ปัจจัยทำนายพฤติกรรมสร้างเสริมสุขภาพผู้ป่วยโรคเรื้อรังในชุมชน

Authors

  • สมใจ วินิจกุล คณะพยาบาลศาสตร์เกื้อการุณย์ มหาวิทยาลัยนวมินทราธิราช
  • นุศ ทิพย์แสนคำ คณะพยาบาลศาสตร์เกื้อการุณย์ มหาวิทยาลัยนวมินทราธิราช

Keywords:

ผู้ป่วยโรคเรื้อรัง, พฤติกรรมการดูแลตนเอง, พฤติกรรมสร้างเสริมสุขภาพ, patients with chronic disease, self-care behavior, health promoting behavior

Abstract

บทคัดย่อ      

โรคเรื้อรังเป็นปัญหาสาธารณสุขที่สำคัญเป็นสาเหตุการตายและการเข้ารับการรักษาในโรงพยาบาล  การศึกษาครั้งนี้เพื่อศึกษาปัจจัยทำนายพฤติกรรมสร้างเสริมสุขภาพผู้ป่วยโรคเรื้อรังในชุมชน  กลุ่มตัวอย่างคือผู้ป่วยโรคความดันโลหิตสูง เบาหวาน โรคหัวใจและหลอดเลือด เป็นต้น จำนวน 160 คน อาศัยในชุมชนเขตบางพลัด กรุงเทพมหานคร ได้จากการสุ่มแบบโควตา (Quota sampling)  ผู้วิจัยเก็บรวบรวมข้อมูลระหว่างเดือนพฤษภาคม ถึงเดือนตุลาคม 2555  เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยคือ แบบสอบถามข้อมูลส่วนบุคคล แบบประเมินความรู้เรื่องโรคเรื้อรัง   แบบสอบถามพฤติกรรมการดูแลตนเอง  และแบบสอบถามพฤติกรรมสร้างเสริมสุขภาพ        วิเคราะห์ข้อมูลโดยการคำนวณค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย  ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน ทดสอบค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ของเพียรสัน (Pearson’s correlation) และหาอำนาจการทำนายโดยการวิเคราะห์ถดถอยพหุคูณแบบขั้นตอน (Stepwise Multiple Regression)     ผลการวิจัยพบว่า  ผู้ป่วยโรคเรื้อรังมีความรู้เกี่ยวกับโรคเรื้อรังอยู่ในระดับน้อย โดยมีค่าเฉลี่ยเท่ากับ  10.99 (SD = 3.14)     มีพฤติกรรมการดูแลตนเอง   และมีพฤติกรรมสร้างเสริมสุขภาพ อยู่ในระดับปานกลาง   โดยมีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 58.89 (SD = 8.82) และ 164.15 (SD = 23.82) ตามลำดับ     ผลการวิเคราะห์ความสัมพันธ์พบว่า  ปัจจัยส่วนบุคคล ได้แก่ เพศ ระดับการศึกษา รายได้ ระยะเวลาการเจ็บป่วย และความรู้เรื่องโรคเรื้อรัง ไม่มีความสัมพันธ์กับพฤติกรรมสร้างเสริมสุขภาพ มีเพียงปัจจัยด้านอายุและพฤติกรรมการดูแลตนเอง มีความสัมพันธ์ทางบวกกับพฤติกรรมสร้างเสริมสุขภาพอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ0.01 (r= 0.225)  และ (r= 0.795)  ตามลำดับ       เมื่อวิเคราะห์ถดถอยพหุคูณ พบว่า อายุ และพฤติกรรมการดูแลตนเอง สามารถพยากรณ์พฤติกรรมสร้างเสริมสุขภาพของผู้ป่วยโรคเรื้อรังได้ร้อยละ 65.4  ผลการวิจัยนี้ สามารถนำข้อมูลมาใช้เป็นแนวทางในการสร้างเสริมพฤติกรรมสุขภาพผู้ป่วย โดยเน้นการให้ความรู้เกี่ยวกับโรคและการดูแลตนเอง ซึ่งจะนำมาสู่การปรับเปลี่ยนพฤติกรรมต่างๆ เพื่อการสร้างเสริมสุขภาพ  

 

Factors Predicting Health Promoting Behaviors of Chronic Disease Patients in Community

ABSTRACT

 

            Chronic diseases are critical public health issues causing death and increasing medical treatment in hospitals. The purpose of this research was to examine factors in predicting health promoting behaviors of patients with chronic diseases within the community. The samples were obtained by quota sampling consisting of 160 patients with chronic diseases, i.e., hypertension, cardiovascular disease and diabetic mellitus in Bangplat District, Bangkok, Thailand. Structured questionnaires were used to collect data from May to October, 2012. The questionnaires included general personal factors, knowledge about chronic diseases and self-care and health promoting behaviors. The data were analyzed using descriptive statistics, Pearson’s correlation and Stepwise Multiple Regression. The results showed the overall mean level of knowledge about chronic diseases was drastically low; the overall mean score of self-care and health promoting behaviors were at moderate levels. Age and self-care behavior showed significant positive association with health promoting behavior; however, other variables such as sex, educational level, income, duration of acquiring the disease and knowledge about chronic diseases showed no significant association with health promoting behavior. The results of multiple regression analysis revealed that age and self-care behavior could collectively explain 65.4% of health promoting behaviors. These results can be used as basic information to develop health promoting behaviors by focusing on increasing knowledge about chronic diseases and self-care behaviors.


 

Downloads

Published

2016-04-30

Issue

Section

Original Articles