ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์ต่อการออกกำลังกายของนิสิตมหาวิทยาลัยทักษิณ วิทยาเขตพัทลุง

Authors

  • สมเกียรติยศ วรเดช คณะวิทยาการสุขภาพและการกีฬา มหาวิทยาลัยทักษิณ วิทยาเขตพัทลุง
  • ปุญญพัฒน์ ไชยเมล์ คณะวิทยาการสุขภาพและการกีฬา มหาวิทยาลัยทักษิณ วิทยาเขตพัทลุง

Keywords:

การออกกำลังกาย, เจตคติ, พฤติกรรม, นิสิต, มหาวิทยาลัยทักษิณ, Exercise, attitude, behavior, student, Thaksin University

Abstract

บทคัดย่อ

การออกกำลังกายช่วยลดความเสี่ยงต่อการป่วยด้วยโรคเรื้อรังต่างๆ ปัจจุบันวัยรุ่นมีการออกกำลังกายน้อยลง ส่งผลต่อการมีภาวะน้ำหนักเกินและการป่วยด้วยโรคเรื้อรังตามมา การศึกษาเชิงวิเคราะห์ภาคตัดขวางครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาปัจจัยที่มีความสัมพันธ์ต่อการออกกำลังกายของนิสิต มหาวิทยาลัยทักษิณ วิทยาเขตพัทลุง กลุ่มตัวอย่าง คือ นิสิตระดับปริญญาตรีจำนวน 300 คน ที่ศึกษาในภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2554 สุ่มตัวอย่างด้วยวิธีการสุ่มแบบชั้นภูมิ การเก็บรวบรวมข้อมูลโดยใช้แบบสอบถาม ซึ่งมีค่าสัมประสิทธิ์ความเชื่อมั่นของแบบสอบถามด้านเจตคติและพฤติกรรมการออกกำลังกายเท่ากับ 0.874 และ 0.938 วิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติเชิงพรรณนาและสถิติถดถอยเชิงเส้นลอจิสติกอย่างง่าย ผลการศึกษาพบว่า นิสิตมีเจตคติและพฤติกรรมการออกกำลังกายในระดับสูง (70.33% และ 49.67%) และพบว่า เพศ อายุ ชั้นปี คณะที่ศึกษา เจตคติ และพฤติกรรมการออกกำลังกายมีความสัมพันธ์ต่อการออกกำลังกายอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ จากผลการศึกษาดังกล่าวมหาวิทยาลัยควรส่งเสริมให้นิสิตมีการดูแลสุขภาพตนเองด้วยการออกกำลังกาย โดยเฉพาะกลุ่มนิสิตที่มีเจตคติและพฤติกรรมการออกกำลังกายในระดับปานกลาง โดยการจัดกิจกรรมการออกกำลังกายและสถานที่ออกกำลังกายที่เหมาะสม นอกจากนี้ เพื่อเป็นการส่งเสริมให้เป็นมหาวิทยาลัยพัฒนาไปสู่มหาวิทยาลัยส่งเสริมสุขภาพต่อไป

Factors Associated with Exercise among Students in Thaksin University, Phatthalung Campus

ABSTRACT

Exercise is able to decrease risk of chronic illness. Currently, adolescents have less exercise resulting in overweight and chronic illness. This analytic cross-sectional study aimed to investigate factors associated with exercise among students inThaksinUniversity, Phatthalung campus. Of these, 300 undergraduate students were selected using a stratified random sampling method during the first semester of 2011. Data was gathered using questionnaires with Cronbach’s alpha coefficients for attitude and behavior toward exercise of 0.874 and 0.938. Descriptive statistics and simple logistic regression analysis were used to analyze results. Results showed both attitude and behavior toward exercise rated at a high level (70.33% and 49.67%). Sex, age, year of study, faculty of study, and attitude and behavior toward exercise were statistical significantly associated with exercise among students. Results suggest that the University should promote health using exercise among students who currently have only moderate levels of attitude and behavior toward exercise in order to increase exercise through activities and appropriate places for exercise. In addition, this effort to promote exercise can lead to the University becoming a health promoting university in the future.


Downloads

Issue

Section

Original Articles