ความเครียดของพยาบาลหัวหน้าเวรโรงพยาบาลมหาวิทยาลัยแห่งหนึ่งในกรุงเทพมหานคร

Authors

  • พีรญา ไสไหม หน่วยกู้ชีพ ฝ่ายการพยาบาล คณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดี มหาวิทยาลัยมหิดล
  • สรวดี ยอดบุตร หน่วยกู้ชีพ ฝ่ายการพยาบาล คณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดี มหาวิทยาลัยมหิดล
  • ไสว นรสาร โรงเรียนพยาบาลรามาธิบดี คณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดี มหาวิทยาลัยมหิดล
  • กรองได อุณหสูต ภาควิชาการพยาบาลศัลยศาสตร์ คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล

Keywords:

พยาบาลหัวหน้าเวร, ความเครียด, แบบวัดความเครียดของพยาบาลหัวหน้าเวร, charge nurse, stress, charge nurse stress questionnaires

Abstract

บทคัดย่อ

พยาบาลหัวหน้าเวรต้องเผชิญกับปัจจัยความเครียดในการทำงานเป็นประจำ ความเครียดที่เกิดขึ้นทำให้เกิดความไม่พอใจในงาน ความเหนื่อยหน่าย และการขาดงาน ซึ่งส่งผลกระทบในเชิงลบต่อผู้ป่วยและองค์กร การวิจัยเชิงบรรยายนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาระดับความเครียดของพยาบาลหัวหน้าเวร และศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างปัจจัยส่วนบุคคลกับระดับความเครียดของพยาบาลหัวหน้าเวร โรงพยาบาลมหาวิทยาลัยแห่งหนึ่งในกรุงเทพมหานคร จำนวน 360 คน เก็บรวบรวมข้อมูลโดยใช้แบบวัดความเครียดของพยาบาลหัวหน้าเวร ฉบับภาษาไทยซึ่งแปลโดย กรองได อุณหสุต วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติได้แก่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน Chi-square test และ Spearman Rank Correlation ผลการวิจัยพบว่า พยาบาลหัวหน้าเวรมีความเครียดโดยรวมอยู่ในระดับปานกลาง เมื่อพิจารณาเป็นรายด้านพบว่า ทุกด้านมีความเครียดอยู่ในระดับปานกลาง และพบว่าไม่มีปัจจัยใดมีความสัมพันธ์กับระดับความเครียดของพยาบาลหัวหน้าเวร จากผลการศึกษาผู้บริหารทางการพยาบาลสามารถใช้เป็นข้อมูลพื้นฐานเพื่อหาแนวทางช่วยเหลือให้ระดับความเครียดของพยาบาลหัวหน้าเวรลดลง

Stress among Charge Nurses at a University Hospital in Bangkok

ABSTRACT

Charge nurses usually confront with occupational stress factors. Stress leads to job dissatisfaction, burnout, absenteeism, and  negatively impacts to patients and organization. The purpose of this descriptive research is to study the stress levels and the relationship between demographic factors and stress levels among charge nurses at a university hospital in Bangkok. Charge Nurse Stress Questionnaires (CNSQ), Thai version, translated by Krongdai Unhasuta, was used to collect the data. Participants were 360 charge nurses. Data were analyzed by using percentage, mean, standard deviation, Chi-square test and Spearman Rank Correlation. The result revealed that overall stress of charge nurses was at a moderate level. When considered by each dimension, it was also found that all dimensions were at a moderate level. The study found no association between demographic factors and stress levels among charge nurses. This finding could be used as basic data for nursing administrator to plan to reduce stress of charge nurses.


Downloads

Issue

Section

Original Articles