ความชุกและปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับอาการปวดเมื่อยกล้ามเนื้อของกลุ่มผู้ใช้คอมพิวเตอร์โน้ตบุ๊ก กรณีศึกษา นักศึกษาวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตหาดใหญ่

Authors

  • กลางเดือน โพชนา ภาควิชาวิศวกรรมอุตสาหการ คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์
  • องุ่น สังขพงศ์ ภาควิชาวิศวกรรมอุตสาหการ คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์

Keywords:

ความชุก, อาการปวดเมื่อยกล้ามเนื้อ, ผู้ใช้คอมพิวเตอร์โน้ตบุ๊ก, prevalence, musculoskeletal disorders, notebook computer users

Abstract

บทคัดย่อ

งานวิจัยเชิงวิเคราะห์แบบภาคตัดขวางนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อหาความชุกของอาการปวดเมื่อยกล้ามเนื้อ (MSDs) และวิเคราะห์ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับอาการMSDsของกลุ่มผู้ใช้คอมพิวเตอร์โน้ตบุ๊ก โดยการสัมภาษณ์นักศึกษาวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ 316 คน เกี่ยวกับข้อมูลปัจจัยส่วนบุคคล ลักษณะการใช้งาน และอาการปวดเมื่อยกล้ามเนื้อจากนั้นวิเคราะห์ความสัมพันธ์โดยวิธี Chi-Square และ Odds ratioผลการศึกษาพบว่ากลุ่มตัวอย่างเป็นเพศชายร้อยละ 69 และเพศหญิงร้อยละ 31 อายุ 20.7±0.95ปี ส่วนสูง 168.4±8.2 ซม. น้ำหนัก 61.5±11.9 กก. ส่วนใหญ่ใช้คอมพิวเตอร์โน้ตบุ๊กในช่วงเวลากลางคืน (ร้อยละ 92.4) ระหว่างการใช้งานไม่ใช้แป้นพิมพ์ต่อพ่วง (ร้อยละ 66.5) ไม่ใช้ที่พักเท้า(ร้อยละ 86.1) และ ไม่ใช้ที่รองข้อมือ (ร้อยละ 58.5) อย่างไรก็ตามพบว่าส่วนใหญ่ใช้เม้าส์ต่อพ่วงภายนอก (ร้อยละ 75.6)กลุ่มตัวอย่างร้อยละ 58.5 มีอาการปวดเมื่อยบางส่วนของร่างกาย โดยพบว่ามีอาการปวดเมื่อยมากที่สุด 3 ลำดับแรก ได้แก่  คอ (52.2%, 95% CI: 46.8-57.8), หลังส่วนล่าง (39.9%, 95% CI: 34.5-45.3) และ ไหล่ (32.6%, 95% CI: 27.5-37.8) ผลของการศึกษาพบว่า ปัจจัย เพศ ช่วงเวลาที่ใช้งาน การใช้อุปกรณ์ต่อพ่วงภายนอก และ ขนาดของหน้าจอมีความสัมพันธ์กับอาการปวดเมื่อยตามส่วนต่างๆของร่างกายของผู้ใช้งาน โดยพบปัจจัยที่สำคัญได้แก่ ผู้ที่ใช้งานโน้ตบุ๊กในตอนกลางคืนจะมีความเสี่ยงในการปวดเมื่อยโดยรวม มากกว่า ผู้ใช้งานกลางวัน ถึง 2.53 เท่าและมีความเสี่ยงต่อการปวดหลังส่วนบน มากกว่า ผู้ใช้งานกลางวัน ถึง 8.53 เท่า จากผลของการศึกษาสามารถเสนอแนะได้ว่าผู้ใช้งานควรลดเวลาการใช้งานในช่วงกลางคืน ควรมีการใช้อุปกรณ์ต่อพ่วง เช่น แป้นพิมพ์ เม้าส์ เป็นต้น และควรเลือกใช้โน้ตบุ๊กที่มีขนาดเหมาะสม จะสามารถลดความเสี่ยงต่อการเกิดอาการปวดเมื่อยกล้ามเนื้อของผู้ใช้ได้ 

Prevalence and Related Factors Affecting Musculoskeletal Disorders (MSDs) in Notebook Computer Users : A case study of the Engineering Students, Prince of Songkla University, Hat Yai Campus

ABSTRACT

This cross-sectional analytic study was performed to determine the prevalence of musculoskeletal disorders (MSDs) among notebook computer users and evaluate risk factors related to MSDs. Data of 316 university students in the Faculty of Engineering, Prince of Songkla University were collected by using a structured questionnaire. Descriptive statistics were used to describe the demographic characteristics of the students. Prevalence of MSDs was measured as percentage with 95% confident intervals. The relationship of factors was analyzed by using chi-square and odds ratio with 95% confidence interval.The students included males 69%, female 31%, average age 20.7 years (S.D. = 0.95), average stature 168.4 (S.D. =8.2 cm.) and average weight61.5 kg. (S.D. = 11.9). Most students use notebook at night time (92.4%). They also work on notebook computers without external keyboard (66.5%), foot rest (86.1%) and wrist support (58.5%). The majority of students use external mouse (75.6 %). Over half of the students (58.5 %) were found to have experience with MSDs. The highest prevalence of MSDs involved in regions of neck (52.2%, 95% CI: 46.8-57.8), lower back (39.9%, 95% CI: 34.5-45.3) and shoulder (32.6%, 95% CI: 27.5-37.8), respectively. The result revealed that gender,working period and duration, use of external accessories and size of monitor had an effect on MSDs in the notebook computer users. It was drastically found that night time working was significantly associated with MSDs (OR,2.53) and upper back complaints (OR, 8.53).   These findings suggest that minimal night time working duration, notebook computer accessories (such as external keyboard, external mouse), and suitable notebook size may be considered effective approaches in reducing notebook computer-related musculoskeletal disorders among users.


Downloads

Issue

Section

Original Articles