ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับพฤติกรรมการสร้างเสริมสุขภาพ ของผู้สูงอายุจังหวัดสุโขทัย

Authors

  • ถาวร มาต้น คณะสาธารณสุขศาสตร์ มหาวิทยาลัยรามคำแหง จังหวัดสุโขทัย
  • เสน่ห์ แสงเงิน คณะสาธารณสุขศาสตร์ มหาวิทยาลัยรามคำแหง จังหวัดสุโขทัย

Keywords:

สภาวะสุขภาพ, พฤติกรรมการสร้างเสริมสุขภาพ, ผู้สูงอายุ, health status, health promoting behavior, older

Abstract

การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับพฤติกรรมการสร้างเสริมสุขภาพผู้สูงอายุ กลุ่มตัวอย่างเป็นผู้สูงอายุในเขตจังหวัดสุโขทัย จำนวน 415 คน ทำ เก็บรวบรวมข้อมูลโดยใช้แบบสัมภาษณ์ วิเคราะห์ข้อมูลด้วยร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน และสหสัมพันธ์เพียร์สัน ผลการวิจัยพบว่า ร้อยละ 61.4 เพศหญิง อายุเฉลี่ย 70.22 ปี ร้อยละ 62.7 สถานภาพคู่ ร้อยละ 71.3 จบประถมศึกษา ร้อยละ 54.9 ประกอบอาชีพเกษตรกรรม รายได้เฉลี่ยต่อเดือนเท่ากับ 2,846.86 บาท ร้อยละ 67.2 มีโรคประจำตัวอย่างน้อย 1 โรค ร้อยละ 74.2 มีสภาวะสุขภาพระดับไม่ดี ร้อยละ 29.9 มีการรับรู้ประโยชน์การสร้างเสริมสุขภาพระดับดี ร้อยละ 59.3 ได้รับการสนับสนุนจากบุคคลในครอบครัวในการสร้างเสริมสุขภาพระดับดี ร้อยละ 47.2 ได้รับการสนับสนุนจากบุคคลภายนอกครอบครัวในการสร้างเสริมสุขภาพระดับดี ร้อยละ 32.0 ได้รับการสนับสนุนจากบุคลากรด้านสุขภาพในการสร้างเสริมสุขภาพระดับดี ร้อยละ 22.2 มีพฤติกรรมการสร้างเสริมสุขภาพระดับดี และพบว่า รายได้ การสนับสนุนจากบุคคลในครอบครัว จากบุคคลภายนอกครอบครัว และจากบุคลากรด้านสุขภาพมีความสัมพันธ์ทางบวกในระดับต่ำกับพฤติกรรมการสร้างเสริมสุขภาพ (r = 0.181 p<0.001) (r = 0.236 p<0.001) (r = 0.231 p<0.001) และ(r = 0.194 p<0.001) จากผลการวิจัยหน่วยงานที่เกี่ยวข้องควรสนับสนุนทางสังคมให้กับผู้สูงอายุในทุก ๆ ด้านเพื่อให้ผู้สูงอายุมีพฤติกรรมการสร้างเสริมสุขภาพที่ดีขึ้น

Factors Associated with Health Promoting Behavior among Elderly in Sukhothai Province, Thailand

This research comprised a descriptive study aimed to determine factors associated with health promoting behaviors among the elderly. A total of 415 participants were random sampled using multistage random sampling and a questionnaire was administered incorporating face-to-face interviews and analyzed using Pearson’s product moment correlation coefficient. The result showed that subjects were mainly females (61.4%), had average age  of 70.22 years old, were married (62.7%), obtained primary school level (71.3%),  were farmers (54.9%),  had average income of 2,846.86 baht monthly, considered inadequate (55.9%), diseases (76.2%), vision problems (29.2%), trouble walking (27.2%), oral health problems (37.3%), poor health status (74.2%), good health promoting benefits (29.9%), good social support from family members (59.3%), good social support by nonfamily members (47.2%), good social support by health care providers (32.0%) and good health promoting behaviors (22.2%).  Additionally, age was associated with negative health promoting behaviors at a low level of significance, .05 (r = -0.096 p=0.050).  Monthly income was associated with positive health promoting behaviors at a low level of significance, .05 (r = 0.181 p<0.001), while health status was associated with negative health promoting behaviors at a low level of significance, .05 (r = -0.160 p=0.001). Social support from family members was positively associated with health promoting behaviors at a low level of significance .05, (r = 0.236 p <0.001), while social support from nonfamily members was positively associated with health promoting behaviors at a low level of significance, .05 (r = 0.231 p<0.001).  Lastly, social supported from health care provider was positively associated with health promoting behaviors at a low level of significance, .05 (r = 0.194 p<0.001).

Downloads

Published

2017-05-24

Issue

Section

Original Articles