การพัฒนาสื่อแอนิเมชั่นเรื่อง การป้องกันภาวะแทรกซ้อนของหลอดเลือดแดง บริเวณขาหนีบ ในผู้ป่วยที่ได้รับการสวนหัวใจ
Keywords:
ภาวะแทรกซ้อนหลังสวนหัวใจ, การรับรู้ความสามารถตนเอง, ADDIE Model, สื่อแอนิเมชั่น, post cardiac catheterization complications, self efficacy, animationAbstract
การพัฒนาสื่อแอนิเมชั่นเรื่อง การป้องกันภาวะแทรกซ้อนของหลอดเลือดแดงบริเวณขาหนีบ ในผู้ป่วยที่ได้รับการสวนหัวใจ
การวิจัยนี้เป็นการวิจัยและพัฒนาเพื่อศึกษาและทดสอบประสิทธิผลของสื่อแอนิเมชั่นเพื่อส่งเสริมพฤติกรรมการปฏิบัติตัวที่ถูกต้องในการป้องกันภาวะแทรกซ้อนของหลอดเลือดแดงที่บริเวณขาหนีบหลังผู้ป่วยได้รับการสวนหัวใจ โดยประยุกต์แบบแผนความเชื่อด้านสุขภาพร่วมกับการรับรู้ความสามารถตนเอง ในการสร้างเนื้อหา และผลิตสื่อแอนิเมชั่นตามแนวคิด ADDIE Model หลังจากตรวจสอบคุณภาพสื่อโดยผู้เชี่ยวชาญแล้ว (CVI =1.00)ได้นำสื่อมาทดลองใช้กับกลุ่มตัวอย่าง คือ ผู้ป่วยที่ได้รับการสวนหัวใจ จำนวน 35 คน รวบรวมข้อมูลด้วยแบบสัมภาษณ์ วิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติพรรณนา ได้แก่ ความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และสถิติเชิงอนุมาน Paired Sample’s T–test ผลการศึกษาพบว่า หลังการรับชมสื่อแอนิเมชั่น กลุ่มตัวอย่างมีคะแนนเฉลี่ยการรับรู้โอกาสเสี่ยง การรับรู้ความรุนแรงของภาวะแทรกซ้อน ความคาดหวังในผลลัพธ์ของการปฏิบัติตัว และการรับรู้ความสามารถของตนในการปฏิบัติตัวเพื่อป้องกันภาวะแทรกซ้อนของหลอดเลือดแดงหลังทำการสวนหัวใจ ดีกว่าก่อนชมสื่อแอนิเมชั่นอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p < 0.001) แสดงให้เห็นว่า สื่อแอนิเมชั่นมีประสิทธิผล สามารถทำให้ผู้ป่วยเกิดการรับรู้ที่ดีและส่งผลให้เกิดการปฏิบัติตัวที่ถูกต้องเพื่อป้องกันภาวะแทรกซ้อนของหลอดเลือดแดงที่บริเวณขาหนีบได้
Development of Animation on Preventing Femoral Artery Complications among Patients with Cardiac Catherization
This research and development aimed to develop and test the effectiveness of animation to promote appropriate behaviors of patients in preventing femoral artery complications with post cardiac catheterization by applying the concepts of the Health Belief Model and Self-Efficacy to determine the contents. The animation was developed using the ADDIE Model. The quality of the animation developed had been checked by experts (CVI=1.00) before using with 35 selected patients with voluntary cardiac catheterization. Data was collected employing scheduled interviews. Data was analyzed using descriptive statistics regarding frequency, percentage, mean, standard deviation and inferential statistics concerning Paired Sample’s T-test. The results showed that after learning using the animation, the subjects had significantly higher levels of perceived susceptibility of presenting complications, perceived severity of femoral artery complications, perceived benefits and awareness of obstacles in performing appropriate behaviors to prevent complications, perceived self-efficacy to perform appropriate behaviors to prevent complications compared with before learning using animation media (p<0.001). The finding revealed the effectiveness of the animation developed in enhancing the selected patient’s correct perceptions leading to performing appropriate behaviors.
Downloads
Published
Issue
Section
License
Creative Commons License CC-BY-ND