ความสัมพันธ์ระหว่างสถานที่ทำงานปลอดบุหรี่กับความสำเร็จในการเลิกบุหรี่ ของผู้ป่วยโรคเรื้อรัง จังหวัดมหาสารคาม

Authors

  • แฉล้ม รัตนพันธุ์ ภาควิชาชีวสถิติและประชากรศาสตร์ คณะสาธารณสุขศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น
  • จิราพร เขียวอยู่ ภาควิชาชีวสถิติและประชากรศาสตร์ คณะสาธารณสุขศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น
  • สุรศักดิ์ ไร่วิบูลย์ สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดมหาสารคาม
  • อิศรา อนุฤทธิ์ โรงพยาบาลแกดำ จังหวัดมหาสารคาม

Keywords:

การเลิกบุหรี่, สถานที่ทำงานปลอดบุหรี่, ผู้ป่วยซึ่งสูบบุหรี่, โรคเรื้อรัง, เขตจำกัดบุหรี่, Smoking cessation, smoke-free workplace, patients who smoke, chronic disease, restricted area

Abstract

บทคัดย่อ

การวิจัยนี้เป็นการศึกษาเชิงวิเคราะห์แบบภาคตัดขวาง มีวัตถุประสงค์เพื่อหาความสัมพันธ์ระหว่างการปฏิบัติงานในสถานที่ทำงานปลอดบุหรี่ กับความสำเร็จในการเลิกสูบบุหรี่ของผู้ป่วยโรคเรื้อรัง จังหวัดมหาสารคาม ตัวอย่างจำนวน 317 ราย อายุ 15 – 59 ปี เป็นผู้ป่วยที่มีโรคประจำตัวอย่างน้อย 1 โรค ได้แก่ หืด ถุงลมโป่งพอง หัวใจ หลอดเลือดสมอง ความดันโลหิตสูง เบาหวาน เข้ารับบริการที่คลินิกเลิกบุหรี่ของโรงพยาบาล ระหว่างตุลาคม พ.ศ. 2555 – เมษายน พ.ศ. 2557 โดยระบุมีเพื่อนร่วมงานอย่างน้อยหนึ่งคนตลอดเวลาที่เข้ารับการบำบัด 4 เดือน  เนื่องจากสถานที่ทำงานปลอดบุหรี่พิจารณาจากพฤติกรรมสูบบุหรี่ของเพื่อนร่วมงาน เก็บข้อมูลจากเวชระเบียนและสัมภาษณ์ตัวอย่าง การเลิกบุหรี่สำเร็จพิจารณาจากการหยุดสูบบุหรี่ได้ต่อเนื่องอย่างน้อย 2 เดือน ผลการวิเคราะห์ความสัมพันธ์ด้วยวิธีการถดถอยพหุโลจิสติกพบว่า เมื่อควบคุมอิทธิพลความตั้งใจเลิกบุหรี่และการบำบัดครบตามโปรแกรมกำหนด ผู้ป่วยที่ปฏิบัติงานในสถานที่ทำงานห้ามสูบบุหรี่/ปลอดบุหรี่ เลิกบุหรี่ได้สำเร็จมากกว่าผู้ที่ปฏิบัติงานในสถานที่ไม่จำกัดการสูบบุหรี่ (OR Adj=2.24, 95%CI=1.26–3.99) ผู้ป่วยที่ปฏิบัติงานในสถานที่ทำงานจำกัดการสูบบุหรี่สามารถเลิกบุหรี่ได้สำเร็จมากกว่าผู้ที่ปฏิบัติงานในสถานที่ไม่จำกัดการสูบบุหรี่  (OR Adj=1.94, 95%CI= 0.98–3.80) ดังนั้นการห้ามหรือจำกัดการสูบบุหรี่ในสถานที่หรือสิ่งแวดล้อมขณะปฏิบัติงานจะเพิ่มโอกาสให้ผู้ป่วยโรคเรื้อรังสามารถเลิกบุหรี่ได้สำเร็จ

The Relationship between Smoke-free Workplaces and Success in Smoking Cessation among Patients with Chronic Disease in Mahasarakham Province

ABSTRACT

The purpose of this cross-sectional analytical study was to examine the relationship between smoke-free workplaces and success in smoking cessation among chronic disease patients in Mahasarakham Province. Participant were 317 patients aged 15-59 years with at least one underlying disease including asthma, COPD, cardiovascular disease, cerebrovascular disease, hypertension, diabetes and registered in a smoking cessation clinic of hospitals in Mahasarakham Province during October 2012- April 2014. The patient had to identify at least one colleague during the 4-month smoking cessation treatment because smoke-free workplace was defined by the smoking behavior of their colleague. Data was collected by retrieving patient information from medical records and by interviewing patients. Success in smoking cessation was determined by an ability to quit smoking continuously for at least 2 months. Multiple logistic regression was employed for data analysis. After adjusting for the effect of intention to quit smoking and compliance with treatment, patients who worked in smoke-free workplaces were more successful in quitting smoking than those who worked in workplaces with no restrictions on smoking (OR Adj = 2.24, 95% CI = 1.26 - 3.99). Patients who worked in workplaces where smoking was restricted were more successful in quitting smoking than those who worked in workplaces with no restricted areas for smoking (OR Adj = 1.94, 95%, CI = 0.98 - 3.80). Results show that banning or restricting smoking in the workplace or work environment during working hours improves the success of smoking cessation among patients with chronic disease.


Downloads

Issue

Section

Original Articles