พฤติกรรมการป้องกันโรคฟันผุในเด็กปฐมวัยของผู้ปกครองในศูนย์พัฒนาเด็กเล็กอำเภอโพธิ์ทอง จังหวัดอ่างทอง
Keywords:
โรคฟันผุ, พฤติกรรมการป้องกันโรค, เด็กปฐมวัย, ผู้ปกครอง, dental carries, preventive behavior, preschool children, guardianAbstract
ปัญหาทันตสาธารณสุขในเด็กปฐมวัยคือโรคฟันผุ ผู้ปกครองมีบทบาทหลักในการดูแลและป้องกันไม่ให้เกิดโรคฟันผุในบุตรหลาน การวิจัยมีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาพฤติกรรมการป้องกันโรคฟันผุในเด็กปฐมวัยของผู้ปกครองและปัจจัยที่เกี่ยวข้อง เก็บข้อมูลด้วยแบบสอบถามชนิดตอบด้วยตนเองกับผู้ปกครองเด็กปฐมวัยในศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก 172 คน สุ่มตัวอย่างแบบชั้นภูมิตามสัดส่วน ผลการศึกษาพบว่า ผู้ปกครองร้อยละ 61.60 มีพฤติกรรมการป้องกันโรคฟันผุในเด็กปฐมวัยระดับปานกลาง มีพฤติกรรมด้านการทำความสะอาดช่องปากระดับสูง (ร้อยละ 66.80) ด้านการเป็นแบบอย่างและด้านอาหารระดับปานกลาง (ร้อยละ 52.90 และ 47.70) และด้านการเฝ้าระวังระดับต่ำ (ร้อยละ 41.90) พบปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับพฤติกรรมการป้องกันโรคฟันผุในเด็กปฐมวัย 6 ปัจจัย คือ ประสบการณ์การป้องกันฟันผุในเด็กปฐมวัย (p < 0.001) อาชีพ (p < 0.05) ความคาดหวังในผลลัพธ์ และการรับรู้ความสามารถของตนเองต่อการป้องกันโรคฟันผุในเด็กปฐมวัย (r = 0.26 และ 0.22) การรับรู้โอกาสเสี่ยงและการรับรู้ความรุนแรงของการโรคฟันผุในเด็กปฐมวัย (r = 0.20 และ 0.19) เสนอแนะให้สร้างความตระหนักและเพิ่มทักษะการดูแลและตรวจสุขภาพช่องปากเด็กปฐมวัย โดยเฉพาะในผู้ปกครองที่ไม่มีประสบการณ์และทำงานนอกบ้าน เพื่อให้ผู้ปกครองเฝ้าระวังโรคฟันผุในบุตรหลานต่อไป
Dental Caries Preventive Behaviors among Guardians of Preschool-Children in Child Development Centers, Phothong District, Angthong Province
Dental health problems in early childhood are mainly caries. Guardians have important roles in taking care of the oral health and preventing their children from having caries. This research aimed to study early childhood caries preventive behaviors of guardians and related factors. The sample consisted of 172 guardians of preschool children in the Child Development Center by proportional stratified random sampling. Data collection was accomplished with self-administered questionnaires. The research findings revealed that 61.60% of the guardians had a moderate level of overall-dental caries preventive behaviors. Among the preventive behaviors, 66.80% of guardians taking care of oral hygiene behavior was at a high level, 52.90% being the role model and 47.70% taking care of food consumption were at a moderate level while 41.90% of those who stayed alerted for oral health was at a low level. Six factors related to dental caries preventive behaviors of guardians were the experience of preventing early childhood caries (p < 0.001), the guardians’ occupation (p < 0.05), perceived response efficacy and perceived self-efficacy of the dental caries preventive behaviors (r = 0.26 and 0.22), perceived susceptibility and perceived severity of the early childhood dental caries (r = 0.20 and 0.19). Dental health agencies should organize trainings to create greater awareness and increase the skills in examining oral health to keep the guardians alerted for oral health of their children particularly, guardians who worked outside and those who did not have an experience in preventing caries.
Downloads
Published
Issue
Section
License
Creative Commons License CC-BY-ND