ผลของโปรแกรมการเยี่ยมบ้านร่วมกับการติดตามทางโทรศัพท์ ต่อความเชื่อ ด้านสุขภาพ และค่าความดันโลหิตของผู้ที่เป็นความดันโลหิตสูงที่ควบคุมไม่ได้

Authors

  • ณัฏฐิรา ประสาทแก้ว นักศึกษาหลักสูตรพยาบาลศาสตรมหาบัณฑิต การพยาบาลเวชปฏิบัติชุมชน คณะแพทยศาสตร์ โรงพยาบาลรามาธิบดี มหาวิทยามหิดล
  • แสงทอง ธีระทองคำ ภาควิชาพยาบาลศาสตร์ คณะแพทยศาสตร์ โรงพยาบาลรามาธิบดี มหาวิทยาลัยมหิดล
  • วันทนา มณีศรีวงศ์กูล ภาควิชาพยาบาลศาสตร์ คณะแพทยศาสตร์ โรงพยาบาลรามาธิบดี มหาวิทยาลัยมหิดล

Keywords:

โปรแกรมการเยี่ยมบ้านและการติดตามทางโทรศัพท์, ความเชื่อด้านสุขภาพ, ค่าความดันโลหิต, ผู้ที่เป็นความดันโลหิตสูงที่ควบคุมไม่ได้, home visit and telephone follow-up program, health beliefs, blood pressure, persons with uncontrolled hypertension

Abstract

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยกึ่งทดลอง มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาผลของโปรแกรมการเยี่ยมบ้าน ร่วมกับการติดตามทางโทรศัพท์ต่อความเชื่อด้าน สุขภาพ และค่าความดันโลหิตของผู้ที่เป็นความดัน โลหิตสูงที่ควบคุมไม่ได้ กลุ่มตัวอย่างคือ ผู้ที่เป็น ความดันโลหิตสูงที่ควบคุมไม่ได้ และรับการรักษา ณ โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพประจำตำบลบ้านไทย หรือโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพประจำตำบลเที่ยงแท้ จังหวัดชัยนาท ถูกเลือกแบบบังเอิญ จำนวน 66 คน แบ่งเป็นกลุ่มทดลองและกลุ่มควบคุม กลุ่มละ 33 คน โดยจับคู่กลุ่มตัวอย่างให้มีคุณสมบัติที่คล้ายคลึงกัน กลุ่มทดลองได้รับโปรแกรมการเยี่ยมบ้านร่วมกับการ ติดตามทางโทรศัพท์ ส่วนกลุ่มควบคุมได้รับการเยี่ยม บ้านแบบปกติ เก็บข้อมูลก่อนและหลังการทดลอง เป็นเวลา 8 สัปดาห์ โดยใช้แบบสอบถามข้อมูล ส่วนบุคคล แบบสอบถามความเชื่อด้านสุขภาพ และ วัดค่าความดันโลหิต วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติเชิง พรรณนา Independent t-test และ Paired t-test ผลการวิจัยพบว่า ภายหลังได้รับโปรแกรมการเยี่ยมบ้าน ร่วมกับการติดตามทางโทรศัพท์ กลุ่มทดลองมีคะแนน เฉลี่ยความเชื่อด้านสุขภาพโดยรวม การรับรู้โอกาส เสี่ยงต่อการเกิดภาวะแทรกซ้อน การรับรู้ความรุนแรง ต่อการเกิดภาวะแทรกซ้อน การรับรู้ประโยชน์ของ การปฏิบัติพฤติกรรมสุขภาพ การรับรู้อุปสรรคของ การปฏิบัติพฤติกรรมสุขภาพ และค่าความดันโลหิต ซิสโตลิคดีกว่าก่อนได้รับโปรแกรมและกลุ่มควบคุม อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ ผลการศึกษามีข้อเสนอว่า โปรแกรมการเยี่ยมบ้านร่วมกับการติดตามทางโทรศัพท์ ช่วยปรับเปลี่ยนความเชื่อด้านสุขภาพ และลดความดัน โลหิต จึงควรนำมาประยุกต์ใช้ในการดูแลผู้ที่เป็น ความดันโลหิตสูงอย่างต่อเนื่องในสถานบริการปฐมภูมิ

คำสำคัญ: โปรแกรมการเยี่ยมบ้านและการติดตามทางโทรศัพท์; ความเชื่อด้านสุขภาพ; ค่าความดันโลหิต; ผู้ที่เป็นความดันโลหิตสูงที่ควบคุมไม่ได้

 

ABSTRACT

This quasi-experimental research was conducted to assess the effects of a home visit and telephone follow-up program on health beliefs and blood pressure in persons with uncontrolled hypertension. The participants were 66 uncontrolled hypertension patients who attended the Ban Thai or Tieng Tae primary care unit in Chainat province. They were recruited using convenience sampling and using a matched pair for assignment into a control group and an experimental group with thirty three patients in each group. The experimental group received a home visit and telephone follow-up program while the control groups received routine nursing care. Data collection was conducted twice, before and immediately after the intervention, over an eight week period using demographic data questionnaires and health belief questionnaires, and their blood pressure measurements. The data were analyzed using descriptive statistics, independent t-tests and paired t-tests. The results revealed that after receiving the home visit and telephone follow-ups the experimental group showed significant improvement in terms of average health belief, perceived susceptibility to complications, perceived severity of complications, perceived benefit from health behavior practices, perceived barrier to health behavior practices and systolic blood pressure as compared to before the program and the control group. The results point out that the home visit and telephone follow-up program assists in developing better health behaviors and reducing blood pressure. Therefore, this program should be applied to care-giving among patients with uncontrolled hypertension in primary care units.

Key words: home visit and telephone follow-up program; health beliefs; blood pressure; persons with uncontrolled hypertension

Downloads

Issue

Section

Original Articles