ปัจจัยที่มีผลต่อความสุขในการทำงานของแรงงานต่างด้าวในโรงงานอุตสาหกรรม
Keywords:
แรงงานต่างด้าว, ความสุขในการทำงาน, โรงงานอุตสาหกรรม, migrant workers, happiness in working, industrialAbstract
บทคัดย่อ
การวิจัยเชิงพรรณนาเพื่อทดสอบความสัมพันธ์เชิงทำนายของปัจจัยคุณภาพชีวิตการทำงาน การสนับสนุนทางสังคม และการรับรู้ความปลอดภัยในงาน กับความสุขในการทำงานของแรงงานต่างด้าวโรงงานอุตสาหกรรมขนาดใหญ่ จังหวัดสงขลา กลุ่มตัวอย่าง 140 คน เป็นแรงงานพม่าและกัมพูชากลุ่มละ 70 คน สุ่มอย่างง่ายแบบจับสลากไม่ใส่คืน จากโรงงานอาหารทะเลแช่แข็งและโรงงานถุงมือยางพารา เก็บข้อมูลโดยแบบสอบถามแบบให้ตอบด้วยตนเอง วิเคราะห์ข้อมูลใช้สถิติถดถอยพหุแบบมีขั้นตอน กำหนดระดับนัยสำคัญทางสถิติที่ 0.05 ผลการศึกษาพบว่า การรับรู้ปัจจัยทุกด้านอยู่ในระดับสูง คือคุณภาพชีวิตการทำงาน ค่าเฉลี่ย 179.75 (SD = 8.52) การสนับสนุนทางสังคม ค่าเฉลี่ย 212.36 (SD = 21.94) และการรับรู้ความปลอดภัยในงาน ค่าเฉลี่ย 97.63 (SD = 19.74) ครึ่งหนึ่งของกลุ่มตัวอย่าง (ร้อยละ 51.40) มีความสุขในการทำงานอย่างยิ่ง ค่าเฉลี่ย 67.68 (SD = 11.40) และ การสนับสนุนทางสังคมและคุณภาพชีวิตการทำงานร่วมกันทำนายความสุขในการทำงานได้ร้อยละ 41 การสนับสนุนทางสังคมอธิบายความแปรปรวนได้ดีที่สุด (β = 0.37, p < 0.001) ข้อเสนอแนะคือ การให้แรงสนับสนุนทางสังคมทั้งข้อมูลข่าวสารและทรัพยากรที่จำเป็น เพื่อเสริมสร้างความสุขในการทำงานซึ่งจะนำไปสู่การเพิ่มประสิทธิภาพการทำงานภาคอุตสาหกรรมต่อไป
Factors Influencing Happiness at Work among Industrial Migrant Workers
ABSTRACT
This descriptive research aimed to predict the influences of quality of work life, social support and safety perceptions on happiness at work among industrial migrant workers. Simple random sampling by lottery without replacement was employed for 140 migrant workers, including 70 Myanmar and 70 Cambodian workers from large frozen seafood and rubber glove industries. Data were collected by self-administered questionnaire. Factors were identified using stepwise multiple regression analysis at the significant level of 0.05. Results showed that all predictive factors were at a high level (quality of work life: average 179.75, SD = 8.52; social support: average 212.36, SD = 21.94; safety perception: average 97.63, SD = 19.74). An estimated one half of subjects (51.40 %) had happiness at work at a very high level (average 67.68, SD = 11.40). Social support and quality of work life together accounted for 41% of variance in working happiness (adjusted R2 = .41, p < 0.001). The best predictor was social support (β = 0.37, p < 0.001). These findings suggest that social support strategies should be given greater concern among general industrial migrant workers, particularly regarding information and resources sharing. Increasing happiness at work might result in improved productivity among migrant workers of Thailand.
Downloads
Published
Issue
Section
License
Creative Commons License CC-BY-ND