สถานการณ์การตีตราทางสังคมของผู้ใช้ยาเสพติด: กรณีศึกษาผู้รับการบำบัดสารเสพติดในโครงการบริการเมทาโดนฐานชุมชนแห่งหนึ่ง

Authors

  • ดลชัย ฮะวังจู มูลนิธิโอโซนประเทศไทย
  • อภิชาติ จำรัสฤทธิรงค์ สถาบันวิจัยประชากรและสังคม, มหาวิทยาลัยมหิดล
  • ดุสิตา พึ่งสำราญ สถาบันวิจัยประชากรและสังคม, มหาวิทยาลัยมหิดล

Keywords:

ผู้ใช้ยาเสพติด, ผู้รับการบำบัดสารเสพติด, การถูกตีตรา, การเลือกปฏิบัติ, PWUD, drug dependence rehabilitation, stigmatization, discrimination

Abstract

สถานการณ์การตีตราทางสังคมของผู้ใช้ยาเสพติด: กรณีศึกษาผู้รับการบำบัดสารเสพติดในโครงการบริการเมทาโดนฐานชุมชน

 การถูกตีตราในผู้ใช้ยาเสพติดเป็นสิ่งปิดกั้นมิให้กลับเข้าสู่สังคมได้ การแก้ไขปัญหาจำเป็นต้องทราบองค์ประกอบและระดับความรุนแรงเสียก่อน การศึกษานี้เพื่อแสดงองค์ประกอบและระดับความรุนแรงของการตีตราที่มีสามลักษณะ คือ 1.การเผชิญสถานการณ์จริง 2.การตีตราตนเอง 3.การถูกตีตราที่คาดว่าจะเกิด โดยมีองค์ประกอบและระดับแตกต่างกันอย่างไรไม่เป็นที่รู้ชัด จึงทำการสำรวจผู้ใช้ยาเสพติดทุกคน ณ สถานบำบัดแห่งหนึ่งในไทย 74 ราย ในปีพ.ศ. 2559 เพื่ออธิบายว่า การตีตราทั้ง 3 ลักษณะมีองค์ประกอบอะไรบ้างและในแต่ละลักษณะฯ องค์ประกอบใดมีความรุนแรงอย่างไร การวิเคราะห์ปัจจัยพบว่า การถูกตีตราจากสถานการณ์จริง คือ ถูกชุมชนเพ่งเล็ง โดยถูกผู้อื่นจ้องจับผิดหรือตรวจสอบ (ร้อยละ50.7) การตีตราตนเอง คือ ต้องการแยกตัวจากสังคมโดยไม่ต้องการพบปะผู้คน (ร้อยละ 54.1) การถูกตีตราที่คาดว่าจะเกิด โดยกลัวจะได้รับการปฏิบัติแตกต่างจากคนอื่น (ร้อยละ 68.9) สรุปได้ว่า การแก้ไขปัญหาเนื่องมาจากประสบการณ์จริงได้แก่การตีตราตนเองและความกลัวการถูกตีตราทำให้ต้องแยกตัวออกจากสังคม ต้องบูรณาการด้วยการนำปัจจัยทางสังคม ชุมชน ครอบครัว และตัวผู้ใช้ยาเสพติดโดยเฉพาะด้านจิตวิทยามาร่วมในการแก้ไขให้ตรงประเด็นในทุก ๆ องค์ประกอบที่แตกต่างกัน

Stigmatization Phenomena among People Who Use Drugsa Case Study from Community-based MMT Clinics

 Stigmatization impedes People Who Use Drugs (PWUD) for reintegration in society. In eliminating this situation, understanding how stigmatized components contribute to the degree of violent against PWUD is necessary. This study was conducted to illustrate components and the degree of violence from stigmatization comprising three types: 1) experienced stigma, 2) internalized stigma and 3) anticipated stigma, which is unknown. Data was collected from all 74 participants who enrolled in a drug treatment program at a community-based MMT clinic in Thailand in 2016, to illustrate the components of each type of stigmatization. Results from factor analysis by Varimax Rotation with Eigenvalue >1 and factor loading at least 0.3 scores revealed that the core component in experienced stigma was being watched by the community (50.7%). The core component in internalized stigma was exclusion from society by having thought about social isolation (54.1%) while the core component in anticipated stigma was the fear of discrimination and being treated differently from others (68.9%). Therefore, PWUD decided on social isolation as a solution. In other words, these types of stigmatizations are intertwined. In conclusion, to reduce the occurrence of these phenomena leading to social isolation requires comprehensive intervention by considering social, community and family factors as well as PWUD themselves especially psychological factors to solve certain issue specific to each stigma component. 

 

Author Biographies

ดลชัย ฮะวังจู, มูลนิธิโอโซนประเทศไทย

เจ้าหน้าที่ติดตามและประเมินผลโครงการลดอันตรายจากการใช้สารเสพติด

อภิชาติ จำรัสฤทธิรงค์, สถาบันวิจัยประชากรและสังคม, มหาวิทยาลัยมหิดล

ศาสตราจารย์เกียรติคุณ

ดุสิตา พึ่งสำราญ, สถาบันวิจัยประชากรและสังคม, มหาวิทยาลัยมหิดล

อาจารย์ ดร.

Downloads

Published

2017-12-29

Issue

Section

Original Articles