ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับการปวดคอ ไหล่ หลังของทันตบุคลากรในโรงพยาบาลของรัฐ จังหวัดขอนแก่น

Authors

  • สุนิสา ชายเกลี้ยง ภาควิชาวิทยาศาสตร์อนามัยสิ่งแวดล้อม คณะสาธารณสุขศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น
  • รัชติญา นิธิธรรมธาดา กลุ่มงานทันตกรรม โรงพยาบาลชนบท อำเภอชนบท จังหวัดขอนแก่น

Keywords:

ความชุก, ปริมาณภาระงาน, ทันตแพทย์, ทันตาภิบาล, โรคประจำตัว, prevalence, workload, dentist, dental nurse, chronic diseases

Abstract

บทคัดย่อ

การศึกษาเชิงวิเคราะห์แบบภาคตัดขวางนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาปัจจัยที่สัมพันธ์กับการปวดคอ ไหล่ หลังของทันตบุคลากรในโรงพยาบาลของรัฐ จังหวัดขอนแก่นกลุ่มตัวอย่างจำนวน 282 คน เก็บรวบรวมข้อมูลโดยใช้แบบสัมภาษณ์ ใช้สถิติเชิงอนุมานวิเคราะห์หาความสัมพันธ์แบบตัวแปรเชิงพหุ (Multiple Logistic Regression Analysis) ของปัจจัยโดยนำเสนอค่า Adjust Odds Ratio (ORAdj) และช่วงความเชื่อมั่นร้อยละ 95 (95% CI) ที่ระดับนัยสำคัญทางสถิติ p <0.05 ผลการศึกษาพบว่า ความชุกของการปวดคอ ไหล่ หลังในรอบ 1 เดือนที่ผ่านมา ของทันตบุคลากรมีร้อยละ 47.9 (95%CI=41.91-53.88) และพบปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับการปวดคอ ไหล่ หลัง อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติคือ การมีโรคประจำตัว (ORAdj=2.6, 95% CI=1.17-5.65) มีดัชนีมวลกายมากกว่าหรือเท่ากับ 18.5 กิโลกรัม/เมตร2 (ORAdj=2.1, 95% CI=1.02-4.33) ผู้ที่มีรายได้ไม่เพียงพอ (ORAdj=2.4, 95%CI=1.15-5.00) และผู้ที่มีปริมาณภาระงานมาก (ORAdj=0.3, 95% CI=0.12-0.77) โดยสรุปของการศึกษานี้คือปัจจัยทั้งด้านสุขภาพ รายได้ และปริมาณภาระงานมีความสัมพันธ์กับการปวดคอ ไหล่ หลังในทันตบุคลากร ดังนั้นจึงควรเฝ้าระวังปัญหานี้ในรูปแบบศึกษาไปข้างหน้าเพื่อค้นหาผู้ป่วยรายใหม่และปัจจัยเสี่ยงของการเกิดโรค ในทันตบุคลากรโดยเฉพาะผู้มีโรคประจำตัว และมีรายได้ต่ำ และองค์กรควรวางแผนการส่งเสริมสุขภาพให้กับทันตบุคลากรต่อไป

Factors Associated with Neck, Shoulder and Back Pain among Dental Personnel of Government Hospitals in Khon Kaen Province 

ABSTRACT

This cross-sectional analytic study aimed to investigate factors associated with neck, shoulder and back (NSB) pain among dental personnel of government hospitals in Khon Kaen Province. A total of 282 dental personnel were enrolled in this study. Data was collected by interview questionnaires. Risk factors were evaluated using multiple logistic regression analysis. Adjusted odds ratio (ORAdj) and 95% confidence interval  (95% CI) were presented at the statistical significance at p-value <0.05. The results showed that the last month prevalence of NSB pain was 47.9% (95%CI=41.91-53.88). Factors significantly associated with NSB pain were having chronic diseases (ORAdj = 2.6, 95% CI=1.17-5.65), body mass index ≥18.5 kg/m2 (ORA dj=2.1, 95% CI=1.02-4.33), not having enough income (ORAdj=2.4, 95% CI=1.15-5.00) and having a heavy workload (ORAdj=0.3, 95% CI=0.12-0.77). In conclusion, potential risk factors for NSB pain among dental personnel included health status, income and workload. Therefore, the hospital should promote musculoskeletal health surveillance programs and health promotion for dental personnel particularly those with chronic diseases or low income.


Downloads

Published

2016-04-30

Issue

Section

Original Articles