โรคเรื้อรัง การสูญเสียฟัน และคุณภาพชีวิตของผู้สูงอายุ ตำบลเมืองเก่า อำเภอเมือง จังหวัดสุโขทัย

Authors

  • ภรภัทร์ ดอกไม้ สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดสุโขทัย จังหวัดสุโขทัย
  • สุคนธา ศิริ ภาควิชาระบาดวิทยา คณะสาธารณสุขศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล
  • กุลยา นาคสวัสดิ์ ภาควิชาระบาดวิทยา คณะสาธารณสุขศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล

Keywords:

คุณภาพชีวิต, ผู้สูงอายุ, โรคเรื้อรัง, การสูญเสียฟัน, quality of life, elderly, chronic diseases, teeth loss

Abstract

บทคัดย่อ

ประเทศไทยมีลักษณะทางประชากรที่เป็นสังคมผู้สูงอายุ   พบได้ว่า ผู้สูงอายุมักจะมีปัจจัยเสี่ยงทางพฤติกรรมที่ก่อให้เกิดโรคเรื้อรังสะสมมานานตั้งแต่วัยหนุ่มสาว โดยโรคเรื้อรังจะมีผลกระทบต่อคุณภาพชีวิตในวัยสูงอายุ  การศึกษานี้มีวัตถุประสงค์ที่จะศึกษาบทบาทของโรคเรื้อรังและสภาวะช่องปากที่มีผลต่อคุณภาพชีวิตของผู้สูงอายุในจังหวัดสุโขทัยในภาคเหนือตอนล่างของประเทศไทย จำนวน 260 คน โดยใช้แบบสอบถามคุณภาพชีวิต SF-36 ฉบับภาษาไทย เก็บรวบรวมข้อมูลโดยการสัมภาษณ์ระหว่างเดือนมกราคม ถึงเดือนมีนาคม 2556 ผลการศึกษาพบว่า ผู้สูงอายุกลุ่มนี้มีอายุเฉลี่ย 68.15+11.58 ปี มีความชุกของโรคความดันโลหิตสูงร้อยละ 57.0  และมีผู้ที่มีฟันแท้ที่ใช้งานได้มากกว่า 20 ซี่ร้อยละ 29.4  พบคะแนนเฉลี่ยคุณภาพชีวิตด้านร่างกาย ซึ่งต้องปรับปรุง (48.53+11.33) และด้านจิตใจถือว่าอยู่ในระดับดี (60.18+1.72) ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์ที่ทำให้คุณภาพชีวิตด้านร่างกายที่ลดลงได้แก่ อายุที่เพิ่มขึ้น  ปัจจัยที่มีผลทำให้คุณภาพชีวิตของผู้สูงอายุทั้งด้านร่างกายและด้านจิตใจลดลงได้แก่ การมีโรคไขข้ออักเสบ  ปัจจัยที่ทำให้คุณภาพชีวิตด้านจิตใจดีได้แก่ จำนวนซี่ของการใส่ฟันปลอม  การส่งเสริมสุขภาพในชุมชนสำหรับผู้สูงอายุควรมุ่งเน้นที่การลดอาการและภาระโรคเรื้อรัง เพื่อให้ผู้สูงอายุมีสุขภาพร่างกายและจิตใจที่ดี และมีชีวิตที่มีความสุข 

Chronic Diseases, Tooth Loss and Quality of Life among Elderly in Muangkao Sub-district Municipality, Muang District , Sukhothai Province, Thailand

ABSTRACT

Thailand is now facing ageing society.  Elderly usually have chronic diseases that affect  quality of life.   This cross sectional study aimed to determine prevalence and relationships between each chronic disease and quality of life among 260 elderly in Sukothat province in lower northern part of Thailand.  SF-36 Thai version of questionnaire was used to interview elderly from  January to March 2013.  These group of elderly had mean age 68.15+11.58 years, prevalence of hypertension 57.0%, persons who had remaining functional teeth more than 20  was  29.4%.  Means of  score in  physical health indicated need for improvement  (48.53+11.33), while mental health was in good level (60.18+1.72).    Factors related to decreasing of means of  score of physical health and mental health was having arthritis. While increasing of age decreased physical health, increasing of number of false teeth could increase mean of score of mental health. To maximize the health and functional capacity of older people by community health promotion activities as well as their social participation should be promoted.


Downloads

Issue

Section

Original Articles