ความชุกและปัจจัยที่มีผลต่อพฤติกรรมการป้องกันโรคหนอนพยาธิที่ติดต่อผ่านดินของนักเรียน โรงเรียนตำรวจตระเวนชายแดน จังหวัดแม่ฮ่องสอน ประเทศไทย

Authors

  • เกษแก้ว เสียงเพราะ คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยพะเยา
  • วรยุทธ นาคอ้าย สำนักโรคติดต่อทั่วไป กรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข
  • วิชาญ ปาวัน สำนักสื่อสารความเสี่ยงและพัฒนาพฤติกรรมสุขภาพ กรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข

Keywords:

ความชุก, ตรวจอุจาระ, นักเรียนโรงเรียนตำรวจตระเวนชายแดน, โรคหนอนพยาธิที่ติดต่อผ่านดิน, ความรู้, พฤติกรรมการป้องกันโรค, prevalence, stool exam, students of border patrol police schools, soil-transmitted helminthes, knowledge, prevention behavior

Abstract

บทคัดย่อ

การศึกษาวิจัยแบบตัดขวางนี้เพื่อศึกษาอัตราความชุกและปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับพฤติกรรมเสี่ยงต่อการติดเชื้อหนอนพยาธิที่ติดต่อผ่านดินของนักเรียนประถมศึกษา โรงเรียนตำรวจตระเวนชายแดน อำเภอแม่สะเรียง จังหวัดแม่ฮ่องสอน ตัวอย่างอุจจาระที่ส่งตรวจมีจำนวน 300 ตัวอย่าง ตรวจโดยวิธี Direct Simple Smear, Formalin Ether Concentration Technique การเก็บข้อมูลโดยใช้แบบสอบถาม วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และไคว์สแควร์ ผลการศึกษาพบว่า อัตราความชุกของการติดเชื้อโรคหนอนพยาธิที่ติดต่อผ่านดินร้อยละ 17.3 เชื้อหนอนพยาธิที่ตรวจพบมากคือพยาธิไส้เดือนร้อยละ 16.0 และพยาธิปากขอร้อยละ 1.3 ตามลำดับ ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับพฤติกรรมการติดเชื้อโรคหนอนพยาธิที่ติดต่อผ่านดินอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ ได้แก่ เพศ ประวัติของการตรวจหนอนพยาธิ การรับประทานอาหารสุก ๆ ดิบ ๆ การสวมรองเท้า อาชีพ ระดับการศึกษาของบิดา และชนิดของบ้าน พบว่า ความรู้ การรับรู้โอกาสเสี่ยง และพฤติกรรมสุขภาพมีความสัมพันธ์กับการติดเชื้อโรคหนอนพยาธิที่ติดต่อผ่านดินอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p<0.001)  จากการศึกษาครั้งนี้ พบว่า อัตราการติดเชื้อและพฤติกรรมที่เสี่ยงในนักเรียนยังคงเป็นปัญหาสาธารณสุขที่สำคัญในจังหวัดแม่ฮ่องสอน ดังนั้น การบูรณาการการเรียนการสอนเพื่อเสริมสร้างการมีส่วนร่วมด้านสุขอนามัยเป็นปัจจัยสำคัญที่ทำให้การควบคุมและป้องกันการติดเชื้อโรคหนอนพยาธิที่ติดต่อผ่านดินได้อย่างยั่งยืน

Prevalence and Factors Related to Prevention Behavior of Soil Transmitted Helminthes among Primary School Students in Border Patrol Police Schools

Mae Hong Son Province, Thailand

 

ABSTRACT

A cross-sectional study was conducted with primary school students of selected border patrol police schools in Mae Sariang District, Mae Hong Son Province. This aim was to investigate the prevalence of soil-transmitted helminthes (STH) infections and associated risk factors regarding the knowledge, perceived severity, perceived probability and prevention behavior toward preventing STH infections among primary students.  A total of 300 stool samples were examined using direct simple smear by formalin ether concentration technique. Data were collected using self-administered questionnaires and analyzed by frequency, percentage, mean, standard deviation and inferential statistics including Chi Square. The findings revealed the prevalence of STH to be 17.3% (52/300).  Ascaris lumbricoides infection was the most prominent (16.0%) followed by hookworm (1.3%).  Multivariate analysis showed variables such as sex, history of stool examination, eating uundercooked food, wearing shoes, father’s education, type of housing, parents’ occupation, knowledge, perceived probability, and prevention behavior were associated with significant STH infections (p<0.001). The findings revealed the prevalence of STH infections and risk behaviors in primary school students’ remain major public health problems in Mae Hong Son Province.  Therefore, implementing integrated health education for behavioral change and participatory personal hygiene remain critical factors in the successful prevention and control of STH infections through sustainability.

Downloads

Published

2016-04-30

Issue

Section

Original Articles