ผลของการให้แม่โอบกอดลูกแบบเนื้อแนบเนื้อ ต่ออุณหภูมิร่างกายและความอิ่มตัวออกซิเจนของทารกแรกเกิดครบกำหนด ในห้องคลอด โรงพยาบาลรามาธิบดี

Authors

  • ปิยภรณ์ ปัญญาวชิร ห้องคลอด โรงพยาบาลรามาธิบดี คณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดี มหาวิทยาลัยมหิดล
  • ยิ่งขวัญ อยู่รัตน์ โรงพยาบาลรามาธิบดี คณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดี มหาวิทยาลัยมหิดล

Keywords:

การให้แม่โอบกอดลูกแบบเนื้อแนบเนื้อ, เครื่องให้ความอบอุ่นชนิดแผ่รังสี, อุณหภูมิร่างกาย, ความอิ่มตัวออกซิเจน, ทารกแรกเกิดคลอดครบกำหนด, skin to skin maternal contact, radiant warmer, body temperature, oxygen saturation, term newborns

Abstract

บทคัดย่อ                                                                       

การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยกึ่งทดลอง เพื่อเปรียบเทียบอุณหภูมิร่างกาย และระดับความอิ่มตัวออกซิเจนของทารกแรกเกิดครบกำหนด ในกลุ่มที่ให้นอนภายใต้เครื่องให้ความอบอุ่นชนิดแผ่รังสีกับกลุ่มที่ได้รับการโอบกอดจากแม่แบบเนื้อแนบเนื้อทันทีหลังคลอดเป็นเวลา 60 นาที กลุ่มตัวอย่างคือ ทารกแรกเกิดครบกำหนด ที่คลอดในห้องคลอดโรงพยาบาลรามาธิบดี จำนวน 60 ราย แบ่งเป็น 2 กลุ่ม โดยการสุ่มเข้ากลุ่มด้วยวิธีจับฉลาก กลุ่มที่ 1 ทารกสวมหมวก  ใส่เสื้อ ผ้าอ้อม และห่อตัวด้วยผ้าแห้งให้นอนภายใต้เครื่องให้ความอบอุ่นชนิดแผ่รังสี กลุ่มที่ 2 ทารกสวมหมวกใส่ผ้าอ้อม ไม่ใส่เสื้อหรือห่อผ้านอนคว่ำหน้าบนอกแม่ที่เปลือยเปล่าคลุมตัวแม่ลูกด้วยผ้าห่ม  ผลการวิจัยพบว่า ค่าเฉลี่ยอุณหภูมิร่างกายทารกแรกเกิดในระยะ 2 ชั่วโมงของการทดลองทั้งสองกลุ่มอยู่ในระดับปกติ  แต่ค่าเฉลี่ยของผลต่างอุณหภูมิร่างกายทารกแรกเกิดที่ 30 นาทีในขณะทดลองของกลุ่มที่ 1 มากกว่ากลุ่มที่ 2 อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ ซึ่งหมายความว่า ทั้งสองกลุ่มสามารถรักษาอุณหภูมิร่างกายทารกแรกเกิดให้อยู่ในระดับปกติได้  แต่กลุ่มที่ให้แม่โอบกอดแบบเนื้อแนบเนื้อในช่วง 30 นาที ขณะทดลองทารกจะมีอุณหภูมิร่างกายสูงขึ้นเร็วกว่า  อย่างไรก็ตามค่าเฉลี่ยผลต่างของอุณหภูมิร่างกายทารกแรกเกิดที่ 60 นาทีขณะทดลอง และที่ 30 นาที 60 นาทีหลังการทดลองระหว่างทั้งสองกลุ่มไม่มีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ  ส่วนค่าเฉลี่ยของระดับความอิ่มตัวออกซิเจนทั้งสองกลุ่มอยู่ในระดับปกติที่ร้อยละ 98.10-99.17  และผลต่างของค่าเฉลี่ยของระดับความอิ่มตัวออกซิเจนทั้งสองกลุ่มในขณะทดลองและหลังการทดลองไม่มีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ  จากการศึกษาแสดงว่าวิธีการให้แม่โอบกอดลูกแบบเนื้อแนบเนื้อภายใต้ผ้าห่มที่อุณหภูมิห้องมากกว่า 26 องศาเซลเซียส สามารถรักษาอุณหภูมิร่างกายและความอิ่มตัวออกซิเจนของทารกแรกเกิดครบกำหนดได้ดีเท่ากับการใช้เครื่องให้ความอบอุ่นชนิดแผ่รังสี

The Effects of Skin to Skin Maternal Contact on Body Temperature and Oxygen Saturation of Term Newborns in the Delivery Room, Ramathibodi Hospital

ABSTRACT

The purpose of this quasiexperimental research was to compare body temperature and oxygen saturation of full term newborns between placing newborns under a radiant warmer and skin to skin contact. Purposive sampling method was used to select 60 full-term newborns in the labor room at Ramathibodi Hospital. The subjects were randomly selected and equally assigned in two groups. The first group was kept warm by placing under a radiant warmer, while the second group employed on skin to skin contact of the mother and newborn. In Group 1, newborns wore diapers, hats, and were wrapped with a dry cloth. The newborns slept under a radiant warmer. In Group 2, the newborns also wore diapers and hats, but without wrapping with a dry cloth. The newborns laid face down on their mothers’ bare chests. Mothers and newborns were covered with a blanket. The results showed that average body temperature of newborns, within two hours of both groups, were at normal levels. In contrast, within the first 30 minutes, the average temperature of Group 1 was significantly higher than Group 2. The results implied that both methods could maintain body temperature of the newborns at normal levels. Conversely, in the initial stages, Group 2 newborns with skin to skin contact had a higher rate of body temperature than Group 1 within the first 30 minutes. However, the average temperature difference of the newborns in the first 60 minutes measured at 30 and 60 minutes, was not statistically significant. The average levels of oxygen saturation in both groups were at normal levels between 98.10 to 99.17%. The difference between the average levels of oxygen saturation in both groups during and after the trials had no significant difference.The study showed that  skin to skin maternal contact, under a blanket at room temperature over 26oCelsius, could maintain body temperature and oxygen saturation of the newborns as well as the use of a radiant warmer.


Downloads

Published

2016-04-30

Issue

Section

Original Articles