การทบทวนวรรณกรรมเรื่องประสิทธิผลของการให้บริการช่วยเลิกบุหรี่ในผู้ป่วยโรคเรื้อรัง

Authors

  • สุนิดา ปรีชาวงษ์ คณะพยาบาลศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
  • ฟอระดี นุชส่งสิน ศูนย์วิจัยและจัดการความรู้เพื่อการควบคุมยาสูบ มหาวิทยาลัยมหิดล
  • ศิริวรรณ พิทยรังสฤษฏ์ สำนักพัฒนานโยบายสุขภาพระหว่างประเทศ กระทรวงสาธารณสุข

Keywords:

ประสิทธิผล, เลิกบุหรี่, ผู้ป่วยโรคเรื้อรัง, effectiveness, smoking cessation, chronic diseases

Abstract

บทคัดย่อ

การให้ความช่วยเหลือเพื่อให้เลิกยาสูบเป็นยุทธศาสตร์หนึ่งที่สำคัญในการควบคุมยาสูบ สำหรับผู้ที่มีโรคเรื้อรัง การเลิกสูบบุหรี่ช่วยลดภาวะแทรกซ้อนและการเสียชีวิต การทบทวนงานวิจัยอย่างเป็นระบบเรื่องนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อนำเสนอบทเรียนจากต่างประเทศเกี่ยวกับการให้บริการเลิกบุหรี่แก่ผู้ป่วยโรคเรื้อรัง อาทิ โรคหัวใจและหลอดเลือด เบาหวาน โรคถุงลมโป่งพอง โดยใช้วิธีการทบทวนวรรณกรรมอย่างเป็นระบบ ศึกษางานวิจัยที่เกี่ยวข้องกับการเลิกสูบบุหรี่เฉพาะที่เป็นการทบทวนวรรณกรรมอย่างเป็นระบบ (Systematic review) และงานวิจัยที่เป็นการทบทวนวรรณกรรม (Literature review) จากฐานข้อมูลต่างๆ ตั้งแต่ปี ค.ศ. 2001 – 2014 จากการสืบค้นพบหลักฐานจำนวนทั้งหมด 7 เรื่อง พบหลักฐานเชิงประจักษ์แสดงถึงประสิทธิผลของการให้บริการเลิกสูบบุหรี่ในผู้ที่มีโรคเรื้อรังที่สอดคล้องกันกล่าวคือ การให้คำปรึกษาอย่างเข้มเพียงอย่างเดียว หรือร่วมกับการใช้ยาหรือผลิตภัณฑ์นิโคตินทดแทนจะให้ผลการรักษาที่ดีกว่าเมื่อเปรียบเทียบกับการดูแลแบบปกติ ในขณะเดียวกันการบำบัดโรคติดบุหรี่สำหรับผู้ที่มีโรคเรื้อรังควรมีระยะเวลานานกว่าหนึ่งเดือนและควรมีการติดตามอย่างน้อยหนึ่งครั้ง

Reviews on Effectiveness of Smoking Cessation Interventions among Patients with Chronic Diseases

ABSTRACT


Tobacco cessation is considered an effective component in tobacco control.  For smokers with chronic diseases, quitting smoking helps reduce complications and mortality rate. The purpose of this ‘review of systematic reviews’ was to present the evidence from international research regarding smoking cessation for smokers with chronic diseases (i.e., coronary heart disease, and chronic obstructive pulmonary disease). The PubMed and Cochrane databases were searched, limited to publications from 2001 – 2014.  Seven studies met the inclusion criteria. Evidence of the effectiveness for the following strategies was found:  intensive smoking cessation interventions with and without pharmacotherapies (or nicotine replacement therapy) were more effective when compared with usual care.  In addition, the duration of smoking cessation counseling for smokers with chronic diseases should be longer than one month and at least one follow-up support should be offered.

 

Downloads

Issue

Section

Original Articles