บุหรี่อิเล็กทรอนิกส์

Authors

  • ธีรพล ทิพย์พยอม หน่วยวิจัยการบริบาลทางเภสัชกรรม ภาควิชาเภสัชกรรมปฏิบัติ คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเรศวร
  • ปิยะรัตน์ นิ่มพิทักษ์พงศ์ หน่วยวิจัยปฏิบัติการและวิชาการด้านการควบคุมยาสูบ ภาควิชาเภสัชกรรมปฏิบัติ คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเรศวร โครงการกลุ่มติดตามเฝ้าระวังและศึกษาอุตสาหกรรมยาสูบในประเทศไทย ศูนย์วิจัยและจัดการความรู้เพื่อการควบคุมยาสูบ (ศจย.)

Keywords:

บุหรี่อิเล็กทรอนิกส์, บุหรี่ไฟฟ้า, การควบคุมยาสูบ, พฤติกรรมการสูบบุหรี่, Electronic cigarette, e-cigarette, tobacco control, smoking behaviour

Abstract

บทคัดย่อ 

ปัจจุบันการบริโภคบุหรี่อิเล็กทรอนิกส์มีปริมาณมากขึ้นทุกปี โดยผู้ใช้ส่วนใหญ่เชื่อว่าบุหรี่อิเล็กทรอนิกส์มีความปลอดภัยมากกว่าบุหรี่ธรรมดาในขณะที่ทำให้เกิดการเสพติดน้อยกว่า อีกทั้งยังเชื่อว่าสามารถใช้บุหรี่อิเล็กทรอนิกส์ในการช่วยเลิกบุหรี่ได้   ผลจากการรวบรวมข้อมูลและทบทวนงานวิจัยที่เกี่ยวข้องกับบุหรี่อิเล็กทรอนิกส์พบว่าบุหรี่อิเล็กทรอนิกส์ที่มีนิโคตินในระดับความเข้มข้นที่ต่างกันหรือที่ไม่มีนิโคตินมีประสิทธิภาพในการช่วยเลิกบุหรี่ไม่แตกต่างจากแผ่นแปะนิโคติน โดยผู้ที่ใช้บุหรี่อิเล็กทรอนิกส์มีโอกาสที่จะสามารถเลิกบุหรี่ได้สำเร็จมากกว่าผู้ที่ใช้แผ่นแปะนิโคติน (risk difference) คิดเป็นร้อยละ 1.51 (95% confidence interval [CI] -2.49 to 5.51)   และเมื่อติดตามในระยะยาวพบว่าอัตราการเลิกได้ลดลงเป็นลำดับ ด้านความปลอดภัยไม่พบว่าบุหรี่อิเล็กทรอนิกส์ปลดปล่อยสารพิษและสารก่อมะเร็งเหมือนเช่นที่พบในบุหรี่ธรรมดา แต่บุหรี่อิเล็กทรอนิกส์อาจมีผลกระทบทางอ้อมต่อการควบคุมการบริโภคยาสูบคือการที่ผู้ใช้บุหรี่อิเล็กทรอนิกส์อาจคิดว่าได้ลดความเสี่ยงต่อการเกิดโรคที่เกี่ยวกับบุหรี่ลงได้แล้ว ทำให้ไม่ได้เลิกบุหรี่ลงอย่างเด็ดขาด   นอกจากนี้ประเด็นสำคัญที่ควรพิจารณาเกี่ยวกับผลของการใช้บุหรี่อิเล็กทรอนิกส์เพื่อลดอันตรายจากบุหรี่ธรรมดาก็คือการเสพติดนิโคติน ซึ่งยังไม่มีข้อสรุปที่ชัดเจนถึงผลกระทบต่อสุขภาพจากการเสพติดนิโคตินจากการใช้บุหรี่อิเล็กทรอนิกส์ในระยะยาว   ถึงแม้ปัจจุบันจะมีประกาศของกระทรวงพาณิชย์ห้ามนำเข้าบุหรี่อิเล็กทรอนิกส์แล้ว แต่ก็อาจจะมีการลักลอบนำเข้าและใช้อยู่ บุคลากรทางการแพทย์และสาธารณสุขจึงมีความจำเป็นที่จะต้องมีความรู้ที่ถูกต้องเกี่ยวกับบุหรี่อิเล็กทรอนิกส์ เพื่อรู้เท่าทันสถานการณ์และสามารถให้คำแนะนำได้อย่างเหมาะสมแก่ประชาชนทั่วไป   

Electronic Cigarettes

ABSTRACT

The use of electronic cigarettes is increasing every year as most users perceive them a safer alternative to conventional cigarette smoking, causing less addiction.  They also believe that electronic cigarettes can assist in quitting smoking.   Findings from related articles and studies in this review show that electronic cigarettes were modestly effective as compared to nicotine patches in helping smokers to quit with a risk difference between nicotine electronic cigarettes and nicotine patches of 1.51 (95% confidence interval [CI] -2.499 to 5.51).  Regarding safety, electronic cigarettes were not shown to emit toxicants and carcinogens as found with conventional cigarette smoking.  Nevertheless, electronic cigarettes may have an indirect impact on tobacco control as electronic cigarette users may perceive that they have already lowered disease risks associated with cigarette smoking, and hence fail to eventually quit smoking.  An important point of concern for electronic cigarettes used as harm reduction is the continued addiction to nicotine since there is presently no reliable report of long term use of these devices.  Although a regulation against the importation of e-cigarette has recently been introduced in Thailand, their illegal sale is still present.  Therefore, it is crucial that clinicians as well as public health personnel are knowledgeable about electronic cigarettes and aware of the current evidence in order to deliver appropriate information to the public.  


Downloads

Issue

Section

Original Articles