limit the access and availability of tobacco by youths. The data were gathered from an electronic database produced and publicized between 1990 and 2014.  Research findings revealed that the effective measures to limit access and availability to tobacco by youth included  1) method for education, 2) method for law enforcement such as legislative provision, control licensing of tobacco retailers, i.e., randomly check store legal compliance, attempting to buy tobacco by youths for the legal compliance and punish those who do wrong through reprimands by collecting fines and revoking licenses temporarily, and sue in the court of law, 3) method for use media by publicizing the name list of those who have violated the laws, 4) method for positive reinforcement through written reminder, and 5) integrated methods through community participation which are effective and sustainable strategies for limiting access and availability to tobacco by youths. Therefore, Thailand should review and develop measures to limit youth access to tobacco to cover the five methods to increase the effectiveness of measures to limit youths access to tobacco.

 

Downloads

Issue

Section

Original Articles