Health Workers’ Perspectives towards Health Services Performance in Subdistrict Administrative Organizations: A Cross-Sectional Study in Region Nine Health Area of Thailand
Keywords:
health services performance, subdistrict administrative organization, health workers’ perspectives, การดำเนินงานบริการสุขภาพ, องค์การบริหารส่วนตำบล, มุมมองของผู้ปฏิบัติงานสุขภาพAbstract
Thailand has moved towards a decentralized system. The responsibilities and authorities in health have been transferred to the local administrative organizations, including Subdistrict Administrative Organization (SAO). Therefore, health workers in SAO should have ability and motivation to perform health services comprising decentralized duties and responsibilities. We conducted a cross-sectional study to investigate health workers’ perspectives towards health services performance in SAO in Region Nine Health Area of Thailand. Respondents comprised 201 health workers with the primary responsibility for health services performance of SAO in all four provinces in the area, sampled by Stratified Random Sampling. Data were collected by self-administered questionnaire and analyzed using percentage, means, standard deviations and paired T-tests. Results indicated that the health worker’s perspectives towards the importance of SAO health services performance were at a high level, 74.1%. Meanwhile the perspectives towards their current competencies were at a moderate level, 62.2%. The average score of perspectives towards the importance was significantly higher than towards their current competencies (p<0.001). The results indicated the issues needed capacity strengthening towards health services performance among health workers in SAO. The findings suggested that awareness and motivation of working should be raised together with strengthening the capacity on health services performance with related parties, especially about infectious waste management, oral diseases and dental health and waste management.
มุมมองของผู้ปฏิบัติงานสุขภาพต่อการดำเนินงานบริการสุขภาพในองค์การบริหารส่วนตำบล: การศึกษาแบบภาคตัดขวางในเขตสุขภาพที่ 9 ของประเทศไทย
ประเทศไทยได้ขับเคลื่อนการพัฒนาสู่ระบบการกระจายอำนาจ รวมถึงการถ่ายโอนความรับผิดชอบและหน้าที่ในการดูแลสุขภาพไปยังองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น (อปท.) ซึ่งรวมถึงองค์การบริหารส่วนตำบล (อบต.) ดังนั้น ผู้ปฏิบัติงานสุขภาพใน อบต. ควรมีความสามารถและแรงจูงใจในการปฏิบัติงานบริการสุขภาพตามหน้าที่และความรับผิดชอบที่ได้รับการถ่ายโอน การวิจัยแบบภาคตัดขวาง (Cross-sectional research) นี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษามุมมองของผู้ปฏิบัติงานสุขภาพที่มีต่อการดำเนินงานบริการสุขภาพใน อบต. ในเขตสุขภาพที่ 9 ของประเทศไทย ตัวอย่างในการวิจัยคือผู้ปฏิบัติงานสุขภาพที่เป็นผู้รับผิดชอบหลักในการดำเนินงานบริการสุขภาพของ อบต. ในพื้นที่ทั้งสี่จังหวัด จำนวน 201 คน ซึ่งได้จากการสุ่มตัวอย่างแบบชั้นภูมิ (Stratified Random Sampling) เก็บรวบรวมข้อมูลโดยแบบสอบถามชนิดให้ตอบด้วยตนเองและวิเคราะห์ข้อมูลด้วยร้อยละ ค่าเฉลี่ยเลขคณิต ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และ Paired T-tests. ผลการวิจัยพบว่า มุมมองของผู้ปฏิบัติงานสุขภาพต่อความสำคัญของการดำเนินงานบริการสุขภาพของ อบต. อยู่ในระดับสูง (ร้อยละ 74.1) ในขณะที่มุมมองต่อขีดความสามารถของตนเองในปัจจุบันอยู่ในระดับปานกลาง (ร้อยละ 62.2) คะแนนเฉลี่ยของมุมมองที่มีต่อความสำคัญในการดำเนินงานบริการสุขภาพสูงกว่าคะแนนเฉลี่ยของมุมมองที่มีต่อขีดความสามารถตนเองในปัจจุบัน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p <0.001) ผลการวิจัยระบุถึงประเด็นที่จำเป็นต่อการพัฒนาขีดความสามารถในการดำเนินงานบริการสุขภาพของผู้ปฏิบัติงานสุขภาพใน อบต. ข้อเสนอแนะจากการวิจัยควรสร้างความตระหนักและแรงจูงใจในการปฏิบัติงาน ร่วมกับเสริมสร้างขีดความสามารถในการดำเนินงานบริการสุขภาพร่วมกับภาคีที่เกี่ยวข้อง โดยเฉพาะอย่างยิ่งในเรื่องการจัดการขยะติดเชื้อ โรคในช่องปากและทันตสุขภาพ และการจัดการขยะ
Downloads
Published
Issue
Section
License
Creative Commons License CC-BY-ND