การนำแนวคิด LEAN มาใช้เพิ่มประสิทธิภาพการบริการในคลินิกเบาหวาน ของ ศูนย์บริการสาธารณสุข 67 ทวีวัฒนา สำนักอนามัย กรุงเทพมหานคร

Authors

  • สุธี สฤษฎิ์ศิริ ศูนย์บริการสาธารณสุข 67 ทวีวัฒนา สำนักอนามัย กรุงเทพมหานคร

Keywords:

LEAN, คลินิกเบาหวาน, การเพิ่มประสิทธิภาพบริการ, diabetes clinic, increased efficiency service

Abstract

บทคัดย่อ

การศึกษาครั้งนี้เป็นการศึกษาเชิงพรรณนา วัตถุประสงค์เพื่อศึกษาการเพิ่มประสิทธิภาพการบริการด้วยแนวคิด LEANในคลินิกเบาหวาน ระยะเวลาดำเนินการ 1ปี (กุมภาพันธ์ 2555 ถึง มีนาคม 2556)  สรุปผลโดยการเปรียบเทียบก่อนและหลัง สถิติที่ใช้คือ ค่าเฉลี่ย ร้อยละ และunpaired t-test  ผลการศึกษาหลังจากนำแนวคิด LEAN มาใช้ พบว่าประสิทธิภาพการบริการเพิ่มขึ้นร้อยละ 32.6 จำนวนจุดให้บริการมี 8 จุดเท่าเดิม (กดบัตรคิว, ค้นบัตร, เจาะเลือด, เตรียมตรวจ, พบแพทย์, ให้คำปรึกษา, การเงินและรับยา) ขั้นตอนการรับบริการลดลงร้อยละ 11.1 ระยะเวลาที่ใช้ลดลงร้อยละ 55.9  ระยะทางที่ใช้ลดลงร้อยละ 30.6 ระดับความพึงพอใจระดับมากถึงมากที่สุดของผู้รับบริการเพิ่มขึ้นร้อยละ 8.5 โดยด้านความสะดวก รวดเร็วในการรับบริการมีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p < 0.001) ระดับความพึงพอใจระดับมากถึงมากที่สุดของผู้ให้บริการเพิ่มขึ้นร้อยละ 10.7 ผลการศึกษาแสดงให้เห็นว่าการนำแนวคิด LEAN มาประยุกต์ใช้โดยการกำหนดคุณค่าในแต่ละขั้นตอน การบริการและกำจัดขั้นตอนที่สูญเปล่า เช่น ลดเวลาหน้างานโดยเตรียมเวชระเบียนล่วงหน้า แบ่งพื้นที่เป็นสัดส่วนเฉพาะสำหรับคลินิกเบาหวานแยกจากคลินิกตรวจโรคทั่วไป ลดการแก้ไขข้อผิดพลาดโดยพิมพ์ชนิดและจำนวนยาครั้งล่าสุดในใบสั่งยา การกำหนดระยะเวลาและวันนัดหมายผู้ป่วย เป็นต้น สิ่งเหล่านี้สามารถเพิ่มประสิทธิภาพการบริการในคลินิกเบาหวานได้ 

Using LEAN concept to increase efficiency service in Diabetic Clinic, Public Health Center, 67 Taweewatthana

ABSTRACT

This research was a descriptive study. The purpose was to enhance efficient services with LEAN concepts in Diabetic Clinic over a one-year period (February 2012 to March 2013). The results were summarized by comparing pre- and postLEAN training. The statistics used were mean, percentage and unpaired t-test. Study results after using LEAN concepts found services efficiency increased 32.6%, a total of 8 service points from the original, i.e., queue, search record, drawing blood, screening, doctor room, counseling, finance and taking medicine). Service procedures were reduced 11.1 %, the average time of service decreased 55.9 %, the distance of service was reduced 30.6% and the satisfaction of diabetic patients increased from high to the highest level, 8.5%. Convenience of services improved with significance (p < 0.001) and satisfaction increased from high to the highest level as most of the personnel increased 10.7%. Study results showed that LEAN concepts were applied by setting the value at each step. The services improved by eliminating steps that wasted time, such as a reduced time by preparing medical records in advance, breaking up space proportion in the Diabetic Clinic and separating from the general clinic. Typing errors were reduced as well as the number of drug prescription in recent times to determine the duration of  appointment dates and patients, etc. These actions could improve the efficiency of Diabetic Clinic services.


Downloads

Issue

Section

Original Articles